ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรมันคาทอลิกในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Assumption cathedral Bangkok.jpg|thumb|[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]] กรุงเทพฯ]]
 
'''คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทย'''<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468</ref> หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า '''พระศาสนจักร''' ({{lang-en|Roman Catholicism in Thailand}}) เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยที่นับถือ[[นิกายโรมันคาทอลิก]] มีการปกครองตนเองแต่ภายใต้การควบคุมของ[[สันตะสำนัก]] ปัจจุบันมีชาวไทยนับถือนิกายคาทอลิกอยู่ราว 250,000 คน
 
== ประวัติการเผยแพร่ ==
ตลอดประวัติศาสตร์คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทย สามารถจำแนกได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
 
=== ยุคปาโดรอาโด ===
'''ยุคปาโดรอาโด''' (Padroadro) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2054 - 2212 (ค.ศ. 1511 – 1669)
 
เส้น 15 ⟶ 17:
ปัญหาข้างต้นทำให้สันตะสำนักหาทางแก้ปัญหาโดยตั้งสมณะกระทรวงการเผยแพร่ความเชื่อ (Congregation for the Evangelization of Peoples) หรือ โปรปากันดา ฟีเด (Propaganda Fide) เพื่อให้การเผยแพร่ศาสนาและปกครองคริสจักรที่สิทธิ์ปาโดรอาโดยังไปไม่ถึงได้ขึ้นกับสมณะกระทรวงนี้แต่เพียงแห่งเดียวโดยตรง และเมื่อทราบว่าคริสตจักรทาง[[ตะวันออกไกล]]ต้องการประมุขมิสซังไปปกครอง [[สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10]] จึงแต่งตั้งบาทหลวง 3 ท่านเป็น[[มุขนายกเกียรตินาม]] (titular bishop) และ[[ประมุขมิสซัง]]ต่างๆ ดังนี้
 
* [[ฟร็องซัว ปาลูว์]] (Francois Pallu) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซัง[[ตังเกี๋ย]] โดยรวมลาวและห้ามณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนอยู่ในปกครองด้วย
* [[ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา มอต]] (Pierre Lambert de la Motte) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเบรุท (Beirut) และประมุขมิสซัง[[โคชินจีน]]
* [[อีญาส กอตอล็องดี]] (Ignace Cotolendi) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเมเตลโลโปลิส (Metellopolis) และประมุขมิสซัง[[หนานจิง]] โดยรวมมณฑลทางภาคอีสานของจีนตลอดทั้งเกาหลีอยู่ในปกครองด้วย ต่อมามุขนายกท่านนี้ได้ถึงแก่กรรมเสียในระหว่างทาง
 
มุขนายกทั้งสามได้ตั้ง[[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปาริส]]ขึ้นเพื่อฝึกหัดบาทหลวงที่จะไปเป็นมิชชันนารีในภูมิภาค[[ตะวันออกไกล]] เมื่อมิชชันนารีเหล่านี้เดินทางมาถึงก็ได้ข่าวว่ากำลังมีการเบียนเบียนคริสต์ศาสนาขึ้นในจีนและญวน คณะทั้งหมดจึงตัดสินใจพำนักที่กรุงศรีอยุธยาเพราะทราบว่ากษัตริย์ไทย (ขณะนั้นคือ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]) มีไมตรีกับชาติตะวันตก จากนั้นจึงดำเนินการเผยแพร่ศาสนาทันที
 
คณะมิชชันนารีได้จัดซีโนด (Synod) ขึ้นที่อยุธยา ได้ข้อสรุปการทำงานดังนี้<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์''</ref>
* 1.ตั้ง[[คณะนักบวชคาทอลิก]]ท้องถิ่นทั้งชาย – หญิง งานเผยแพร่ศาสนา จะตั้งชื่อว่า คณะรักไม้กางเขนแห่งพระเยซูคริสต์
* 2.พิมพ์คำสอนเผยแพร่
* 3.ตั้ง[[บ้านเสมินาร์]] (Seminary) เพื่อฝึกหัดชายท้องถิ่นที่ศรัทธา อ่านภาษาลาตินได้ เป็น[[บาทหลวง]]
การเผยแพร่ศาสนาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับมิชชันนารีฝ่ายปาโดรอาโด มุขนายก ล็องแบร์จึงส่งบาทหลวง ฌ็อง เดอ บูร์ชไปแจ้งปัญหาแก่สันตะสำนัก ในที่สุดโรมจึงตั้ง'''มิสซังสยาม'''ขึ้นในปี พ.ศ. 2212 (ค.ศ. 1669) ให้อยู่ภายใต้การปกครองของประมุขมิสซังซึ่งพระคุณเจ้าทั้งสองเลือกเอง จึงถือเป็นการสิ้นสุดยุคปาโดรอาโด
 
