ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอื้อ สุนทรสนาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 69:
 
== ตำแหน่งการทำงาน ==
ครูเอื้อได้นำวงดนตรีไปแสดงที่[[โรงภาพยนตร์โอเดียน]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2482]] โดยทาง[[โรงแรมรัตนโกสินทร์]]เป็นผู้จัด คุณสุรัฐ พุกกะเวส ซึ่งเป็นเลขานุการของโรงแรมเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนำวงดนตรีของราชการไปบรรเลงในโรงภาพยนตร์เอกชน จึงหารือกับคุณครูเอื้อว่าควรจะใช้ชื่อวงดนตรีเป็นอย่างอื่น ในตอนนั้นคูรครูเอื้อตกหลุมรักคุณอาภรณ์ จึงได้จังหวะนำนามสกุลของตนเองไปรวมกับชื่อของคนรัก ซึ่งรวมกันแล้วก็ได้ชื่อวงว่า '''''[[สุนทราภรณ์]]'''''
 
ครูเอื้อรับราชการในกรมโฆษณาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนต่อมาในปีพ.ศ. 2495 กรมโฆษณาการเปลี่ยนชื่อเป็น [[กรมประชาสัมพันธ์]] โดยดำเนินตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกบันเทิงต่างประเทศแต่เพียงตำแหน่งเดียวจนกระทั่ง[[เกษียณ]]ในปี [[พ.ศ. 2514]] และทางกรมประชาสัมพันธ์ได้จ้างพิเศษให้ดำเนินตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการดนตรีต่ออีก 2 ปี จนออกจากงานอย่างถาวรในปี [[พ.ศ. 2516]] และในปีนี้ คุณครูเอื้อเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกคนหนึ่งใน สมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] พ.ศ. 2516
 
ถึงแม้ครูเอื้อจะไม่ได้รับความก้าวหน้าในวงวงการราชการเท่าที่ควร แต่ครูเอื้อมีสิ่งสูงสุดที่บำรุงจิตใจอยู่ตลอดมาคือ พระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] วันที่ครูเอื้อปลาบปลื้มที่สุดวันหนึ่งในชีวิตนักดนตรีก็คือ วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญรูปเสมาทองคำที่มีพระปรมาภิไธยย่อ [[ภ.ป.ร.]] จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันครบรอบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2512]]
 
== ปัจฉิมวัย ==