ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: la:Lingua Palica
Muanglanna (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 72:
จะเห็นได้ว่าเสียงพูดในภาษากับตัวอักษร (alphabet) ในระบบการเขียน (script) เป็นคนละเรื่องกันแต่เกี่ยวข้องกัน ในระบบการเขียนส่วนใหญ่เราใช้อักษรแทนเสียงพูด
 
การที่บาลีไม่มีระบบการเขียนของตนเอง การเผยแผ่พระไตรปิฎกบาลีจะใช้อักษรในระบบการเขียนของภาษาต่าง ๆ บันทึกเนื้อหาสาระหรือข้อความที่เป็นบาลี รวมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีด้วย เราจึงมีพระพุทธพจน์หรือคำทรงสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี ซึ่งบันทึกด้วยอักษรในระบบการเขียนของภาษาต่าง ๆ เช่น อักษรธรรมล้านนาในภาษาล้านนา อักษรไทยในภาษาไทย อักษรมอญในภาษาพม่า อักษรลาวในภาษาลาว อักษรเขมรในภาษาเขมร ด้วยเหตุนี้เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในยุโรปก็ได้ใช้อักษรโรมันบันทึกบาลีด้วย
 
อักษรโรมันมีความเป็นสากล เพราะเป็นอักษรที่ชาวโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้จากเมื่อมีการพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้เทียบอักษรสยามกับอักษรโรมัน ด้วย เพราะในสมัยนั้นได้มีการเขียนบาลีเป็นอักษรโรมันแล้ว
 
== บาลีกับสัทอักษรสากล ==