เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "{{กูเกิล|" → "{{ค้นหา|" ด้วยสจห.
Ponlapee (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 110:
 
สวัสดีครับ เรื่องรูปนี้สามารถแก้ได้โดยตรงครับ โดยอาจจะเซฟจากรูปเดิมแล้วมาปรับแก้ใน Photoshop แล้วสามารถโหลดขึ้นไปทับรูปเดิมเลย (โหลดในคอมมอนส์) เสร็จแล้ววิกิภาษาอื่น ที่นำรูปไปใช้จะได้อัปเดตตามครับผม หรือยังไงอาจลองติดต่อ [[User:Ahoerstemeier|คุณแอนดี้]] ดูก็ได้ครับ เขาเป็นคนโหลดไว้ เขาอาจจะมีไฟล์ต้นฉบับซึ่งอาจจะแก้ได้ง่ายกว่า แต่ถ้ายังไงก็ Photoshop ลุยได้เลยครับ --[[User:Manop|Manop]] | [[คุยกับผู้ใช้:Manop|พูดคุย]] - [[ภาพ:Wikipe-tan tab.png]] 19:07, 18 เมษายน 2007 (UTC)
 
== ศิลปะกระดาษสร้างรูปทรงสถาปัตยกรรม ==
 
'''ศิลปะกระดาษสร้างรูปทรงสถาปัตยกรรม(Origamic Architecture)'''
เป็นศิลปะประดิษฐ์ประเภทหนึ่ง ที่รวมถึงการนำกระดาษมาตัดและพับ เป็นรูบทรงของสถาปัตยกรรมที่เป็นสามมิติ โดยการตัดกระดาษเพียงแผ่นเดียวให้เป็นรูปทรงของสถาปัตยกรรม โดยมีหลายรายละเอียด หลายรูปแบบ หลายทรง เป็นต้น แล้วนำมาพับขึ้น สามารถทำได้หลายองศา ซึ่งศิลปะประเภทนี้จะต่างกับการพับกระดาษ (Origami) หรือ การทำงาน ป๊อบ-อัพ (Pop-up) เนื่องจากการทำป๊อบอัพ จะเป็นการกระดาษมากกว่าหนึ่งแผ่น การที่จะทำศิลปะประเภทนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการคิดคำนวณ ทำงานอย่างละเอียด เพื่อจะทำให้กระดาษซึ่งเป็นสองมิติ ขึ้นมาเป็นสามมิติ
 
 
== หัวข้อ ==
'''
1. ถิ่นกำเนิด
2. ประวัติ
3. ประเภทของงานศิลปะกระดาษรูปทรงสถาปัตยกรรม'''
 
----
 
 
'''ถิ่นกำเนิด'''
การพัฒนาการพับและตัดกระดาษมาเป็นศิลปะกระดาษการสร้างรูปสถาปัตยกรรม เริ่มมาจากศาสตราจารย์ มาซาฮิโระ ชาตานิ (Masahiro Chatani) (ต่อมาจึงมาการพัฒนาเพิ่มจากศาสตราจารย์ในโตเกียว) ซึ่งทำการทดลองเกี่ยวกับการออกแบบบัตรอวยพร วัฒนธรรมประเพณีของประเทศญี่ปุ่นสนับสนุนในเรื่องการให้และการรับบัตรอวยพรในโอกาสพิเศษต่างๆ อย่างเช่น วันปีใหม่ จากการคำนวณของศาสตราจารย์ ชาตานิ รู้สึกว่าบัตรอวยพรนั้นเป็นการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ การสื่อสารกันของผู้คน เขากลัวว่าประเพณีในการแลกบัตรอวยพร ความสัมพันธ์และสื่อสารกันของคนในปัจจุบันกะลังจะหายไป เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันมีการเร่งรีบมากขึ้นทำให้คนละเลยสิ่งดีๆในอดีต
ในช่วงยุค 1980s ศาสตราจารย์ ชาตานิ เริ้มคิดค้นและออกแบบการตัดและพับกระดาษเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เขาใช้การตัด (kirigami) และการพับ (origami) กระดาษและความสามารถในการออกแบบสถาปัตยกรรมของเขามาช่วยในการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบใหม่ตอบรับเรื่องแสงและเงา งานหลายๆงานของเขาทำขึ้นมาจากกระดาษแข็งสีขาวเพื่อเน้นให้เห็นแสงและเงาที่ตกกระทบลงบนรอยพับและตัดชัดเจนยิ่งขึ้น ในคำนำของหนังสือเล่มหนึ่งของเขา เขาได้อธิบายเกี่ยวกับการะใช้เงากับสิ่งสามมิติสามารถทำให้เกิดฉากที่ชวนฝัน เหมือนกับว่าได้ไปอยู่ในโลกแฟนตาซีจริงๆ
ในตอนแรก ศาสตราจารย์ ชาตานิ เพียงแค่แจกบัตรอวยพรให้ครอบครัวและเพื่อนๆของเขาเท่านั้น แต่ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา เขาผลิตหนังสือมากกว่า 50 เล่มเกี่ยวกับศิลปะกระดาษรูปทรงสถาปัตยกรรม เขาเชื่อว่าศิลปะนี้จะเป็นการสอนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีได้ และยังช่วยให้ผุ้คนทั่วไปชื่นชมกับงานสถาปัตยกรรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจในเรื่องเลขคณิตคิดคำนวณสำหรับเด็กได้เช่นกัน
หลังจากที่เขาเกษียณอายุ ศาสตราจารย์ ชาตานิ ใช้เวลาของเขาในการออกงานของเขาในนิทรรศการต่างๆ เขายังร่วมกันทำหนังสือและผลิตผลงานต่างๆกับ เคย์โกะ นากาซาวะ และ ทาคากิ คิฮาระ อีกด้วย
 
