ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟร็กทัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: scn:Studiu dei frattali; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Flocke.PNG|right|thumb|เกล็ดหิมะค็อค]]
สิ่งที่เรารู้จักกันในนามของแฟร็กทัลนั้น ได้ถูกค้นพบมานานก่อนที่คำว่า "แฟร็กทัล" จะถูกบัญญัติขึ้นมาใช้เรียกสิ่งเหล่านี้ ในปี [[ค.ศ. 1872]] [[คาร์ล ไวแยร์สตราสส์เออร์ชตรัสส์]] (Karl Weierstrass) ได้ยกตัวอย่างของ[[ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)|ฟังก์ชัน]] ที่มีคุณสมบัติ "everywhere continuous but nowhere differentiable" คือ มีความต่อเนื่องที่ทุกจุด แต่ไม่สามารถหาค่า[[อนุพันธ์]]ได้ ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1904]] [[เฮลเก ฟอน ค็อค]] (Helge von Koch) ได้ยกตัวอย่างทางเรขาคณิต ซึ่งได้รับการเรียกขานในปัจจุบันนี้ว่า "[[เกล็ดหิมะค็อค]]" (Koch snowflake) ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1938]] [[พอล ปีแอร์ ลาวี]] (Paul Pierre Lévy) ได้ทำการศึกษา รูปร่างของ กราฟ (curve และ surface) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ส่วนประกอบย่อย มีความเสมือนกับโครงสร้างโดยรวมของมัน คือ "Lévy C curve" และ "Lévy dragon curve"
 
[[เกออร์ก คันทอร์]] (Georg Cantor) ก็ได้ยกตัวอย่างของ เซตย่อยของจำนวนจริง ซึ่งมีคุณสมบัติแฟร็กทัลนี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ [[เซตคันทอร์]] หรือ [[ฝุ่นคันทอร์]] จากการศึกษาเซตคันทอร์นี้ นักคณิตศาสตร์ เช่น Constantin Carathéodory และ Felix Hausdorff ได้ขยายความแนวคิดเรื่อง มิติ (dimension) จากเดิมที่เป็นจำนวนเต็ม ให้ครอบคลุมถึงมิติที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม นอกจากนั้น นักคณิตศาสตร์อีกหลายคน ในช่วงปลาย[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] ถึงต้น[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] เช่น [[อองรี ปวงกาเร]], [[เฟลิกซ์ คลิน]] (Felix Klein), [[ปิแอร์ ฟาตู]] (Pierre Fatou) และ [[กาสตง จูเลีย]] (Gaston Julia) ได้ศึกษา[[ฟังก์ชันวนซ้ำ]] (Iterated function) ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับ คุณสมบัติ[[ความคล้ายตนเอง]] (self-similarity) แต่บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ได้เห็นถึงความสวยงามของภาพจาก itereated functions ที่เราได้เห็นกัน เนื่องจากการแสดงผลที่ต้องใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งพัฒนาขึ้นในภายหลัง