ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัยการย้ายถิ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: lv:Lielā tautu staigāšana
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกราน[[ไวกิง]], [[แมกยาร์]], [[ชนเตอร์คิค]] และ[[การรุกรานของมองโกลในยุโรป]]ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป
 
===ลำดับเวลา===
สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานแบ่งได้เป็นสองช่วง
;การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง [[ค.ศ. 300]] ถึง [[ค.ศ. 500]],
สมัยนี้ได้รับการบันทึกเป็นบางส่วนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกและโรมัน และยากต่อการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดี แต่ระบุว่าชนเจอร์มานิคเป็นผู้นำของบริเวณต่างๆ เกือบทั้งหมดที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของ[[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]]
<ref>Also [[Jordanes]](6th century), an Alan or Goth by birth, wrote in Latin.</ref>
 
[[วิซิกอธ]]เข้ารุกแรนดินแดนโรมันหลังจากการปะทะกับฮั่นในปี [[ค.ศ. 376]] แต่สถานภาพของชนอิสระของวิซิกอธอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในปีต่อมาองค์รักษ์ของ[[Fritigern|ฟริติเกิร์น]]ผู้นำของ[[วิซิกอธ]]ก็ถูกสังหารระหว่างที่พบปะกับ [[Lupicinus|ลูพิซินัส]]นายทหารโรมันที่[[Marcianopolis|มาร์เชียโนโพลิส]]<ref>cf. {{harvtxt|Wolfram|2001|pp=127ff.}}</ref> [[วิซิกอธ]]จึงลุกขึ้นแข็งข้อ และในที่สุดก็เข้ารุกรานอิตาลีและ[[การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)|ตีกรุงโรมแตก]]ในปี [[ค.ศ. 410]] ก่อนที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานใน[[คาบสมุทรไอบีเรีย]]และก่อตั้งอาณาจักรของตนเองที่รุ่งเรืองอยู่ได้ราว 200 ปี หลังจากนั้นการตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นของโรมันก็ตามมาด้วย[[ออสโตรกอธ]]ที่นำโดย[[พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช]]ผู้ทรงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีด้วยพระองค์เอง
 
ในบริเวณ[[กอล]]ชนแฟรงค์ผู้ซึ่งผู้นำเป็นพันธมิตรของโรมันอย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโรมันอย่างสงบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และโดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นประมุขของชาวโรมัน-กอล [[จักรวรรดิแฟรงค์]]ผู้ต่อต้านการรุกรานจากชน[[อลามานนิ]], [[เบอร์กันดี]] และ[[วิซิกอธ]]เป็นส่วนสำคัญที่กลายมาเป็นฝรั่งเศสและเยอรมันนีต่อมา
 
 
[[Anglo-Saxon settlement of Britain|การตั้งถิ่นฐานของแองโกล-แซ็กซอนในบริเตน]]เริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากอิทธิพลของ[[บริเตนสมัยโรมัน|โรมันบริเตน]]สิ้นสุดลง<ref>cf. {{harvtxt|Dumville|1990}}</ref>
 
;การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง [[ค.ศ. 500]] ถึง [[ค.ศ. 700]],
ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ใน[[ยุโรปกลาง]]และ[[ยุโรปตะวันออก]]โดยเฉพาะในบริเวณ[[Germania|เจอร์มาเนีย]] [[ชนบัลการ์]]ที่อาจจะมีรากฐานมาจาก[[กลุ่มชนเตอร์กิค]]ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชน[[ลอมบาร์ด]]ที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือ[[ลอมบาร์ดี]]
 
ในช่วงแรกของ[[สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ]] [[จักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน|กองทัพรอชิดีน]]พยายามเข้ามารุกราน[[บอลข่าน|ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้]]โดยทาง[[อานาโตเลีย
|เอเชียไมเนอร์]]ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดก็พ่ายแพ้ใน[[การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)
|การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล]]ต่อกองทัพของพันธมิตรของ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]และ[[ชนบัลการ์|บัลการ์]]ระหว่างปี [[ค.ศ. 717]]&ndash;ปี [[ค.ศ. 718]] ระหว่าง[[Khazar–Arab Wars|สงครามคาซาร์–อาหรับ]] [[Khazars|คาซาร์]]หยุดยั้ง[[การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม|การขยายดินแดนของมุสลิม]]เข้ามาใน[[ยุโรปตะวันออก]]โดยทาง[[คอเคซัส]] ในขณะเดียวกัน[[มัวร์]] (ผสมระหว่าง[[อาหรับ]]และ[[ชนเบอร์เบอร์|เบอร์เบอร์]]) ก็เข้ามารุกรานยุโรปทาง[[ยิบรอลตาร์]]โดย[[ราชวงศ์อุมัยยะห์|อุมัยยะห์]] และยึดดินแดนจาก[[ราชอาณาจักรวิซิกอธ]]ในคาบสมุทรไอบีเรียในปี [[ค.ศ. 711]] ก่อนที่จะมาถูกหยุดยั้งโดยชนแฟรงค์ใน[[ยุทธการตูร์]]ในปี [[ค.ศ. 732]] ยุทธการครั้งนี้เป็นการสร้างพรมแดนถาวรระหว่างอาณาจักรในกลุ่ม[[Christendom|คริสต์จักร]]และอาณาจักรใน[[Muslim world|ดินแดนมุสลิม]]ในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ในช่วงสองสามร้อยปีต่อมามุสลิมก็พิชิตดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีได้เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้รวมตัวเข้ากับดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย
 
== อ้างอิง ==