ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานแห่งเคียฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ใช้ปีคศ|width=280px}} {{กล่องข้อมูล พระมเหสี | สี =#3CC | ภาพ = ภาพ:Sin_foto.svg | พระนาม…
 
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
 
ปีหนึ่งหลังจากพระสวามีเสด็จสวรรคตก็ตกหลุมรักกับเคานท์ราล์ฟที่ 3 แห่งวาลัวส์ผู้มีความทะเยอทะยานทางการเมืองพอที่จะหย่ากับภรรยามาแต่งงานกับแอนน์ในปี [[ค.ศ. 1062]] เมื่อถูกกล่าวหาว่ามีชู้ภรรยาของราล์ฟก็ยื่นคำร้องไปยัง[[สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 2]] ผู้ประกาศคว่ำบาตร (excommunicate) แอนน์และเคานท์ราล์ฟ พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ทรงให้อภัยพระราชมารดาซึ่งก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเพราะพระองค์เองก็ทรงมาประสบปัญหาเดียวกันในคริสต์ทศวรรษ 1090 ราล์ฟเสียชีวิตในเดือนกันยายน ค.ศ. 1074 ส่วนแอนน์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1075 พระบรมศพบรรจุที่[[แอบบีวิลเลียร์]]ใน[[เอซอนน์]]
 
==เกร็ด==
[[Image:Yardaughters.jpg|thumb|left|200px|[[จิตรกรรมฝาผนัง]]จากคริสต์ศตวรรษที่ 11 ภายใน[[มหาวิหารเซนต์โซเฟียในคิเอฟ]]เป็นภาพของพระราชธิดาของยาโรสลาฟที่ 1 และแอนน์ผู้อาจจะเป็นพระราชธิดาองค์เล็ก]]
ในปี พ.ศ. 1717 เมื่อ[[ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]]ประพาส[[มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์]]ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ก็มีผู้ชี้ให้ชมหนังสือสวดมนตร์ที่ใช้ในพระราชพิธีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 ในการตั้งสัตย์ปฏิญาณ เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระองค์ก็ทรงเปิดหนังสือและเริ่มอ่านด้วยความตกตลึงของผู้เห็นเหตุการณ์ หนังสือสวดมนตร์เขียนเป็นภาษาสลาฟโบราณของศาสนาซึ่งเป็นต้นตระกูลของภาษาการศึกษาบุลกาเรียที่ใช้ในสถาบันคริสเตียนออร์โธด็อกซ์ในการทำพิธี ซึ่งคล้ายคลึงกับการใช้ภาษาละตินในการทำพิธีของยุโรปตะวันตก
 
แอนน์ทรงนำหนังสือสวดมนตร์มากับพระองค์จากคิเอฟที่มาใช้ในการตั้งสัตย์ปฏิญาณระหว่างพระองค์และพระสวามี พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสทุกพระองค์ยกเว้นนโปเลียนได้รับการสวมมงกุฎหลังจากที่ทรงตั้งสัตย์ปฏิญาณต่อหนังสือสวดมนตร์เล่มนี้
 
== อ้างอิง ==