ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อองซานร่วมมือกับดร.บามอร์ตั้งกลุ่มเสรีภาพเพื่อเรียกร้องเอกราช เมื่อถูก[[อังกฤษ]]กวาดล้าง อองซานหนีไปญี่ปุ่นและดำเนินการแบบใต้ดินนำทะขิ่นจำนวน 30 คนไปฝึกอาวุธในญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2484 ทะขิ่นเหล่านี้กลับเข้าประเทศพร้อมกองทัพญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2485 และได้จัดตั้งกองทหารร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อขับไล่อังกฤษออกจากพม่า
 
จากจุดนี้ แนวคิดทางการเมืองของทะขิ่นเริ่มแตกต่างกันไป กลุ่มของอองซานสนับสนุนญี่ปุ่น ในขณะที่บางส่วนหันไปนิยมลัทธิ[[คอมมิวนิสต์]]และจัดตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]]ขึ้น ต่อมาเมื่อฝ่ายอองซานเรื่มแน่ใจว่าญี่ปุ่นไม่ได้จริงใจในการให้เอกราชแก่พม่า อองซานจึงเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นทั้งหมดเข้าเป็นสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ โดยมีหน่วยงานหลักคือ กองทัพแห่งชาติพม่า [[พรรคปฏิวัติพม่า]] และ[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]] ภายหลังเมื่อทางญี่ปุ่นเริ่มไหวตัว สันนิบาตฯจึงจึงเปิดรับกลุ่มอื่นๆรวมทั้งชนกลุ่มน้อยต่างๆเข้าร่วมอีกมาก ดังนั้น เมื่อสงครามโลกยุติลง สันนิบาตฯจึงประกาศเป็นตัวแทนชาวพม่าทั้งหมดในการเรียกร้องเอกราช
 
==การเรียกร้องเอกราช==
อังกฤษไม่พอใจบทบาทของสันนิบาตฯในช่วงสงครามมากนักเพราะเคยร่วมมือกับญี่ปุ่นมาก่อน ดังนั้นเมื่อสงครามยุติลง อังกฤษจึงประกาศจะกลับมาปกครองพม่าต่อไป สันนิบาตฯจึงประกาศต่อต้านอังกฤษและจัดการชุมนุมอย่างสงบที่พระ[[เจดีย์ชเวดากอง]]เมื่อ พ.ศ. 2489 และไม่ให้ความร่วมมือกับตัวแทนรัฐบาลอังกฤษ อย่างไรก็ตามแนวทางการต่อสู้ของผู้นำสันนิบาตฯก็มีความขัดแย้งกันเอง อองซานต้องการต่อสู้ด้วยสันติวิธีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ต้องการสู้ด้วยอาวุธ พรรคคอมมิวนิสต์จึงถูกขับออกจากสันนิบาตฯในที่สุด