ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สติปัฏฐาน 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 6:
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
 
# '''กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น [[รูปธรรม]]หนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา.
 
# '''เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็น[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา.
 
# '''จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้[[เจตสิก]]หรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็น[[นามธรรม]]อย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา.
 
# '''ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน''' - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้ง[[รูปธรรม]]และ[[นามธรรม]]ล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา.
 
 
== กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ==
 
การพิจารณารูปขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุภ[[วิปลาส]] (สำคัญความไม่งามว่างาม) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหา[[จริต]]ทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก คือมีปัสสัทธิสัม[[โพชฌงค์]] สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ '''เหนือกว่า''' ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ซึ่งต้องเพิ่มการพิจารณาให้สมดุลกับสมาธิที่มีมากกว่า
 
== เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ==
 
การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นวิปัสสนายานิก คือมธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ '''เหนือกว่า'''ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ซึ่งต้องเพิ่มสมาธิให้สมดุลกับปัญญาที่มีมากกว่า
== จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ==
 
การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นสมถยานิก คือมีวิริยะ[[พละ]] สมาธิพละ '''เหนือกว่า'''ศรัทธาพละ ปัญญาพละ ด้วยการเพิ่มกำลังวิริยะพละ สมาธิพละ ให้สมบูรณ์
 
== ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ==
 
การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก คือมีศรัทธาพละ ปัญญาพละ'''เหนือกว่า'''วิริยะพละ สมาธิพละ ด้วยการเพิ่มกำลังศรัทธาพละ ปัญญาพละให้สมบูรณ์
 
โดยที่[[อานาปานสติ]]เหมาะสมกับทุกจริตทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสมถะยานิก และวิปัสสนายานิก
บรรทัด 40:
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[สติปัฏฐานสูตร]]
 
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด ๔]]