ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคาร์ดินัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AlleborgoBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: vi:Hồng y
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพไฟล์:kardinalcoa.png|200px|right|Cardinal coat of arms]]
'''คาร์ดินัล''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Cardinal) เป็น[[สมณศักดิ์]]ชั้นสูง รองจาก[[พระสันตะปาปา]] ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครอง[[พระศาสนจักรสากล]]. ตำแหน่งนี้ อาจเทียบเท่ากับพระชั้น[[พระราชาคณะ]]ใน[[พุทธศาสนา]] หรือ[[วุฒิสมาชิก]]ในทางโลก. ในสมัยก่อน ตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส, แต่นับตั้งแต่ตรากฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด ([[ค.ศ. 1917]]-[[ค.ศ. 1983|1983]]) พระสงฆ์และพระสังฆราชเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้. หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมประชุมลับเพื่อเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาได้
 
บรรทัด 15:
การใช้คำดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายในพระศาสนจักรยุคแรก ๆ จนต่อมาในรัชสมัยของพระสันตะปาปา เกรกอรี่มหาราช (Pope Gregory the Great 590-604) ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะในกฎหมายพระศาสนจักร
ในยุคนั้นบาทหลวงบางท่านมีความสามารถเฉพาะตัวสูง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยพระสังฆราช (และกลายเป็น "คาร์ดินัล" แทนที่จะเป็นบาทหลวงผู้ดำรงตำแหน่งปกติ) และในบางกรณี บาทหลวงบางท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ประกอบพิธีกรรมอยู่ตาม[[สักการสถาน]]โบราณหลาย ๆ แห่งในกรุงโรม เช่น [[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]] , มหาวิหารเซ็นต์ปอล, มหาวิหารมารีย์ มาจีโอร่า และมหาวิหารเซ็นต์จอห์น ละเตอรัน ฯลฯ เป็นต้น และเนื่องจากภารกิจดังกล่าว มีวาระการแต่งตั้งเป็นการชั่วคราว จึงเรียกท่านเหล่านั้นว่า '''"คาร์ดินัล"''' และนี่คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลสงฆ์"''' ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าพระสงฆ์ - '''"cardinal presbyters"''')
 
ส่วนบรรดาพระสังฆราชที่ประจำตามเมืองต่าง ๆ รอบ ๆ กรุงโรมในยุคนั้น ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันประกอบพิธีในมหาวิหารละเตอรัน ซึ่งเป็นอาสนวิหารประจำกรุงโรม และถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นจะดำรงตำแหน่งประจำเป็นสังฆราชในสังฆมณฑลของตน แต่ท่านก็ได้กลายเป็น "คาร์ดินัล" ในขณะที่ท่านประกอบพิธีในมหาวิหารดังกล่าว และพระสันตะปาปาก็ได้ให้ความสำคัญต่อบรรดาพระคาร์ดินัลเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยการปรึกษากิจการงานของพระศาสนจักรอยู่เป็นประจำ
บรรทัด 21:
นี่คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลสังฆราช"''' (คาร์ดินัลที่ศักดิ์เทียบเท่าพระสังฆราช - '''"cardinal bishops"''') ซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆราชประจำสังฆมณฑลเจ็ดแห่งรอบ ๆ กรุงโรมในปัจจุบัน
และหลังจากที่พระสันตะสำนักได้อำนาจการปกครองกรุงโรม ก็จำเป็นต้องให้บริการต่าง ๆ ด้านสังคมแก่บรรดาประชาชน โดยบริการดังกล่าวนี้ แรกทีเดียวบรรดา'''สังฆานุกร (deacons) ''' ซึ่งเป็นบุคลากรของพระสันตปาปาที่ประจำอยู่หาวิหารละเตอรันเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ต่อมาก็ได้มีการส่งบุคลากรดังกล่าวไปประจำตามศูนย์บริการด้านสังคม (diaconiae) ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงโรม โดยที่ศูนย์แต่ละแห่งจะมีวัดน้อย (chapel) อยู่ด้วย
 
ความสำคัญของท่านเหล่านั้นในการช่วยเหลือผู้ยากไร้คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลสังฆานุกร"''' ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าสังฆานุกร '''"cardinal deacons"''')