ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: es:Invasión normanda de Inglaterra; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
 
== ที่มา ==
[[นอร์มังดี]]เป็นบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของ[[ประเทศฝรั่งเศส]]ปัจจุบัน ก่อนปี ค.ศ. 1066 [[ไวกิง]]เป็นจำนวนมากเดินทางมาตั้งถิ่นฐานในนอร์มังดี ในปี ค.ศ. 911 [[Charles the Simple|สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ซิมเปิล]] (Charles the Simple) แห่ง[[ราชวงศ์คาโรลิงเกียน]]ทรงอนุญาตให้ชาวไวกิงกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ[[Rollo of Normandy|โรลโลแห่งนอร์มังดี]] (Rollo of Normandy) ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของฝรั่งเศส โดยทรงหวังว่าไวกิงจะช่วยป้องกันดินแดนทางริมฝั่งทะเลจากการรุกรานของชาวไวกิงกลุ่มอื่นในอนาคตซึ่งก็ได้ผล ชาวไวกิงที่มาตั้งถิ่นฐานรู้จักกันว่า “Northmen” (ชาวเหนือ) ซึ่งมาเพี้ยนเป็น “Normandy” (นอร์มังดี) ต่อมา นอกจากนั้นชาวไวกิงก็ยอมรับ[[วัฒนธรรม]]ท้องถิ่นและละทิ้งความเชื่อ[[ลัทธินอกศาสนาเพกัน]] (paganism) และเปลื่ยนมานับถือ[[คริสต์ศาสนา]] และเริ่มใช้[[:en:langue d'oïl|langueภาษาเอยล์]] (Langues d'oïl]]) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มแกลโล-โรมานซ์ที่พูดกันในท้องถิ่นแทนภาษานอร์สซึ่งกลายมาเป็น[[ภาษานอร์มัน]] การยอมรับวัฒนธรรมรวมไปถึงการแต่งงานกับชนท้องถิ่น และยังใช้ดินแดน (Duchy) [[อาณาจักรดยุค]]ที่ได้รับมาเป็นฐานในการขยายเขตแดนไปทางตะวันตกผนวกดินแดนที่รวมทั้งเบส์แซง และแหลมโคเต็งแตง และหมู่เกาะแชนเนล (ปัจจุบันเป็นของอังกฤษ)
 
ในระยะเวลาเดียวกันในอังกฤษ การโจมตีของไวกิงเริ่มขึ้นอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 และในปี [[ค.ศ. 991]] [[สมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอเธลเรดที่ 2]]ทรงตกลงแต่งงานที่จะเสกสมรสกับ[[พระราชินีเอ็มมาแห่งนอร์มังดี|เอ็มมาแห่งนอร์มังดี]]ธิดาของ[[ดยุคแห่งนอร์มังดีนอร์มังดี]]ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ในการช่วยยุติการโจมตีของไวกิง เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ]]เสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1066]] โดยไม่มีรัชทายาทจึงทำให้เกิดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากหลายฝ่าย ในจำนวนผู้อ้างสิทธิก็มีที่สำคัญๆ อยู่สามคน
 
::* ฝ่ายหนึ่งคือ[[พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์]] หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “Harald Hardraada” แฮโรลด์อ้างว่าเป็นผลจากการตกลงระหว่าง[[พระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์]]และ[[สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท]]ที่ว่าถ้าคนใดคนหนึ่งตายก่อนโดยไม่มีรัชทายาท อีกผู้หนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือผู้สืบเชื้อสายจากผู้นั้นก็จะได้รับราชบัลลังก์ของทั้งสองอาณาจักร