ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกทูโนว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jarinya gate (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นของ Zambo ด้วยสจห.: ไม่เป็นสารานุกรม
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{gotoknow.org}}
 
'''โกทูโนว์''' (GotoKnow) เป็นเว็บไซต์ให้บริการ[[บล็อก]] สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้บน[[อินเทอร์เน็ต]] พัฒนาโดย ดร. จันทวรรณ น้อยวัน และ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากคณะวิทยาการจัดการ [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] เริ่มใช้เมื่อวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2548]]<ref>[http://gotoknow.org/blog/tutorial/1 กว่าจะเป็น GotoKnow.org]</ref> โดยในขณะนั้นมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ [[ซานฟรานซิสโก]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ก่อนที่จะย้ายมาที่เมืองไทยในวันที่ [[23 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]<ref>[http://gotoknow.org/blog/tutorial/55426 ย้ายเครื่องแม่ข่ายกลับประเทศเป็นที่เรียบร้อย] ข่าวจากบล็อก gotoknow</ref> ภายใต้การสนับสนุนหลักโดย[[สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม]] (สคส.) ในเว็บไซต์จะมีการแบ่งย่อยออกเป็นตามกลุ่ม (หลายชุมชน) ตามเนื้อหาที่สนใจ เช่น ชุมชนเบาหวาน ชุมชนอาหารปลอดภัย ชุมชนการป้องกันโรค นอกจากนี้ ในแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงกันตาม[[กลุ่มป้าย]]เพื่อง่ายต่อการค้นหาและเชื่อมโยงเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน
บรรทัด 8:
 
สำหรับการบริหารจัดการ GotoKnow.org นั้น ในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพัฒนาระบบและบริหารจัดการจากสถาบันส่งเสริมการจัดกาความรู้เพื่อสังคม (สคส.) อีกทั้งในช่วงก่อนหมดทุนในปีที่ 3 ได้มีการรับเงินบริจาคจากสมาชิก GotoKnow.org เพื่อสมทบทุน "กองทุนเพื่อการบริหารจัดการ GotoKnow.org / Learners.in.th" และ ณ ปัจจุบัน GotoKnow.org ได้รับการสนับสนุนหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นทุนสนับสนุนในการพัฒนาระบบและบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 3 ปี
 
==วัตถุประสงค์ของ GotoKnow.org ==
* '''ส่งเสริม "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้"''' ซึ่ง เป็นกิจกรรมด้านการจัดการความรู้ ด้วยการใช้งานเว็บล็อก (weblog) สู่การเสริมสร้างให้ "คนไทยมีสุขภาวะที่ยั่งยืน" หมายถึง คนไทยมีความสุขสี่ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา
* '''จัดเตรียมพื้นที่เสมือนและเครื่องมือสำหรับ "ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice)"''' เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนทำงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ
* '''สนับสนุนการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลัง (storytelling)''' จากประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้เขียนเอง เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้นำไปประยุกต์ใช้หรือจุดประกายความคิด เพื่อให้ต่อยอดความรู้ในกิจกรรมการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ ของผู้อ่านต่อไป
* '''สนับสนุนการให้เกียรติแก่เจ้าของความรู้โดยไม่สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์งานเขียน ภาพ เสียง และสื่อมัตติมีเดีย โดยทุกวิธี''' ไม่ว่าจะเป็นการนำบันทึก ภาพ เสียง และสื่อมัลติมีเดียใน GotoKnow ไปเขียนหรือนำเสนอที่อื่นโดยอ้างว่าเป็นของตนเอง หรือการนำบทความหรือข้อความ ภาพ เสียง และสื่อมัตติมีเดียจากที่อื่นมาเขียนใน GotoKnow โดยอ้างว่าเป็นผู้เขียนเองก็ตาม การกระทำเหล่านี้เรียกว่าเป็น "การโจรกรรมทางวรรณกรรม" (Plagiarism)
 
== การพัฒนา GotoKnow.org ==