ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรโวหาร (ภู่)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
 
ปี [[พ.ศ. 2529]] ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การ[[ยูเนสโก]]ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้าง[[อนุสาวรีย์สุนทรภู่]]ไว้ที่ตำบลกร่ำ [[อำเภอแกลง]] [[จังหวัดระยอง]] บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ ''[[นิราศเมืองแกลง]]'' นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น '''วันสุนทรภู่''' ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป
 
ดูหนังออนไลน์ : http://www.หนังฮา.com
 
== ประวัติ ==
=== ต้นตระกูล ===
 
บันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ [[อำเภอแกลง]] [[จังหวัดระยอง]] มารดาเป็นชาวเมืองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของ[[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] เรื่อง ''ชีวิตและงานของสุนทรภู่'' ต่อมาในภายหลัง เมื่อมีการค้นพบข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ก็มีแนวคิดเกี่ยวกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ใน ''[[นิราศเมืองแกลง]]'' ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มาแน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาว[[ฉะเชิงเทรา]] และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาว[[เพชรบุรี|เมืองเพชร]] [[ก.ศ.ร. กุหลาบ]] เคยเขียนไว้ในหนังสือ ''[[สยามประเภท]]'' ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดิน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) <ref name="pluang">เปลื้อง ณ นคร. ''สุนทรภู่ครูกวี''. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง. มิถุนายน 2542</ref> ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่งซึ่ง [[ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ]] พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย<ref name="pramote">ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. ''เที่ยวไปกับสุนทรภู่''. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. มีนาคม 2540.</ref> ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร สืบเนื่องจากเนื้อความใน ''[[นิราศเมืองเพชร]]'' ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดย อ.[[ล้อม เพ็งแก้ว]] เมื่อ พ.ศ. 2529<ref>ล้อม เพ็งแก้ว. ''โคตรญาติสุนทรภู่'' จาก ''นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ'' มีนาคม 2529. พิมพ์รวมเล่มใน ''สุนทรภู่ - อาลักษณ์เจ้าจักรวาล'' โดย[[สำนักพิมพ์มติชน]] พ.ศ. 2547</ref>