ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศมณฑลของอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ru:Графства Англии
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
bot edit
บรรทัด 22:
เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19 ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบรัฐบาลบริหารส่วนท้องถิ่นของมณฑลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแต่งตั้ง[[พระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่น (เขตการปกครอง) ค.ศ. 1887|คณะกรรมาธิการเขตการปกครอง]] (Local Government (Boundaries) Act) ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 เพื่อสำรวจเขตการปกครองของมณฑลในอังกฤษและ[[เวลส์]]ทั้งหมด คณะกรรมาธิการยื่นร่างพระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่นต่อ[[รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร|รัฐสภา]]ในปีต่อมา
 
ผลของร่างพระราชบัญญัติก็ออกมาเป็น[[พระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ค.ศ. 1888]] (Local Government Act 1888) ที่ก่อตั้งระบบ[[เทศบาลมณฑล]] (County council) ผู้มาจากการเลือกตั้งในอังกฤษในปี ค.ศ. 1889 ที่มาแทนหน้าที่หลายหน้าที่ของ[[ระบบศาลปกครองสี่สมัย]] (Quarter Sessions) และหน้าที่อื่นที่ได้รับในปีต่อๆ มา [[นครลอนดอน]]ก่อตั้งจากบางส่วนของมณฑล[[เค้นท์]], [[มิดเดิลเซ็กซ์]] [[เซอร์รีย์]]<ref>Thomson, D., ''England in the Nineteenth Century'' (1815-1914) (1978)</ref> มณฑลแบ่งเป็นสองประเภท: [[มณฑลบริหารของสหราชอาณาจักร|มณฑลบริหาร]] (Administrative county) (บริเวณที่บริหารโดยเทศบาลมณฑล) และหน่วยงานบริหารอิสระ[[เทศบาลมณฑล]] (County council)<ref>Bryne, T., ''Local Government in Britain'', (1994)</ref> ตามทฤษฎี “เทศบาลมณฑล” ของมณฑลเป็นระบบการบริหารที่เป็นหน่วยงานบริหารหน่วยเดียวเมื่อเทียบกับ “มณฑลบริหาร” ของมณฑลอื่นๆ ที่แบ่งเป็นหน่วยงานบริหารเป็นหลายหน่วย มณฑลที่เป็นระบบ “เทศบาลมณฑล” ก็ได้แก่[[เคมบริดจ์เชอร์]], [[แฮมพ์เชอร์]], [[ลิงคอล์นเชอร์]], [[นอร์ทแธมตันเชอร์แธมป์ตันเชอร์]], [[ซัฟโฟล์ค]], [[ซัสเซ็กซ์]] และ[[ยอร์คเชอร์]]
 
“มณฑล” ใช้ในความหมายอื่นนอกไปจากการใช้สำหรับรัฐบาลส่วนท้องถิ่นด้วย เช่นระบบการแต่งตั้ง[[ลอร์ดเล็ฟเทนแนนท์]]ที่เปลี่ยนไปที่อาจจะหมายถึงระบบมณฑลบริหารหน่วยเดียวหรือระบบเทศบาลมณฑลที่เป็น “ภาคี” กัน โดยมีข้อยกเว้นของ[[นครหลวงลอนดอน]]ซึ่งเป็น “[[มณฑลอิสระ]]” (County corporate) ที่มี[[ผู้บริหารมณฑลแทนพระองค์]]ของตนเอง ตามกฎหมายหลังปี ค.ศ. 1888 ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “มณฑล” ก็หมายถึงเขตการบริหารที่กล่าวนี้ แต่ความหมายอย่างไม่เป็นทางการใช้คำว่า “มณฑลทางภูมิศาสตร์” สำหรับเพื่อแสดงความแตกต่างจาก “มณฑลบริหาร” มณฑลเหล่านี้ปรากฏในแผนที่ของ[[กรมแผนที่]] (Ordnance Survey) ในเวลานั้นโดยใช้ทั้งสองชื่อและมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “[[มณฑลภูมิศาสตร์ของอังกฤษ|มณฑลผู้บริหารแทนพระองค์]]”