=== ยุคมิสซัง ===
[[Imageไฟล์:Mgr Lambert de la Motte.jpg|200px|thumb|มุขนายก [[ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา มอต]] มุขนายกคาทอลิกองค์แรกที่เดินทางมาถึงสยาม ]]
'''ยุคมิสซัง'''ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2212 - 2508 (ค.ศ. 1669 – 1965)
 
เมื่อสันตะสำนักให้สยามเป็นเขตมิสซังแล้ว ก็ให้มุขนายกทั้งสองท่านอภิเษกบาทหลวงคนหนึ่งขึ้นเป็น'''ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำกรุงสยาม''' (Vicar apostolic of Siam) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า'''ประมุขมิสซังสยาม''' ทั้งสองตัดสินใจเลือกบาทหลวง [[หลุยส์ ลาโน]] (Louis Laneau) ซึ่งเป็นมิชชันนารีในคณะของมุขนายก ปาลูว์ เป็นประมุขมิสซังสยามคนแรก นับจากนั้นมาก็มีประมุขมิสซังสืบงานต่อมาดังนี้
 
* 1. [[หลุยส์ ลาโน]] (Louis Laneau) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2216 - 2239 (ค.ศ. 1673-1696)
* 2. [[หลุยส์ ช็องปียง เดอ ซีเซ]] (Louis Champion de Cicé) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2243 - 2270 (ค.ศ. 1700-1727)
* 3. [[ฌ็อง – ฌัก เตสซีเย เดอ เกราแล]] (Jean-Jacques Tessier de Quéralay) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2270 - 2279 (ค.ศ. 1727-1736)
* 4. [[ฌ็อง เดอ ลอลีแยร์ – ปุยกงตา]] (Jean de Lolière-Puycontat) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2281 - 2298 (ค.ศ. 1738-1755)
* 5. [[ปีแยร์ บรีโก]] (Pierre Brigot) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2298 - 2310 (ค.ศ. 1755-1767)
* 6. [[โอลีวีเย – ซีมง เลอ บง]] (Olivier-Simon Le Bon) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2311 - 2323 (ค.ศ. 1768-1780)
* 7. [[โฌแซ็ฟ – หลุยส์ กูเด]] (Joseph-Louis Coudé) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2325 - 2328 (ค.ศ. 1782-1785)
* 8. [[อาร์โน – อ็องตวน การ์โนล]] (Arnaud-Antoine Garnault) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2329 - 2353 (ค.ศ. 1786-1810)
* 9. [[แอสพรี – มารี – โฌแซ็ฟ โฟลร็อง]] (Esprit-Marie-Joseph Florens) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2354 - 2377 (ค.ศ. 1811-1834)
* 10. [[ฌ็อง – ปอล – อีแลร์ – มีแชล กูร์เวอซี]] (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2377 - 2384 (ค.ศ. 1834-1841)
 
ในปี พ.ศ. 2384(ค.ศ. 1841) สันตะสำนักได้แบ่งมิสซังสยามออกเป็น 2 มิสซัง คือ'''มิสซังสยามตะวันออก'''ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรสยามและลาว และ'''มิสซังสยามตะวันตก'''ซึ่งครอบคลุมพื้นที่[[เกาะสุมาตรา]] แหลม[[มลายู]] และ[[พม่า]]ใต้ โดยมุขนายก กูร์เวอซี ย้ายไปเป็นประมุขมิสซังสยามตะวันตก ประจำอยู่ที่สิงคโปร์ ส่วนมิสซังสยามตะวันออกได้อภิเษกบาทหลวง ปาเลอกัว อดีตมุขนายกผู้ช่วย ขึ้นเป็นมุขนายกประมุขมิสซังปกครองมิสซังสยามตะวันตกแทนสืบมา มิสซังสยามตะวันออกมีลำดับประมุขดังนี้
 
* 1.[[ฌ็อง – บัปตีสต์ ปาเลอกัว]] (Jean-Baptiste Pallegoix) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2384 - 2405 (ค.ศ. 1841-1862)
* 2.[[แฟร์ดีน็อง – แอเม – โอกุสแต็ง – โฌแซ็ฟ ดูว์ป็อง]] (Ferdinand-Aimé-Augustin-Joseph Dupond) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2407 - 2415 (ค.ศ. 1864-1872)
* 3.[[ฌ็อง – หลุยส์ แว]] (Jean-Louis Vey) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2418 - 2452 (ค.ศ. 1875-1909)
* 4.[[เรอเน – มารี – โฌแซ็ฟ แปรอส]] (René-Marie-Joseph Perros) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2452 - 2490 (ค.ศ. 1909-1947)
 
