ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
มหาวิทยาลัยนเรศวรมีประวัติการก่อตั้งและพัฒนาโดยแบ่งได้เป็น 3 ยุคสมัย คือ ยุคที่ 1 วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ยุคที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก และยุคปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร<ref>[http://www.lib.nu.ac.th/his_nu/main.htm ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref><ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร">รังสรรค์ วัฒนะ. '''อนุทินของการเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร.''' กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2547.</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2497]] รัฐบาลในสมัยนั้นได้ตรา[[พระราชบัญญัติ]]วิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of Education) ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เป็นสถาบันหลักในการผลิต[[ครู]]ของประเทศ ซึ่งการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษานั้นเริ่มขึ้นที่ประสานมิตร[[กรุงเทพมหานคร]]เป็นแห่งแรกที่ซอยประสานมิตร ต่อมาจึงดำเนินการจัดตั้งเพิ่มเติมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2510]] มีที่ตั้ง ณ เลขที่ 1 ถนนสนามบิน [[ตำบลในเมือง]] [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]]
 
ต่อมา เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] เมื่อวันที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2517]] แล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับวิทยาลัยวิชาการการศึกษาอื่น ๆ อีก 8 แห่ง การจัดการเรียนการสอนในสมัยนั้นเปิดสอนเพียง 5 [[คณะ]] และ 1 [[วิทยาลัย]] คือ คณะพลศึกษา (ถูกยุบเลิกในปี [[พ.ศ. 2535]])<ref>[http://www.health.nu.ac.th/%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%E1%C5%D0%BC%C5%A7%D2%B9.pdf ประวัติและผลงานของ ผศ.วิมาลา ชโยดม คณบดีคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวรคนสุดท้าย]</ref> [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะศึกษาศาสตร์]] [[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะมนุษยศาสตร์]] [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะวิทยาศาสตร์]] [[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะสังคมศาสตร์]] และ[[บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร|บัณฑิตวิทยาลัย]]<ref>[http://www.social.nu.ac.th/SSPAGE2.htm ประวัติคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> โดยสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกยังคงใช้สถานที่เดิมของวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก
บรรทัด 33:
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ([[พ.ศ. 2520]] - [[พ.ศ. 2524]]) ที่กำหนดให้[[จังหวัดพิษณุโลก]] เป็นเมืองศูนย์กลางและเมืองหลักของภาคเหนือตอนล่าง ทางวิทยาเขตจึงขออนุญาต[[กระทรวงมหาดไทย]] ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับอนุญาตในปี [[พ.ศ. 2527]] โดยเป็นช่วงเดียวกับที่ทาง[[ทบวงมหาวิทยาลัย]]ในขณะนั้นประกาศโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของรัฐในส่วนภูมิภาคอีก 5 แห่ง โดยที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่นี้อยู่บริเวณทุ่งหนองอ้อ – ปากคลองจิก ตำบลท่าโพธิ์ [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
 
ช่วงปี [[พ.ศ. 2527]] - [[พ.ศ. 2531|2531]] ทางวิทยาเขตได้เตรียมแผนสำหรับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และในวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]] ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] รัฐบาลในสมัยของนายกรัฐมนตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] ได้มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ว่า '''"มหาวิทยาลัยนเรศวร"''' ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้วันที่ [[29 กรกฎาคม]] ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย<ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
 
ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive University)<ref name="เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร">[http://www.nu.ac.th/ab-goal.htm เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> ซึ่งได้จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2538]] ทางมหาวิทยาลัยได้มีมติจัดตั้งวิทยาเขตที่[[จังหวัดพะเยา]]<ref>[http://www.pyo.nu.ac.th/history.htm ประวัติมหาวิทยาลัยพะเยา]</ref> ซึ่งโดยปัจจุบันได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยพะเยา]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/044/4.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553]</ref> และมีการต่อมาได้จัดตั้ง[[โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]] ในปี [[พ.ศ. 2548]]<ref>[http://www.satit.nu.ac.th/satitprawad.html ประวัติโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[เทคโนโลยี]] และภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมให้กับนักเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง
 
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==