ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสิทธิ์ พยอมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thapana1 (คุย | ส่วนร่วม)
Thapana1 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 60:
ประสิทธิ์ พยอมยงค์เริ่มทำงานประจำในช่วงนี้ ควบคู่ไปกับการเล่นดนตรี โดยทำงานที่บริษัทแผ่นเสียง ย่าน[[วังบูรพา]] โดยได้เป็นผู้ดูแลการสั่งเข้าแผ่นเสียง และควบคุมห้องบันทึกเสียงด้วย เช่น บริษัท อัศวินการละคร และแผ่นเสียง, บริษัท ดีคูเปอร์ แอนด์ยอห์นสัน และ บริษัท แบล๊คแอนด์ไว้ท์ ซึ่งการทำงานในวงการแผ่นเสียงนี้เอง ทำให้โลกดนตรีของประสิทธิ์กว้างขึ้นกว่าเดิม และได้รู้จักกับคนในวงการดนตรีมากขึ้น
 
ใน [[พ.ศ.2496]] [[พ.ต.อ.พุฒ บูรณสมภพ]]ได้ตั้งวงดนตรีประสานมิตรขึ้น ประสิทธิ์ พยอมยงค์ได้เข้าไปเป็นนักดนตรีอยู่ในวงนั้น พร้อมกับพรรคพวกเดิม และใหม่หลายคน เช่น [[สมาน กาญจนะผลิน]] [[สง่า ทองธัช]] [[ม.ร.ว.พรพุฒิ วรวุฒิ]] [[มาโนช ศรีวิภา]] [[เล็ก ชะอุ่มงาม]] และ [[ชาลี อินทรวิจิตร]] แต่วงดนตรีประสานมิตรอยู่ได้ไม่นานก็สลายตัวไป เนื่องด้วยเหตุผลทางการเมือง ประสิทธิ์ พยอมยงค์และ [[จำนรรจ์ กุณฑลจินดา]] จึงฟื้นวงดนตรีใหม่ เปลี่ยนชื่อลิงก์เป็นวงดนตรีกรรณเกษม ได้ [[สมาน กาญจนะผลิน]] และ [[ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์]]มาร่วมวง
 
ประสิทธิ์ พยอมยงค์เคยเดินทางไปร่วมแสดงเพื่อกระชับสัมพันธ์กับ[[จีนแดง]] โดยร่วมคณะกับ[[สุวัฒน์ วรดิลก]] และ [[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]] ใน พ.ศ.2500 เมื่อกลับมาแล้วต้องต่อสู้คดีคอมมิวนิสต์พักหนึ่ง ใน พ.ศ.2502 จึงได้เข้ารับราชการที่[[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] ร่วมกับ [[ครูเอื้อ สุนทรสนาน]]แต่อยู่ได้เพียง 3 ปี ประสิทธิ์ก็ลาออกไปอยู่วงดนตรีเทศบาลกรุงเทพกับ[[สุทิน เทศารักษ์]] จนกระทั่ง พ.ศ.2512 จึงได้ลาออก และไปเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานกับ[[แมนรัตน์ ศรีกรานนท์]] รุ่นเดียวกับ [[นริศร ทรัพยะประภา]] และ [[ชัยยุทธ เวชสวรรค์]] พร้อมกับเข้าสอนที่นั่น จึงยุติการเล่นดนตรีตามไนต์คลับ และสอนมาจนกระทั่งอายุมากจึงเลิกสอนไป
 
 
== การเรียบเรียงเสียงประสาน ==
 
 
 
{{ศิลปินแห่งชาติ/ศิลปะการแสดง}}