ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''อาชญากรรมสงคราม''' ({{lang-en|war crime}}) คือ การละเมิดฝ่าฝืน[[จารีตประเพณี]]หรือ[[กฎ]]ใน[[สงคราม|การยุทธ]] ซึ่งหมายความรวมถึงพฤติการณ์ดังต่อไปนี้แต่มิได้จำกัดอยู่เท่านี้ คือ [[การฆ่าคน]] [[ทุเวชปฏิบัติ]] [[การเนรเทศ]]หรือ[[การเทครัว]]ของพลเรือนแห่งดินแดนที่สามารถยึดได้ไปเป็นทาส คนงาน หรือกรรมการเป็นต้น ตลอดจนการฆ่าหรือการทุเวชปฏิบัติซึ่ง[[เชลยศึก]] การสังหาร[[ตัวประกัน]] การทำลายล้างบ้านเรือน ไร่นา เรือกสวน เป็นต้น โดยขาดความยับยั้ง กับทั้งการทำให้เสียหายอย่างรุนแรงซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์<ref name="black book"> Nicolas Werth, Karel Bartošek, Jean-Louis Panné, Jean-Louis Margolin, Andrzej Paczkowski, [[Stéphane Courtois]], ''[[The Black Book of Communism]]: Crimes, Terror, Repression'', [[Harvard University Press]], 1999, hardcover, 858 pages, ISBN 0-674-07608-7, page 5. </ref>
 
ก่อนหน้าจะมีการประดิษฐ์และนิยามคำ "อาชญากรรมสงคราม" ขึ้นอย่างเป็นทางการ มีการใช้คำหลายคำเรียกพฤติการณ์ในลักษณะนี้ เช่น คำว่า "[[ความสับปลับ]]" ({{lang-en|perfidy}}) ซึ่งนิยมใช้กันมากว่าหลาย[[ทศวรรษ]] เป็นต้น คำเรียกทั้งหลายเหล่านี้ยังเคยได้รับการรับรองจากสหประชาชาติด้วย เช่น ใน อนุสัญญานครเฮก ฉบับ พ.ศ. 2442 และ พ.ศ. 2450 ส่วนคำ "อาชญากรรมสงคราม" นั้นวิวัฒนามาจากกรณีหายนะที่[[นูเรมเบิร์กเนือร์นแบร์ก]] โดยปรากฏใน[[ธรรมนูญกรุงลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ]]ซึ่งได้รับการพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] เป็นแห่งแรก<ref>[http://www.yale.edu/lawweb/avalon/imt/proc/judlawre.htm Judgement: The Law Relating to War Crimes and Crimes Against Humanity] contained in the [[Avalon Project]] archive at [[Yale Law School]]. "''but by 1939 these rules laid down in the [Hague] Convention [of 1907] were recognised by all '''civilized nations''', and were regarded as being declaratory of the laws and customs of war''"</ref>
 
ปัจจุบัน อาชญากรรมสงครามเป็นอำนาจหน้าที่ของ[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]]ที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศ จนกระทั่ง[[ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ]]มีผลใช้บังคับในวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2545]]