ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 96:
ความคลั่งทิวลิปที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดเรื่องชวนขันหลายเรื่องที่แม็คเคย์บันทึกไว้ เช่น กะลาสีที่เห็นหัวทิวลิปที่มีค่าตั้งอยู่ก็นึกว่าเป็นหัวหอมจึงหยิบไปเพื่อจะไปทำอาหาร พ่อค้าและครอบครัววิ่งไล่ตามแต่ไปพบว่ากะลาสีกำลังนั่ง “กินอาหารเช้าที่มีราคาพอกับค่าแรงงานของกะลาสีของเรือทั้งลำเป็นเวลาหนึ่งปี” กะลาสีคนนั้นถูกจำคุกเพราะกินหัวทิวลิป ซึ่งคิดว่าเป็นหัวหอม<ref name=Chap3/>
 
ผู้คนซื้อหัวทิวลิปที่ราคาสูงขึ้นตามลำดับโดยตั้งใจที่จะหันมาขายเอากำไร แต่แผนการเช่นนั้นไม่สามารถจะดำเนินไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากว่าจะมีคนเต็มใจที่จะซื้อสินค้าในราคาอันสูงเกินประมาณต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1637 ผู้มีสัญญาขายหัวทิวลิปก็ไม่สามารถหาผู้ซื้อใหม่ผู้เต็มใจที่จะให้ราคาที่เกินเลยความเป็นจริงไปมากได้ เมื่อเกิดความเข้าใจในสภาวะตลาดเช่นนั้นแล้วความต้องการในซื้อหัวทิวลิปก็สิ้นสุดลงที่เป็นผลให้ราคาก็ตกฮวบ—ตลาดขายสัญญาทิวลิปก็ตกอยู่ใน “[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่|สภาวะลูกโป่งระเบิด]]” ผู้ขายบางคนก็เหลือแต่สัญญาในมือที่มีค่าเพียงหนึ่งในสิบของราคาที่ซื้อมา หรือผู้ขายบางคนก็มีหัวทิวลิปที่มีค่าเพี่ยงเพียงเสี้ยวเดียวของราคาที่ซื้อมา แม็คเคย์อ้างว่าหลังจากนั้นชาวดัตช์ก็อยู่ในสภาวะที่พยายามเที่ยวไล่หาตัวการที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนของตลาดหรือไม่ก็หาแพะรับบาป<ref name=Chap3/>
 
นักเก็งกำไรที่ตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็พยายามร้องขอให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เข้ามาช่วยเหลือ รัฐบาลตอบสนองด้วยการประกาศให้นักเก็งกำไรที่ซื้อสัญญาหัวทิวลิปไว้จ่ายค่าธรรมเนียมสิบเปอร์เซ็นต์ มาตรการอื่นๆ ก็มีการนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย แต่ก็ไม่ประสบผล ความคลั่งทิวลิปในที่สุดก็ยุติลงโดยทิ้งผู้เป็นเจ้าของไว้กับสัญญาหัวทิวลิปที่ไม่ใครยอมจ่ายราคาตามราคาที่เรียกร้อง ศาลก็ไม่ยอมเข้ายุ่งเกี่ยวด้วยเพราะถือว่าเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญาการพนันซึ่งไม่สามารถใช้กฎหมายบังคับได้<ref name=Chap3/>