ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เว็บย่อ|CBC}}
'''การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์''' หรือ '''การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด''' ({{lang-en|Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)}}) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า '''ซีบีซี''' เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ[[เซลล์เม็ดเลือด]]ของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram)
 
Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์{{อ้างอิง}} ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง ค.ศ. 1960
บรรทัด 9:
 
=== สิ่งส่งตรวจ ===
[[ผู้เจาะเลือด]]จะเป็นผู้เก็บเลือดโดยจะใส่[[สารกันเลือดแข็ง]] ([[EDTA]] หรือบางครั้งอาจจะใช้ [[citrate]])ในหลอดบรรจุเลือดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด แล้วนำส่ง[[ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์]] ในอดีตการตรวจนับจำนวนเซลล์จากเลือดผู้ป่วยจะใช้คนเป็นผู้นับโดยการดูจาก[[ฟิล์มเลือด]] (blood film) ผ่านทาง[[กล้องจุลทรรศน์]] แต่ในปัจจุบันห้องปฏิบิติการทางการแพทย์บางแห่งได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจความนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ของเลือดแทน
 
=== เครื่องตรวจความสมบูรณ์ของเลือดแบบอัตโนมัติ ===
[[ไฟล์:CBC report.JPG|thumb|การแสดงผลการตรวจความนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ของเลือดโดยเครื่องอัตโนมัติ]]
เลือดจะถูกผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันและถูกวางไว้ที่แท่นของเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องอัตโนมัติประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่จะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ในเลือดได้ โดยเครื่องจะวิเคราะห์ชนิดและจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ในเลือด ผลการวิเคราะห์จะถูกพิมพ์ออกมาหรือส่งผลไปยังคอมพิวเตอร์ต่อไป
 
บรรทัด 21:
นอกจากการนับจำนวนเซลล์และวิเคราะห์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด เครื่องตรวจความสมบูรณ์ของเลือดแบบอัตโนมัติยังสามารถวัดปริมาณของ[[ฮีโมโกลบิน]] (hemoglobin) ซึ่งมีประโยชน์ต่อแพทย์ เช่น วินิจฉัยผู้ป่วย[[โรคโลหิตจาง]] หากเม็ดเลือดแดงมีขนาดที่ผิดปกติไม่ว่าจะมีขนาดเล็ดหรือใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงปกติ หรือมีความแตกต่างของขนาดเม็ดเลือดแดงอย่างมาก ข้อมูลเหล่านี้จะใช้เป็นแนวทางในการตรวจและวินิจฉัยต่อไป
 
=== การตรวจความนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ของเลือดโดยใช้คน ===
[[ไฟล์:Lymphocyte2.jpg|thumb|right|ภาพจาก[[ฟิล์มเลือด]] ซึ่งสามารถมองเห็นรูปร่างของ[[ลิมโฟไซต์]] [[เม็ดเลือดแดง]]และ[[เกล็ดเลือด]]]]
 
Counting chamber เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจนับจำนวนเดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในเลือด ส่วนการตรวจแยกชนิดของเซลล์เม็ดเลือดนั้นจะใช้ฟิล์มเลือด โดยจะนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวภายใต้[[กล้องจุลทรรศน์]]
 
วิธีการตรวจโดยใช้คนนั้นมีข้อดีที่สามารถตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติได้ดีกว่าเครื่องอัตโนมัติ แต่ก็อาจจะพบความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากเป็นการนับเซลล์ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องอัตโนมัติ การตรวจความนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ของเลือดภายใต้กล้องจุลทรรศน์นั้นไม่เพียงแต่สามารถตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจดูความแตกต่างของรูปร่างเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง การตรวจด้วยเครื่องอัตโนมัตินั้นจะมีความรวดเร็ว การตรวจนับจำนวนเซลล์ ขนาดของเม็ดเลือดโดยเฉลี่ย รวมถึงความแตกต่างของขนาดเม็ดเลือดจะมีความน่าเชื่อถือ แต่เครื่องอัตโนมัตินั้นไม่สามารถบอกถึงรูปร่างของเม็ดเลือดได้ รวมถึงอาจพบความผิดพลาดในการคำนวณจำนวนเกล็ดเลือดอันเนื่องมาจาก EDTA นั้นทำให้เกร็ดเลือดเกิดการเกาะกลุ่มกัน (clump) ซึ่งถ้าหากตรวจจำนวนเกร็ดเลือดผ่านทางฟิล์มเลือดนั้นจะมาสามารถเห็นการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดได้ทำให้สามารถประมาณจำนวนเกร็ดเลือดอย่างคร่าว ๆ ได้ว่ามีจำนวนปกติ ต่ำ หรือสูง แต่ไม่สามารถรายงานจำนวนสุทธิของเกร็ดเลือดได้
 
== ผลลัพธ์ ==
บรรทัด 76:
|}
 
การเปลี่ยนแปลงของการตรวจความนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ของเลือดสามารถบ่งบอกถึงอาการของโรคบางชนิดได้ เช่น
* [[leukocytosis]] สามารถนำมาใช้บ่งบอกถึงการติดเชื้อได้
* [[thrombocytopenia]] อาจจะเป็นผลมาจากพิษของยา