ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพิมาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Modern.phimai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
<br>}}
'''พิมาย''' เป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดนครราชสีมา]]แต่เดิมเป็นเมืองพิมาย มีอาณาเขตที่กว้างขวาง โดยมี อ.ห้วยแถลง อ.ชุมพวง อ.ลำทะเมนชัยและอ.เมืองยาง ซึ่งแยกจากอ.ชุมพวง และต.ธารปราสาท อ.โนนสูง ซึ่งแยกออกจากอ.พิมาย
 
'''สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ'''
เทศบาลตำบลพิมาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานชั่วคราว เลขที่ 316 หมู่ที่ 14 ถนนหฤทัยรมย์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางอำเภอพิมายห่างจากที่ว่าการอำเภอพิมายประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 60 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ ผ่านตัวจังหวัดนครราชสีมาไปยังอำเภอพิมาย โดยเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข2 ถึงบริเวณแยกตลาดแค อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา แยกเข้าถนนตลาดแค - พิมาย โดยเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206 ประมาณ 10 กิโลเมตร เดินทางโดยรถประจำทางปรับอากาศและรถประจำทางใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
 
 
==ที่ตั้งและอาณาเขต==
เส้น 56 ⟶ 60:
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลธารละหลอด''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารละหลอดทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองระเวียงทั้งตำบล
 
===เขตการปกครอง===
เทศบาลตำบลพิมาย มีพื้นที่ 2.156 ตารางกิโลเมตร (ที่มา : ระบบสาระสนเทศ GIS ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา) ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1.2.3.14.16.17 ตำบลในเมือง อำเภอพิมย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเดิมมีการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของสุขาภิบาล และได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลพิมาย เป็นเทศบาลตำบลพิมาย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
 
'''ภูมิประเทศ'''
เทศบาลตำบลพิมาย มีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ เป็นเกาะ มีแม่น้ำมูล ลำจักราชลำน้ำเค็มล้อมรอบมีสระโบราณ 5 สระ (สระโบสถ์,สระเพลง,สระพลุ่ง,สระขวัญ,สระแก้ว) และคูเมืองโบราณที่ยังคงเหลืออยู่บางจุด
มีโบราณสถานที่สำคัญ และแหล่งท่องเที่ยว คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เมรุพรหมทัต ประตูเมืองโบราณ 4 ทิศและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณรอบเขตเทศบาล เช่น ไทรงาม กุฎิฤาษี ท่านางสระผม และสนามแข่งเรือยาวพิมาย
 
===ภูมิอากาศ===
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
ฤดู้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - กันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดอน ตุลาคม - มกราคม
 
===การคมนาคม===
สภาพการจราจรในเขตเทศบาล มีสภาพคล่องตัวพอสมควร แต่จะมีปัญหาในด้านถนนสายหลัก ที่เป็นบริเวณใกล้กับโบราณสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่สำหรับรถยนต์ / จักรยานยนต์ โดยเฉพาะรถโดยสารขนาดใหญ่ และรถของนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอต่อผู้ใช้ถนนจึงทำให้รถต้องจอดบริเวณริมถนน ซึ่งก่อให้เกิดการกีดขวางการจราจรในช่วงเวลากลางวัน และไม่สามารถขยายถนนบริเวณดังกล่าวได้อีกเนื่องจากติดกับเขตที่ดินของประชาชน
===ประชากร===
จำนวนประชากร(ข้อมูลจปฐ.2) ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
จำนวนทั้งสิ้น 5,461 คน แยกเป็นชาย 2,518 คน หญิง 2,943 คน
===ภาษา===
ส่วนมากใช้ภาษา อีสานปนกลาง และยังมีภาษาพิมายที่เป็นภาษาเฉพาะท้องถิ่น
===ศาสนา===
ผู้นับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 5 วัด
#วัดเดิม
#วัดใหม่ประตูชัย
#วัดเก่าประตูชัย
#วัดบูรพาพิมล
#วัดสระเพลง
===เศรษฐกิจ===
ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน, การเกษตร
 
===อาชีพ===
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย รับจ้าง โดยอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาลและมีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เป็นอาชีพพื้นบ้านที่สำคัญ เช่น การทำเส้นหี่พิมาย กระยาสารท และผลิตภัณฑ์จากหวาย ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น รายได้เฉลี่ย 69,836.50 บาท/คน/ปี การประกอบอาชีพเป็นไปตามสภาพของครัวเรือน ยังไม่มีการลงทุนในเชิงพาณิชย์ในด้านของการบริหาร จัดการ (ที่มา : ข้อมูลจาก จปฐ ปี 2552 ณ วันที่ 25 มีนาคม 2552)
===การเกษตรกรรม===
เนื่องจากพื้นที่ในเขตเทศบาล มีพื้นที่น้อย และไม่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของครัวเรือน
การพาณิชย์กรรม และการบริการ
สถานประกอบการด้านพาณิชกรรม
คลาดไนท์บาซ่า 1 แห่ง
ตลาดสดเทศบาล 1 แห่ง
ซุปเปอ์มาเก็ต 4 แห่ง
ย่านการค้าริมทาง 7 สาย
สถานประกอบการเทศพาณิชย์
โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง (นอกเขตเทศบาล)
อาคารเช่า 1 แห่ง
สถานประกอบการด้านบริการ
โรงแรม 1 แห่ง
เกสท์เฮ้าส์ 5 แห่ง
ธนาคาร 5 แห่ง
 
==แหล่งท่องเที่ยว==
การท่องเที่ยว(ข้อมูลปี 2550)
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 9,260 คน / ปี
นักท่องเที่ยวชาวไทย 166,500 คน /ปี
รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 370,400 บาท /ปี
รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวไทย 1,665,000 บาท /ปี
เมืองพิมายมีลักษณะเป็นเมืองโบราณ สถานี่ท่องเที่ยวจึงเป็นลักษณะของเมืองประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอ
 
(ที่มา : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตามหนังสืออุทยาประวัติศาสตร์พิมาย ที่ วธ 0426/292 ลงวันที่ 30 เมษายน 2551)
 
 
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==