ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parinand (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 232:
[[ไฟล์:PPS 2.JPG|[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]]|right|170px|thumb]]
 
หลังจากที่สยามได้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครบทั้ง 6 บรรพเป็นครั้งแรกใน [[พ.ศ. 2477|พ.ศ. 2477]] แล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการประมวลกฎหมายบ้านเมืองฉบับสำคัญ ๆ สืบต่อมาอีก ได้แก่ [[ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ประเทศไทย)|ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง]] และ[[ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)|ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา]] กับทั้งได้พยายามใช้การมีกฎหมายอันทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศนี้เจรจาขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาเสียเปรียบทั้งหลายเสมอมา ซึ่งการเจรจาก็มิใช่เรื่องง่ายเลย ต้องขอบคุณ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่มีน้ำใจกว้างขวางช่วยเหลือสยามในการนี้ทุกเมื่อ และยังได้ส่ง [[Edward Henry Strobel|เอดเวิร์ด เฮนรี สตรอเบิล]] (Edward Henry Strobel) นักการทูตและนักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เข้ามาเป็นกำลังสำคัญให้ไทย ทว่า [[ประเทศฝรั่งเศส]]นั้นได้พยายามใช้ชั้นเชิงทางการทูตบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีกการยกเลิกสนธิสัญญากับสยาม ส่วน[[ประเทศอังกฤษ]]นั้นก็ไม่ใคร่จะให้มีการยกเลิกเช่นกัน แต่ใช้ชั้นเชิงที่แนบเนียนกว่าฝรั่งเศส ทำให้รัฐบาลสยามต้องสู้รบปรบมือทางด้านนโยบายกับสองประเทศนี้เป็นเวลานาน<ref>แสวง บุญเฉลิมวิภาศ, 2552 : 242.</ref> ในที่สุด สยามก็ได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาและนานาชาติทยอยยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติเป็นผลสำเร็จโดยมีการทำสนธิสัญญาใหม่กับนานาประเทศในปี [[พ.ศ. 2480|พ.ศ. 2480]] สมัยรัฐบาล[[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ต่อเนื่องถึง [[พ.ศ. 2481|พ.ศ. 2481]] ภายใต้สมัยรัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ([[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศแปลกป. พิบูลสงคราม]])<ref>ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2517 : 6.</ref>
ผู้มีบทบาทสำคัญในการเจรจาคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ([[ปรีดี พนมยงค์|ปรีดี พนมยงค์]]) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา
 
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจัดทำประมวลกฎหมายจะทำให้ประเทศสยามต้องเปลี่ยนระบบกฎหมายที่รับเข้ามาในสมัยรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จาก[[ระบบคอมมอนลอว์]] (Common Law System) อันกฎหมายเกิดจากบรรทัดฐานที่ศาลพิพากษากำหนดไว้ หรือที่สมัยนั้นเรียก "วิธีกฎหมายจารีตธรรม" เป็น[[ระบบซีวิลลอว์]] (Civil Law System) อันกฎหมายเกิดจากกระบวนการนิติบัญญัติ หรือที่ในสมัยนั้นเรียก "วิธีกฎหมายประมวลธรรม" (Code System) แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา นักกฎหมายไทยยังติดอยู่กับนิติวิธีทางระบบคอมมอนลอว์อยู่มาก ซึ่งบรรดาผู้ยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เคยตระหนักถึงและแสดงความห่วงใยประเด็นนี้ไว้อยู่แล้ว ดังที่ [[Georges Padoux|ชอร์ช ปาดู]] (Georges Padoux) มีหนังสือถึง [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]] และพระองค์ก็ทรงเห็นด้วย กับทั้งได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2456 กราบบังทูล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ว่า<ref>แสวง บุญเฉลิมวิภาศ, 2552 : 243-244.</ref>