ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
ทั้งนี้บูรพาจารย์การเกษตรทั้งสามท่าน ยังเป็นผู้สนับสนุนให้มีการศึกษาวิชาการเกษตรอย่างจริงจัง โดยเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของ[[ประเทศไทย ]] เนื่องจากวิชาการ[[เกษตรกรรม]]นั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทั้งวิชาการและการปฏิบัติ จึงเห็นควรให้มีการตั้งและดำรงอยู่ของสถาบันการศึกษาเกษตรเฉพาะทาง จนกระทั่งมีการพัฒนาการศึกษาวิชาการเกษตรจนเป็น[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]ในปัจจุบัน
 
แต่เดิมนั้น ในทศวรรษที่สามของการครบรอบการสถาปนา'''มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์''' พื้นที่ลานด้านหน้าสถาบันเกษตราธิการแห่งนี้ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์[[หลวงสุรรณวาจกกสิกิจสุวรรณวาจกกสิกิจ]] เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของท่าน โดยมี [[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]] ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2511]] อันเป็นวันครบรอบ 25 ปีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ต่อมาในวาระการครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการก่อสร้างอนุสาวรีย์ '''สามเสือแห่งเกษตร''' ขึ้นเป็นการสมบูรณ์ เพื่อเป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ได้ร่วมกันอุทิศตนทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูงเพื่อวางรากฐาน'''การเกษตรแผนใหม่''' และ'''การศึกษาการเกษตร'''ให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน ถือได้ว่าทั้งสามท่านได้ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ผลที่มีต่อประเทศชาตินั้นจึงไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้ โดยอนุสาวรีย์สามเสือแห่งเกษตรนี้ ได้ทำการประกอบพิธีเปิดในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2538]]
 
 
== ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ==