ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่ล้าสมัย
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น||คดีในปี พ.ศ. 2549|คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549}}
คดียุบพรรคการเมือง[[ พ.ศ. 2551]] เป็นคดีที่เป็นคดีที่[[พรรคชาติไทย]] [[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]][[ พรรคพลังประชาชน]] (2 ใบแดง) ถูกฟ้องเป็นจำเลยอันเนื่องมาจากกรณีทุจริต[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550]]ส่วนข้อกล่าวหากรณีที่[[พรรคพลังประชาชน]]เป็นนอมินีหรือตัวแทนของ[[พรรคไทยรักไทย]]ซึ่งได้ถูกตัดสินให้ยุบพรรคไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการเลือกตั้งสรุปว่าปรากฏหลักฐานเพียงพอที่พรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย แต่ได้ยกคำร้องเพราะไม่มีกฎหมายเอาผิด
 
== ประวัติ ==
 
คดียุบพรรคมีจุดเริ่มต้นจากมี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550]]ต่อมา[[ศาลฎีกา]]แผนกคดีเลือกตั้งได้เพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคของแต่ละพรรคเป็นเวลา5ปี ต่อมา[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] (กกต.) มีความเห็นว่าทั้ง 3 พรรคกระทำความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]]ว่าด้วยการเลือกตั้ง [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และการได้มาซึ่ง[[สมาชิกวุฒิสภา]] [[พ.ศ. 2550]]มาตรา111 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550มาตรา 94 (1) (2) และมาตรา95 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีคำสั่งยุบ[[พรรคการเมือง]]ทั้ง 3 พรรค
 
 
บรรทัด 10:
หลัง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550]][[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]พบการทุจริต มีการให้ใบแดงและพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการ[[พรรคชาติไทย]] กับนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้า[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]<ref name="thaipost">ไทยโพสต์, มติ กกต. 4:1 เชือด'ชท.-มฌ.', [[12 เมษายน]] 2551, หน้า 2</ref>
 
วันที่ [[16 เมษายน]] 2551 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]มีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 (มติเสียงข้างน้อย 1 เสียงในทั้งสองกรณี คือ [[สมชัย จึงประเสริฐ|นายสมชัย จึงประเสริฐ]]) <ref name="thaipost" /> เห็นชอบตามที่นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอความเห็นให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบ[[พรรคชาติไทย]]และ[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]ให้อัยการสูงสุดพิจารณา
 
แม้ว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปก่อนหน้านั้นว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นในทั้งสองพรรค ไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการกระทำผิดของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา และนายสุนทร วิลาวัลย์ แต่การที่ทั้งสองคนต่างก็เป็นกรรมการบริหารพรรคเสียเอง กกต.จึงพิจารณาตามมาตรา 237 วรรคสอง ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] และมาตรา 103 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และการได้มาซึ่ง[[สมาชิกวุฒิสภา]] พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ตรงกันว่า ถ้าการกระทำดังกล่าวปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการซึ่งให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]]
บรรทัด 36:
วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณากรณีดังกล่าวโดยแบ่งเป็นสองประเด็น คำร้องของนายประสิทธิ์นั้น กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดได้ ส่วนคำร้องของนายวีระ กกต.มีมติ 3:1:1 สามเสียงเห็นว่าปรากฏหลักฐานเพียงพอที่พรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้วไม่เข้าข่ายมีความผิดตามมาตราใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หนึ่งเสียงเห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดและไม่มีพฤติการณ์เข้าองค์ประกอบความผิด ส่วนอีกหนึ่งเสียงเห็นว่าควรแจ้งนายทะเบียนพรรคดำเนินการตรวจสอบต่อ<ref>ไทยโพสต์, เข้าข่ายตัวแทนทรท. กกต.ยกคำร้องนอมินี, 2 พฤษภาคม 2551, หน้า 1, 12</ref>
 
== การไต่สวนและคำวินิจฉัย ==
 
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองมีทั้งหมด 9 คน ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้
บรรทัด 52:
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนพยานวันที่ [[28 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] มีตัวแทน[[พรรคการเมือง]]เข้าร่วมรับฟังพร้อมเพรียงพยาน[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]จำนวน 20 ปาก และขอเพิ่มเติมอีก 29 ปาก พยาน[[พรรคชาติไทย]]จำนวน 42 ปาก พยานเทปซีดีคำปราศรัยห้ามซื้อเสียง และพยานเอกสาร 33 รายการ พยาน[[พรรคพลังประชาชน]]จำนวน 60 ปาก
 
== สรุปคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ==
เวลา 12.00-13.32 น. วันที่ [[2 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]] คณะ[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]อ่านคำวินิจฉัยกรณีอัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบ[[พรรคพลังประชาชน ]][[พรรคชาติไทย]] และ[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]โดยมีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรคสามารถสรุปได้ดังนี้
 
สำหรับกรณีของ[[พรรคพลังประชาชน]] นั้น [[ตุลาการรัฐธรรมนูญ ]] ระบุว่ากรณีที่นาย[[ยงยุทธ ติยะไพรัช]] อดีตรองหัวหน้าพรรคกระทำการฝ่าฝืนและขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ที่มีผลทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต และได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของ[[รัฐธรรมนูญ]] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่พรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ต้องร่วมรับผิดชอบ
ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่าคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนายยงยุทธ เป็นนักการเมืองหลายสมัย มีฐานะเป็นถึงรองหัวหน้าพรรค และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ย่อมต้องเพิ่มความเข้มงวดที่จะไม่กระทำการใดๆ อันฝ่าฝืน[[กฎหมาย]] แต่นาย[[ยงยุทธ ติยะไพรัช ]] กลับกระทำผิดเสียเอง
 
นอกจากนี้กรณีที่[[พรรคพลังประชาชน]]โต้แย้งว่าได้จัดการประชุมชี้แจงเพื่อกำชับไม่ให้ผู้สมัครของพรรคกระทำการฝ่าฝืน[[กฎหมาย]]เลือกตั้งแล้วก็ตามนั้น ศาลเห็นว่าแม้พรรคจะมีการกระทำดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดในการที่กรรมการบริหารพรรคจะไปกระทำผิดเอง เพราะทำให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้