ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
 
นายด่านเมืองปากน้ำอีกตำแหน่ง ที่ปรากฏในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ มีราชทินนามว่า สมุทรบุรานุรักษ์ เป็นราชทินนามที่ปรากฏตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บุคคลเชื้อสายแขกสุลัยมาน นามเดิมว่า หวัง ที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรับราชการ มาแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรฐ (พ.ศ.๒๑๔๘) ท่านเป็นผู้มีความชำนาญในการเดินเรือทางทะเล คำว่า สมุทรบุรานุรักษ์ จึงเป็นความหมายที่เกี่ยวกับทะเล แต่สมัยนั้นทรงโปรดให้ดำรงตำแหน่งเป็นทหารประจำที่เมืองสงขลา สมัยรัชกาลที่ ๑ จึงมีการโปรดเกล้าฯ ให้พระสมุทรบุรานุรักษ์ (หวัง) มาเป็นเจ้าเมืองชลบุรี ก่อนที่จะให้มาเป็นนายทหารเรือในกรุงเทพฯ การแต่งตั้งพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ในตำแหน่งเจ้าเมืองสมุทรปราการ เพิ่งมีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ ท่านพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เกิด) โดยปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ในพิธีต้องรับผู้สำเร็จราชการเกาะอังกฤษฮ่องกง “เซอร์ จอห์น บาวริงก์” เข้ามาในประเทศสยาม เพื่อทำสนธิสัญญาสัมพันธ์พระราชไมตรี
อย่างไรก็ตาม หากเราสังเกตการลงบันทึกทำเนียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ บนกำแพง ตรงบันไดทางขึ้นชั้นสองศาลากลางจังหวัด รายชื่อลำดับที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ คนแรก กลับบันทึกว่าเป็นพระยาอรรคราชนาถภักดี ทั้งนี้เพราะท่านมีนามเดิมสมัยเป็นผู้ว่าฯ ก็คือ พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เกิด) ในสกุล เนตรายน นั่นเอง
พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) เป็นผู้หนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับ ในผลงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยความที่เคยได้รับพระราชทานโอกาส อันยากนัก ที่คนธรรมดาสามัญจะได้รับ คือ การได้ทุนการศึกษา ไปเรียนที่สิงคโปร์ ที่ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปรือทางภาษา และวัฒนธรรมมากมาย ทั้งอังกฤษ จีนกลาง จีนฮกเกี้ยน จีน แต้จิ๋ว และมาลายู ทำให้ท่านมีคุณสมบัติมากพอ ที่จะต้องรับผิดชอบที่ด่านเมืองสมุทรปราการ อันเป็นเมืองที่ต้องให้การต้อนรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากประเทศสิงคโปร ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) เป็นผู้แทนในการจัดส่งช้างสำริต พระราชทานแด่ประเทศสิงคโปร เพื่อเป็นการตอบแทนแห่งราชไมตรีที่ทรงได้รับ หน้าที่ของพระยาสมุทรบุรานุรักษ์จึงไม่ใช่เป็นเพียงตำแหน่งเจ้าเมืองเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นผู้แทนทางการทูตที่ประจำ ณ ด่านเมืองสมุทรปราการอีกด้วย ภายหลังพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) จึงได้เลื่อนเป็น พระยาอรรคราชนาภักดี ในกระทรวงต่างประเทศ ธิดาท่านคนหนึ่ง คือเจ้าจอมมารดาวง ในรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นสกุล “เนตรายน”นั่นเอง