ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบญจศีล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
→‎การขยายความ: ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเบญจศีล ชานุสโสณีวรรค - จุนทสูตร คืออกุศลกรรมบท๑๐
บรรทัด 37:
<td>๕. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน</td><td>สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท</td></tr>
</table>
 
=== การขยายความ ===
 
ใน[[พระไตรปิฎก]] ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ชานุสโสณีวรรค จุนทสูตร<ref>วิกิซอร์ซ, ๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ : ออนไลน์.</ref> ปรากฏการสนทนาระหว่าง[[พระพุทธโคดม]]กับนาย[[จุนทกัมมารบุตร]] ครั้งนั้น พระพุทธโคดมประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ ใกล้เมืองปาวา ทรงถามนายจุนทะว่า "ดูกร จุนทะ, ท่านชอบใจความสะอาดของใครหนอ." นายจุนทะกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. พราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟลงน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดไว้. ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของพราหมณ์พวกนั้น." ทรงตอบว่า "ดูกร จุนทะ, พวกพราหมณ์...ย่อมบัญญัติความสะอาดโดยประการอื่น. ส่วนความสะอาดในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการอื่น." นายจุนทะจึงขอให้ทรงอธิบายว่าความสะอาดของพระอริยะเป็นเช่นไร ก็ทรงอธิบายว่าได้แก่การไม่ละเมิดเบญจศีล โดยทรงจัดหมวดหมู่การละเมิดเบญจศีลเป็นควารมทุจริตหรือความชั่วสามประเภท ได้แก่ กายทุจริต หรือความชั่วทางกาย ๑, วจีทุจริต หรือความชั่วทางวาจา ๑, และมโนทุจริต หรือความชั่วทางใจ ๑ ดังต่อไปนี้
 
๑. '''ความชั่วทางกาย''' ทรงว่ามีสามรูปแบบ ดังนี้
 
<blockquote>"ดูกร จุนทะ, ก็ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง, อย่างไรเล่า. ดูกร จุนทะ, บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตีไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑, เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑, เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษาสตรีมีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑. ดูกร จุนทะ, ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง, อย่างนี้แล."</blockquote>
 
๒. '''ความชั่วทางวาจา''' ทรงว่ามีสี่รูปแบบ ดังนี้
 
<blockquote>"ดูกร จุนทะ, ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง, อย่างไรเล่า. ดูกร จุนทะ, บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นกล่าวว่าไม่เห็น ดังนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้างเพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการดังนี้ ๑, เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกันหรือส่งเสริมชนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกันเพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑, เป็นผู้พูดคำหยาบ คือกล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง ทำให้ผู้อื่นข้องใจ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น ใกล้ต่อ ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑, เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐานไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ๑. ดูกร จุนทะ, ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง, อย่างนี้แล."</blockquote>
 
๓. '''ความชั่วทางใจ''' ทรงว่ามีสามรูปแบบนี้
 
<blockquote>"ดูกร จุนทะ, ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง, อย่างไรเล่า. ดูกร จุนทะ, บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑, เป็นผู้มีจิตปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑, เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑. ดูกร จุนทะ, ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง, อย่างนี้แล."</blockquote>
 
== การรักษาศีล ==