ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันพระปกเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== ประวัติสถาบันพระปกเกล้า ==
ในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ผู้พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]] แก่ปวงชนชาวไทยได้เวียนมาบรรจบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ [[มารุต บุนนาค|ศาสตรจารย์มารุต บุนนาค]] ประธานรัฐสภาในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่ง[[รัฐสภา]]ที่ ๑๒/๒๕๓๖ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป้นเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา|นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา]] รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการพิจารณากำหนดรูปแบบและพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้สถาบันนี้สามารถดำเนินกิจการได้ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อจัดทำโครงร่างงบประมาณแผนงานการจัดตั้ง และกำหนดชื่อสถาบัน และได้เดินทางไปดูกิจการศึกษาเผยแพร่ประชาธิปไตยที่[[ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน]] พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานผลการศึกษาโครงการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเสนอ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และในวันเดียวกันได้มีคำสั่งรัฐสภาที่ ๕/๒๕๓๗ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นในรัฐสภา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาเป็นชื่อของสถาบัน และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "King Prajadhipok's Institute" ต่อมา ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ได้มีประกาศรัฐสภาเรื่องแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๕) เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้จัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกอง สังกัดสำนัก งานเลขาธิการ[[สภาผู้แทนราษฎร]] โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม สัมมนา การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติ การจัดทำเอกสารและสื่อการสอน ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการฝึกอบรม งานเตรียมการปรับปรุงสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานระดับกรมและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย การดำเนินการของสถาบันให้อาศัยระเบียบการบริหารการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการ ๒ คณะ คือ คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้า และคณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดูแล
 
ในการดำเนินงานเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าจากหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งที่ ๑/๒๕๓๘ เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าเป็นกรม ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๘ โดยมี [[ชุมพล ศิลปอาชา|นายชุมพล ศิลปอาชา]] เป็นประธานคณะอนุกรรมการ