ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กำหนดนโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ส่งเสริมการศึกษาและทดลองการจัดการศึกษาแบบวิทยาลัยชุมชนเพื่อสนองความต้องการกำลังคนระดับกลางในแขนงวิชาที่ประเทศมีความต้องการมาก ตลอดจนปัญหาในระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเป็นไปเพื่อคนส่วนน้อยไม่เกิดความเป็นธรรมในสังคม ปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้เตรียมการปฏิรูปการศึกษา
 
ปี พ.ศ. 2520 จัดตั้ง[[วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต]]ขึ้นเป็นแห่งแรก โดยให้เป็นวิทยาเขตของ[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดตั้งขึ้นอีกแห่งที่[[วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|จังหวัดสุราษฎธานีสุราษฎร์ธานี]] ในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในสังกัดวิทยาลัยครู ขึ้น 4 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนพิบูลสงคราม วิทยาลัยชุมชนอุบลราชธานี วิทยาลัยชุมชนนครราชสีมา และวิทยาลัยชุมชนนครศรีธรรมราช (แต่ในระหว่างที่เตรียมการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนนั้น มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ดังนั้น จึงไม่มีการดำเนินการวิทยาลัยชุมชนต่อ)
 
ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้น โดยให้สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ และวิทยาลัยช่างศิลป์ จำนวน 77 แห่งทั่วประเทศ เป็นวิทยาลัยชุมชน โดยขยายฐานวิชาการจากเดิมให้มีบทบาทการจัดการศึกษาและบริการชุมชนให้กว้างขวางขึ้นและให้มีคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยชุมชนขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ (ซึ่งวิทยาลัยชุมชนดังกล่าวดำเนินการได้ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้ยุติตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น)