'''ประวัติ'''
มาซาฮิโระ ชาตานิ เคยเป็นสถาปนิกญี่ปุ่น ได้รับการรับรอง(Certified, first class) และยังเป็นศาสตราจารย์ ซึ่งนำมาซึ่งการออกแบบศิลปะกระดาษรูปทรงสถาปัตยกรรม พัฒนาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาตาย ในปี 2008 ทั่วโลกให้การยอมรับเขาเป็นผู้ออกแบบศิลปะชนิดนี้ที่สำคัญที่สุด
เขาเกิดที่ ฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1934 เขาโตที่โตเกียว และจบมาจากวิทยาลัยในโตเกียว สาขาเทคโนโลยี ในปี 1956 ต่อมา ในปี 1969 เขาได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในวิทยาลัยนั้นและเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยวอชิงตันในปี 1977 จนในที่สุดเขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยโตเกียวในปี 1980 ในช่วงนี้แหละที่เขาได้คิดค้นศิลปะแนวนี้ขึ้น เขายังให้ความรู้แก่นักเรียนมาเรื่อยๆ ทั้งด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ในช่วงหลังที่เขาเกษียณอายุ เขาได้เปิดการแสดงงานนิทรรศการจามที่ต่างๆ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม และศิลปะการพับและตัดกระดาษนี้
ชีวิตของเขาสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2008 ด้วยอายุ 74 ปีเนื่องจากเป็นมะเร็ง
 
 
'''ประเภทของงานศิลปะกระดาษรูปทรงสถาปัตยกรรม'''
งานศิลปะนี้สามารถแยกได้เป็นหลายประเภท เช่น การตัดกระดาษตามรูปแบบที่ชัดเจน และสามารถเปิดขึ้นมาได้ 90 องศา สามารถที่จะผลิตรูปทรงสามมิติขึ้นมาได้ คล้ายกับงานป๊อบอัพ หรืออีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้ด้ายในการเชื่อมกันของกระดาษพื้นเพื่อสร้างเป็นฐานของงาน
ทาคากิ คิฮาระ ใช้การพับและตัดอีกวิธีหนึ่ง โดยที่ส่วนที่เป็นสามมิติจะโดนดันออกมา เป็นโครงสร้างของตึก จากกระดาษบางเพียงแผ่นเดียว ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้คนดูเห็นช่องว่างที่ตัดออกไป ซึ่งจะสร้างแสงและเงาที่ตกกระทบที่น่าสนใจ คิฮาระ ยังอธิบายว่าการทำแบบนี้เปนการทำที่ง่ายกว่าเพื่อจะเก็บรูปทรงสำหรับการกางกระดาษ 180 องศา
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบที่เป็นการเปิดและพับกระดาษในทางตรงกันข้ามเช่นการกางกระดาษ 360 องศา เปนต้น
 
งานศิลปะกระดาษรูปทรงสถาปัตยกรรมได้พัฒนาจนกระทั่งตอนนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกแล้ว