ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขันที"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ptbotgourou (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ta:அலி
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hr:Eunuh; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
บรรทัด 1:
[[ภาพไฟล์:1749 eunuch.jpg|thumb|ภาพเขียนยูนุกในยุโรป ปี 1749]]
'''ขันที''' ใน[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] พ.ศ. 2542 หมายถึง ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ใน[[ภาษาจีน]]เรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ ใน[[ภาษาละติน]]และอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจาก[[ภาษากรีก]]คำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง<ref>จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. "ขันทีแขกในราชสำนักอยุธยา," ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 6 (เมษายน 2543), น.66-73.</ref> ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่าก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทางเพศ
 
== ต้นกำเนิด ==
บรรทัด 10:
 
== จีน ==
[[ภาพไฟล์:Khantee.jpg|thumb|250px|ขันทีจีนยุคสุดท้ายแห่งราชสำนักชิง]]
ขันที หรือ '''ไท่เจี้ยน''' (太监 [[พินอิน]]: tàijiān) ทำงานหลายอย่างที่สตรีเพศทำไม่ได้ ในพระราชวังในจีนมีหน้าที่ควบคุมนางในฝ่ายพระราชฐาน และบางครั้งจะขับลำนำถวาย[[ฮ่องเต้]]ก่อนเข้าที่บรรทม นอกจากเรื่องทางโลกแล้ว ขันทียังมีหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาให้กับฮ่องเต้ในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งในบางยุคสมัยก็เป็นเพราะขันทีที่เอาแต่ปรนเปรอฮ่องเต้จนบ้านเมืองอ่อนแอ ไร้เสถียรภาพจนนำมาสู่การล่มสลายของบ้านเมือง เช่น [[ยุคสามก๊ก]] หรือ ปลาย[[ราชวงศ์หมิง]] หรือ ปลาย[[ราชวงศ์ชิง]] เป็นต้น<ref>[http://www.okls.net/thaijeen14.html “ ขันที ” ตราบาปของแผ่นดินจีน]</ref>
 
เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ยิน (1,324 –1,066 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นชื่อเรียกของ[[ราชวงศ์ซาง]] หลังย้ายเมืองหลวงไปเมืองยิน ซึ่งปัจจุบันคือเมืองอันหยัง ใน[[มณฑลเหอหนัน]])จากหลักฐานบนกระดองเต่ามีตัว[[หนังสือจีนโบราณ]]อยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งหมายถึง 'การตัด[[องคชาต]]' และ คำว่า ‘羌 ’(อ่านว่าเชียง) บน[[กระดองเต่า]]กล่าวไว้ว่า อู่ติงหวัง จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ยิน (1,254 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้ทรงรับสั่งให้ตัด[[อวัยวะเพศ]]ของหนุ่มชาวเชียง ที่ถูกจับมาเป็น[[เชลย]] และให้นำตัวไปเป็นขันที ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
 
ต่อมาในรัชสมัยของมู่หวัง (976-920 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) แห่ง[[ราชวงศ์โจว]] จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิอิงจง (ค.ศ. 1457-1464) แห่ง[[ราชวงศ์หมิง]] ปรากฏหลักฐานว่า มีการลงโทษ ด้วยการ‘การตัดอวัยวะเพศ’ หรือที่เรียกกันว่า‘การลงโทษของราชสำนัก’ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแห่งความทารุณนี้ ได้แก่ เชลยศึก ข้าราชการที่จักรพรรดิไม่ทรงพอพระทัย หรือแม้แต่ลูกชายของชาวบ้านทั่วไป ที่ถูกนำมาเป็น[[ทาส]]ของบรรดาผู้ปกครอง
บรรทัด 19:
ต่อมาในสมัยกวงบู๊ ค่านิยมเปลี่ยนไป ผู้ชายที่รับใช้ในวังต้องเป็นขันที ถือว่าเป็นคนที่มีหน้ามีตามาก พอถึงยุคสมัย[[ราชวงศ์ชุ้ย]] ทางการยกเลิกโทษการ"ตอน" ดังนั้นคนที่เป็นขันทีต้อง"ตอน"ตัวเอง
 
ในสมัยหมิงและ[[ราชวงศ์ชิง|ชิง]] ( ค.ศ. 1644-1911 ) สองราชวงศ์สุดท้ายของจีน กลับมีชายหนุ่มจำนวนไม่น้อย สมัครใจเข้าเป็นขันที ส่วนมากมีสาเหตุมาจากความยากจน โดยขันทีคนสุดท้ายของจีน คือ [[ซุนเหย้าถิง]] เขาเกิดในรัชสมัยของจักรพรรดิกวางสู่ (ค.ศ. 1875-1908) แห่งราชวงศ์ชิง<ref>[http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9470000080149 “ขันที” ผู้ชายที่โลกลืม ]</ref>
 
=== ประเภทของขันที ===
บรรทัด 27:
 
== ไทย ==
ในไทยเราไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีร่องรอยที่ทำให้เห็นว่ามีขันทีในเมืองไทย โดยในสมัย[[อยุธยา]]เรียกขันทีว่า นักเทษขันที (บางครั้งเขียนว่า นักเทศขันทีก็มี) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า นักเทษ และ ขันที คงเป็นขุนนางชายที่ถูกตอนเหมือนกัน มีเพียง ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร อธิบายไว้ว่า คือฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า นักเทษ (นักเทศ) นั้นรับราชการฝ่ายขวา ส่วนอีกฝ่ายที่เรียกว่า ขันที นั้นรับราชการฝ่ายซ้าย มีข้อสันนิษฐานว่าพระมหากษัตริย์ไทยสมัยโบราณไม่ทรงเปิดโอกาสให้นักเทษขันทีมีส่วนร่วมในราชการฝ่ายหน้า<ref>[http://gotoknow.org/blog/thaikm/151017 กะเทย / บั๊ณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ ] gotoknow.org</ref>
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 50:
[[gl:Eunuco]]
[[he:סריס]]
[[hr:Eunuh]]
[[id:Orang kasim]]
[[io:Eunuko]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขันที"