ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
== ขอบกระดูก ==
'''ขอบด้านฝ่ามือ''' (volar border) หรือ '''ขอบด้านหน้า''' (anterior border) '' ({{lang-la|''margo volaris''}}) '' เริ่มจากส่วนล่างของ[[ปุ่มนูนเรเดียส]]ไปจนถึงส่วนหน้าของฐานของสไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งอยู่ทางปลายกระดูก แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) และพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ส่วนด้านบนหนึ่งในสาม (upper third) มีลักษณะยื่นออกมาเป็นแนวเฉียง จึงเรียกว่า ''แนวเฉียงของกระดูกเรเดียส'' (oblique line of the radius) ซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อปลายแขนสองมัด คือ [[กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส]] (Flexor digitalis superficialis) และ[[กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส]] (Flexor pollicis longus) ส่วนที่อยู่เหนือแนวเฉียงนี้เป็นจุดเกาะปลายของส่วนของ[[กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์]] (supinator muscle) ตรงกลางหนึ่งในสาม (middle third) ของของด้านนี้มีลักษณะกลมและขอบไม่ชัดเจน ส่วนล่างหนึ่งในสี่ (lower fourth) เป็นส่วนยื่นเป็นจุดเกาะปลายของ[[กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส]] (Pronator quadratus muscle) และจุดเกาะของเอ็นดอร์ซัลคาร์ปัล (dorsal carpal ligament) และส่วนปลายของขอบด้านนี้เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็น[[กล้ามเนื้อบราคิโอเรเดียลิส]] (Brachioradialis muscle)
 
'''ขอบด้านหลัง''' (dorsal border หรือ posterior border) '' ({{lang-la|''margo dorsalis''}}) '' เริ่มจากด้านหลังของคอกระดูกเรเดียส ไปจนถึงส่วนหลังของฐานของสไตลอยด์ โพรเซส ขอบนี้แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านหลัง (posterior surface) และพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ด้านบนและด้านล่างของขอบนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่ส่วนตรงกลางหนึ่งในสามนั้นชัดเจน
 
'''สัน หรือขอบด้านเยื่อระหว่างกระดูก''' (interosseuous border or crest) '' ({{lang-la|''crista interossea''}}) '' เริ่มจากด้านบนจากทางด้านหลังของปุ่มนูนเรเดียส ซึ่งขอบมีลักษณะกลมและไม่ชัดเจน แล้วไล่ลงมาทางด้านปลายกระดูกโดยขอบแหลมขึ้นเรื่อยๆ ตามแนวที่ลงมา จนถึงส่วนล่างซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สันไปเป็นขอบด้านหน้า (anterior margin) และขอบด้านหลัง (posterior margin) ของรอยเว้าอัลนา (ulnar notch) ด้านหลังของสันทั้งสองมีส่วนล่างของ[[เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน]] (interosseous membrane) มายึดเกาะพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมระหว่างสันทั้งสองเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของ[[กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส]] (pronator quadratus muscle) สันนี้แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) และพื้นผิวด้านหลัง (dorsal surface) และเป็นจุดเกาะของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก เกิดเป็นการเชื่อมต่อของกระดูกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าข้อต่อแบบซินเดสโมเซส (syndesmoses joint) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด
 
== พื้นผิว ==
'''พื้นผิวด้านฝ่ามือ''' (volar surface) หรือ '''พื้นผิวด้านหน้า''' (anterior surface) '' ({{lang-la|''facies volaris''}}) '' ส่วนด้านบนสามในสี่มีลักษณะเว้า เป็นจุดเกาะต้นของ[[กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส]] (flexor pollicis longus muscle) ส่วนถัดมาด้านล่างมีลักษณะกว้างและแบน ให้จุดเกาะปลายของ[[กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส]] (Pronator quadratus) สันยื่นออกมาจำกัดจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสให้อยู่ด้านล่าง และระหว่างสันนี้และขอบล่างของกระดูกเป็นพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะของ[[เอ็นเรดิโอคาร์ปัลด้านฝ่ามือ]] (volar radiocarpal ligament) ที่บริเวณรอยต่อระหว่างด้านบนหนึ่งในสามและตรงกลางหนึ่งในสามของพื้นผิวด้านฝ่ามือมีช่องสารอาหาร (nutrient foramen) ซึ่งมีทิศเฉียงขึ้น
 
'''พื้นผิวด้านหลัง''' (dorsal surface หรือ posterior surface) '' ({{lang-la|''facies dorsalis''}}) '' ส่วนบนหนึ่งในสามมีลักษณะนูนและเรียบ คลุมด้วยกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) ส่วนกลางมีลักษณะกว้าง เว้าเล็กน้อย ด้านบนมีจุดเกาะต้นของ[[กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส]] (Abductor pollicis longus) และด้านล่างมีจุดเกาะปลายของ[[กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส]] (Extensor pollicis brevis muscle) และส่วนล่างหนึ่งมนสามมัลักษณะกว้าง นูน และคลุมด้วยเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งวิ่งลงมาตามลำดับในร่องบนปลายล่างของกระดูก
 
'''พื้นผิวด้านข้าง''' (lateral surface) หรือ '''พื้นผิวด้านนอก''' (external surface) '' ({{lang-la|''facies lateralis''}}) '' มีลักษณะโค้งนูนตลอดพื้นผิว ส่วนบนประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวกระดูกด้านนี้จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ ขณะที่ส่วนกลางจะมีแนวสันขรุขระที่เป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส ส่วนล่างมีลักษณะแคบ และคลุมด้วยเอ็นของ[[กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส]] (abductor pollicis longus) และ[[กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส]] (extensor pollicis brevis)
 
{{กระดูกของรยางค์บน}}