ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวย่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
Azoma (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 5:
 
== ประวัติ ==
=== จีนแผ่นดินใหญ่ ===
แม้ว่า[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]เป็นผู้เริ่มใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างจริงจังใน [[พ.ศ. 2492]] แต่อักษรจีนตัวย่อก็ปรากฏก่อนหน้านั้นมานานแล้ว โดยเฉพาะการเขียนแบบหวัด และในสมัย[[ราชวงศ์จิ๋น]] ([[พ.ศ. 322]] - [[พ.ศ. 337|337]]) ได้นำมาใช้ในการพิมพ์ ในสมัยที่[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]ปกครอง[[ประเทศจีน]]อยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและนักเขียนก็ได้เสนอความคิดว่า การใช้อักษรจีนตัวย่อจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวจีนมากขึ้น สาเหตุที่สมัยก่อน มีประชาชนรู้หนังสือน้อยก็เพราะว่า[[ภาษาจีน]] ใช้ระบบตัวอักษรรูปภาพ หนึ่งตัวแทนหนึ่งเสียง-หนึ่งคำ ดังนั้นจึงมีตัวอักษรจำนวนมหาศาล ต่างกับหลายภาษาทั่ว[[โลก]] ที่ใช้ระบบอักษรผสมตัวอักษรสะกดแทนเสียง
 
บรรทัด 16:
สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะทำสื่อที่เผยแพร่ใน [[ไต้หวัน]] [[ฮ่องกง]] [[มาเก๊า]] และต่างประเทศ โดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] ตัวอย่างเช่น [[หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่]]ที่มีทั้งรูปแบบ[[อักษรจีนตัวเต็ม]]และตัวย่อ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่และ[[สำนักข่าวซินหัว]]ที่ให้เลือกอ่านเป็น[[อักษรจีนตัวเต็ม]] โดยใช้รหัสอักษร Big5 ตัวอย่างอื่น เช่น นมที่ผลิตใน[[จีนแผ่นดินใหญ่]]และส่งไปขายใน[[ฮ่องกง]] ก็พิมพ์ฉลากโดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] และการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทาง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ก็ไม่อยากเปลี่ยนให้[[ฮ่องกง]]และ[[มาเก๊า]]มาใช้อักษรจีนตัวย่อ
 
=== สิงคโปร์ และมาเลเซีย ===
[[สิงคโปร์]] มีการรับอักษรจีนตัวย่อจาก[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]มาใช้ 3 ครั้ง
* ครั้งแรก ใน[[พ.ศ. 2512]] กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ประกาศให้ใช้ อักษรจีนตัวย่อ 249 ตัว จาก[[อักษรจีนตัวเต็ม]] 502 ตัว