ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอุทยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:6_11.jpg|thumb|240px|right|ถนนอุทยาน]]
'''ถนนอุทยาน''' ({{lang-en|Thanon Utthayan}}) (เดิมชื่อ '''ถนนอักษะ''') เป็นถนนเชื่อมระหว่าง[[ถนนพุทธมณฑลสาย 3]] ใน[[เขตทวีวัฒนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] ถึง[[ถนนพุทธมณฑลสาย 4]] ใน[[อำเภอพุทธมณฑล]] [[จังหวัดนครปฐม]] มีระยะทาง 4 [[กิโลเมตร]] พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวย[[ที่สุดในประเทศไทย]]
 
ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไป[[พุทธมณฑล]]ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน [[พ.ศ. 2498]] สมัยที่[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] [[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 ของไทย|เป็นนายกรัฐมนตรี]]เพื่อเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ([[พ.ศ. 2500]]) โดยเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินของราษฎรเพื่อสร้างถนนตั้งแต่ [[พ.ศ. 2494]] แต่การก่อสร้างพุทธมณฑลและถนนอักษะได้หยุดชะงักไปเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูก[[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ก่อ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|รัฐประหารยึดอำนาจใน พ.ศ. 2500]] ต่อมาในสมัยพลเอก[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ได้เริ่มรื้อฟื้นโครการพุทธมณฑลขึ้นเนื่องจากใกล้การเฉลิมฉลองโอกาสที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีใน [[พ.ศ. 2525]] และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่พลเอก[[เปรม ติณสูลานนท์]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนถนนอักษะได้รับอนุมัติให้ลงมือก่อสร้างในสมัยที่นาย[[บรรหาร ศิลปอาชา]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
โครงการก่อสร้างถนนอักษะเป็นโครงการหนึ่งที่กรุงเทพมหานครดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ใน[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙|การฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539]] เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสง่างามแก่พุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทาง[[พระพุทธศาสนา]] เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และอำนวยความสะดวกในพระราชพิธีที่พุทธมณฑล ถนนสายนี้ยาว 3,861 [[เมตร]] ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,068,987,571 [[บาท (สกุลเงิน)|บาท]] และเสร็จสมบูรณ์เปิดให้ประชาชนใช้ได้ในวันที่ [[27 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2542]]
 
สำหรับชื่อถนนอักษะซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า Axis แปลว่า แกนกลาง นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกหมายถึงประเทศฝ่ายอักษะ คือ [[เยอรมนี]] [[อิตาลี]] และ[[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] ซึ่งทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร คือ [[สหรัฐอเมริกา]] [[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] ใน[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] และรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว กรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับ[[กรมศิลปากร]]ในเรื่องชื่อถนนอักษะ ซึ่งกรมศิลปากรได้แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ถนนอักษะ ซึ่งแปลว่าแกนกลาง เนื่องจากเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต่อมากรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรเพื่อขอพระราชทานชื่อถนนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนอุทยาน" ซึ่งเป็นชื่อที่สัมพันธ์กับพุทธมณฑล
 
ในปัจจุบัน ใน[[เทศกาลสงกรานต์]] ถนนอุทยานนิยมใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสงกรานต์และเล่นสาดน้ำ เช่นเดียวกับ [[ถนนข้าวสาร]]ใน[[เขตพระนคร]]<ref>[http://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=2726 ย้อนอดีต ‘เทศกาลสงกรานต์’ รดน้ำอวยพร..ไม่ใช่สาดน้ำอย่างบ้าคลั่ง ]</ref>
 
==สถานที่ใกล้เคียง==
*[[พุทธมณฑล]]
*[[ถนนบรมราชชนนี]]
*[[ตลาดธนบุรี]]
*[[สวนทวีวนารมย์]]
 
==อ้างอิง==
*[http://bangkok-guide.z-xxl.com/?p=7320 ถนนอุทยานหรือถนนอักษะ]
*{{ต้องการรายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร|อุทยาน]]
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตทวีวัฒนา|อุทยาน]]
เส้น 13 ⟶ 24:
[[หมวดหมู่:พุทธมณฑล|ถนนอุทยาน]]
[[หมวดหมู่:ที่สุดในประเทศไทย|ถนนอุทยาน]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2539]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1996]]