ในปี ค.ศ. 1924 มิสซังสยามตะวันออกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังกรุงเทพฯ'''<ref name="Archdiocese of Bangkok">[http://www.catholic-hierarchy.org/diocese/dbank.html Archdiocese of Bangkok]. The Hierarchy of the Catholic Church. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ก.พ. พ.ศ. 2554.</ref> มุขนายก แปรอส ยังรั้งตำแหน่งประมุขมิสซัง และมีประมุขมิสซังกรุงเทพฯ สืบทอดต่อมาอีกดังนี้
 
* 5.[[หลุยส์ – โอกุส – เกลม็อง – โชแร็ง]] (Louis-August-Clément Chorin) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2490 - 2508 (ค.ศ. 1947-1965)
* 6.[[ยอแซฟ ยวง นิตโย]] ปกครองมิสซังตั้งแต่ 29 เม.ย. – 18 ธ.ค. พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
 
ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) สันตะสำนักได้แยกลาวออกไปตั้งเป็น'''มิสซังลาว''' ต่อมาปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) พื้นที่ราชบุรีได้ถูกยกขึ้นเป็นมิสซัง ตามด้วยจันทบุรีก็ได้เป็นมิสซังในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ส่วนมิสซังลาวต่อมาเหลือพื้นที่เฉพาะภาคอีสานของไทยแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังท่าแร่''' ต่อมาพื้นที่อุดรธานี และอุบลราชธานีได้แยกออกเป็นมิสซังอีก ทำให้ในช่วงท้ายยุคมิสซังคริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยประกอบด้วยมิสซังถึง 7 มิสซัง
เส้น 64 ⟶ 66:
แม้คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยจะประสบปัญหาในบางช่วง แต่โดยภาพรวมก็ถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ถูกห้ามเผยแพร่ศาสนาให้คนสยาม ก็ได้แผยแพร่ให้คนต่างชาติในสยามแทนจนเกิดโบสถ์คาทอลิกขึ้นหลายแห่ง เช่น โบสถ์คอนเซ็ปชัญของชาวเขมร โบสถ์ซางตาครู้สของชาวจีน เป็นต้น เมื่อได้รับเสรีภาพในการประกาศศาสนาก็ทำให้การดำเนินงานสะดวกขึ้น มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัย และโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งภายใต้การบริหารงานของ[[คณะนักบวชคาทอลิก]]คณะต่างๆ<ref name="ศาสนาคริสต์"/>
 
=== ยุคเขตมิสซัง ===
เมื่อเห็นว่ากิจการของคริสตจักรในประเทศไทยก้าวหน้าเป็นอย่างดี [[สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6]] ก็ได้สถาปนามิสซังทั้งหลายในประเทศไทยขึ้นเป็น'''เขตมิสซัง''' (diocese) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยแบ่งเป็นสองภาคคริสตจักรใหญ่ๆ<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์'', หน้า 50 – 1</ref> คือ
* '''ภาคกรุงเทพฯ''' ประกอบด้วย[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ]]ซึ่งเป็นเขตมิสซังชั้น[[อัครมุขมณฑล]] (archdiocese) และ[[เขตมิสซังราชบุรี]] [[เขตมิสซังจันทบุรี]] [[เขตมิสซังเชียงใหม่]]เป็นเขตมิสซังชั้น[[มุขมณฑล]] (diocese)
* '''ภาคท่าแร่ – หนองแสง''' ประกอบด้วย[[เขตมิสซังท่าแร่ – หนองแสง]]ซึ่งเป็นเขตมิสซังชั้นอัครมุขมณฑล (archdiocese) ส่วน[[เขตมิสซังอุบลราชธานี]] [[เขตมิสซังนครราชสีมา]] [[เขตมิสซังอุดรธานี]]เป็นเขตมิสซังชั้นมุขมณฑล (diocese)
 
ต่อมาได้มีการแยกพื้นที่ทางตอนเหนือของเขตมิสซังกรุงเทพฯ ออกไปกับบางส่วนของเขตมิสซังเชียงใหม่ ตั้งเป็น[[เขตมิสซังนครสวรรค์]]ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967)และแยกภาคใต้ออกจากเขตมิสซังราชบุรีเพื่อตั้งเป็น[[เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี]]ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ทั้งสองเขตมิสซังใหม่ยังคงรวมอยู่ในภาคกรุงเทพฯ คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยจึงประกอบด้วย 10 เขตมิสซังดังเช่นปัจจุบัน
เส้น 76 ⟶ 78:
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย]]
* [[โรมันคาทอลิก]]
 
{{คาทอลิกไทย}}