ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณกรรมเยาวชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkicebot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: simple:Young-adult fiction
บรรทัด 5:
 
การจัดกลุ่มผู้อ่านวรรณกรรมยุคใหม่เริ่มเห็นความสำคัญของกลุ่มเยาวชน ในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ซึ่งบรรดา[[สำนักพิมพ์]]และ[[นักเขียน]]เริ่มผลิตงานเพื่อกลุ่มผู้อ่านกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันก็มีการแบ่งแยกวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่ และสำหรับเด็ก ชัดเจนขึ้น
 
 
''วรรณกรรมดั่งเดิมสำคัญ''
ในเรื่องของวรรณกรรมสำหรับเด็กนี้ ควรจะต้องพิจารณาถึงลักษณะวรรณกรรมดั่งเดิม ซึ่งเป็นที่มาแห่งวรรณกรรมทั้งหลายก่อนอื่น ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าจะศึกษาได้จากวรรณกรรมเหล่านี้
1.บทกล่อมเด็ก บทปลอบเด็ก และบทเด็กเล่น
เด็กได้เคยได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่วัยทารถโดยไม่รู้ความหมาย แต่ท่วงจังหวะทำนองทำให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน เป็นลักษณะร้อยกรองง่ายๆที่ว่ากันจนคล่องปาก และถือกันว่าเป็นประเพณีอันดีงามด้านการให้ความอบอุ่นแกเด็ก และผลพลอยได้ก็คือ ได้รับความรัก เกิดความนิยมในร้อยกรองโดยไม่รู้ตัว เช่น บทกล่อมเด็ก บทกล่อมเด็กแต่ละท้องที่คงไม่เหมือนกัน แต่ใจความแสดงให้เห็นถึงความรัก ความอบอุ่น ที่ได้จากผู้ใหญ่ คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นอย่างมาก
ตัวอย่าง บทปลอบเด็ก ปลอบขวัญและบทเล่นของเด็ก ของภาคกลาง
บทกล่อมเด็ก
ขุนทะเลละลอก
ขุนทะเลละลอกเอย คลื่นขัดมเหมือนดังจอก
ละลอกชัดมาเหมือนยังกับแหน เจ้าพลัดพ่อพลัดแม่
เลี้ยงเจ้าไว้หมายเอาบุญ อยู่ไปภายหลังกล้าแข็ง
เจ้ามีเรี่ยวมีแรง เจ้าจงแทนคุณ
เลี้ยงเจ้าไว้หมายเอาบุญ ขุนทะเลละลอกเอย
(น.ส.โรจนา วงษ์จันทร์ดี นิสิตเอกประถมศึกษา ปี 4/2520 มศว.พิษณุโลก)
 
บทเรียกขวัญเด็ก
ขวัญเอย ขวัญมา ขวัญมาอยู่กับตัว ขวัญหัวมาอยู่กับหัว ขวัญตามมาอยู่กับตา ขวัญตีนมาอยู่กับตีน ขวัญมือมาอยู่กับมือ ผูกข้างซ้ายขวัญมา ผูกข้างขวาขวัญอยู่ มาอยู่กับพ่อกับแม่จนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง ถือกระบองยอดเพชร มาอยู่เรือนเหมือนก้อนเล้า มาเฝ้าเรือเหมือนเตาไฟ ให้เลี้ยวเป็นเข็นง่ายให้อ้วนเหมือนพัก หนักเหมือนแฟง เติบใหญ่ให้เป็นเจ้าคนนายคน ถึงจะบวชก็ให้เป็นสมภารเจ้าวัด ให้เป็นเศรษฐีหาเศรษฐี มีคนใช้ทั้งหญิงชายพร้อมหน้า ให้เงินทองไหลมาเทมา ขวัญเจ้าเอยมามาอยู่กับเนื้อกับตัว
 
2.นิทานชาวบ้าน
ศาสตราจารย์ กุหลาบ มัลลิกะมาส ได้กล่าวถึงลักษณะนิทานชาวบ้านไว้ในหนังสือ “คติชาวบ้าน” น่าสนใจนิทานชาวบ้านเป็นเรื่องเล่าถ่ายทอดกันมาช้านาน ต่อมาได้มีการเขียนตามเรื่องราวที่เล่ากัน ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะนิทานชาวบ้านได้หลายประเภท คือ
2.1นิทานปรัมปรา (fairly tales) เป็นนิทานเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ที่แฝงคุณธรรม บางเรื่องก็ยืดยาว สลับซับซ้อนมก มักไม่มีแหล่งที่มา เช่นเรื่อง นางสิบสอง เจ้าหญิงนิทรา ปลาบู่ทอง ฯลฯ
2.2 นิทานประจำถิ่น เป็นเรื่องเล่าที่แฝงความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของสัตว์ ธรรมชาติ และประวัติวีรบุรุษ เช่น
- นิทานที่เล่าถึงที่มาของดาวลูกไก่ ทำไมกระต่ายจึงห่างสั้น
- นิทานเกี่ยวกับวีรบุรุษ เช่น ท้าวแสนปม ขอมดำดิน(พระร่วง)
- นิทานที่เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งประปราดมหัศจรรย์ เหลือเชื่อ เช่น เรื่องผีสางนางไม้ เจ้าพ่อเจ้าแม่ ฯลฯ
- นิทานเกี่ยวกับเรื่องสมบัติโบราณ ลายแทง เช่น ปู่โสมทรัพย์
2.3 เทพนิยาย (myth) นิทานที่เกี่ยวกับเทพเจ้า นางฟ้า ผู้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองโลก เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ พระราหู เป็นต้น
2.4 นิทานที่ชวนให้เพ้อฝัน (fantastic story) สัตว์ ต้นไม้ หรือสภาพแวดล้อมทั้งหลายพูดได้ เช่น เรื่องนิทานอีสปทั้งหมด แต่ถ้าเป็นนิทานที่มีคติสอใจ เรามักเรียกว่า fable
2.5 นิทานชวนขัน (jest) นิทานที่ดูแล้วไม่ค่อยจะเป็นเรื่องเป็นราว ไม่น่าเป็นไม่ได้ แต่งเป็นไปได้ เช่น ตาบอดกับหูหนวก หัวล้านนอกครู ชายขี้ลืม เป็นต้น
วรรณกรรมทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมา เรากันมาแต่โบราณ ซึ่งคิดว่าก็สามารถสนองความต้องการในด้านพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี สำหรับความคิดเห็นของข้าพเจ้า ยังมีความเห็นว่า นิทานพื้นบ้าน ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์อย่างมากอีกด้วย เช่น ตำนานเขาวงพระจันทร์ ตำนานพระพุทธชินราช และอื่นๆ และหนังสืออีกประเภทหนึ่งที่ลักษณะคล้ายคลึงตำนาน แต่ว่าแต่งขึ้นประกอบตำนาน เช่นไกรทอง พญากงพญาพาน เป็นต้น
 
==รางวัลด้านวรรณกรรมเยาวชน==