ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ชื่ออื่น|{{PAGENAME}}|พระแก้วองค์อื่นๆ|พระแก้ว}}
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนวัตถุ
บรรทัด 11:
| width = 7.5 นิ้ว
| tall = 12.5 นิ้ว (ไม่รวมฐาน)
| material = แก้วผลึกขาวใส <br> (แก้วบุษยา หรือ บุษยารัตน์)
| place_of_enshrined = [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] [[พระราชวังดุสิต]]
| important = เคยประดิษฐานเป็นองค์ประธาน ใน[[พระพุทธรัตนสถาน]]
| footnote = ประดับด้วยฉัตรทองคำ 9 ชั้น ลายฉลุดุนนูน ฝังเพชรพลอยนพเก้า จำนวน 3427 เม็ด
}}
 
 
 
'''พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย''' เป็นพระพุทธรูปสำคัญของประเทศองค์หนึ่ง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] [[พระราชวังดุสิต]]
 
== ประวัติ ==
'''พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย''' องค์นี้ สันนิษฐานว่า คือพระแก้วขาว ซึ่งปรากฏเรื่องราวใน[[พงศาวดารโยนก]] ความว่า [[พระอรหันต์]]ได้แก้วขาวมาจากจันทรเทวบุตร จึงขอให้[[พระวิษณุกรรม]]แกะสลักเป็น[[พระพุทธรูป]] แล้วบรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ|พระบรมธาตุ]] 4 องค์ไว้ที่พระเมาลี พระนลาฏ พระอุระ และพระโอษฐ์ พระแก้วขาวนี้ประดิษฐานอยู่ที่เมือง[[ละโว้]] จนกระทั่ง[[พระนางจามเทวี]]อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ [[เมืองหริภุญชัย]] ในปี [[พ.ศ. 2011]] [[พระเจ้าติโลกราช]]แห่งเมือง[[อาณาจักรล้านนา|เชียงใหม่]] ได้อัญเชิญจากเมือง[[หริภุญไชย]]ไปเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานคู่กับพระแก้วมรกตเป็นเวลา 84 ปี
 
จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2093]] [[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]จึงอัญเชิญพระแก้วขาว และ[[พระแก้วมรกต]]จากเมืองเชียงใหม่ ไปประดิษฐานที่[[เมืองหลวงพระบาง]] และเมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปตั้งที่[[เวียงจันทน์]]ในปี [[พ.ศ. 2107]] นั้น ไม่ปรากฏว่าได้อัญเชิญพระแก้วขาวไปพร้อมกับพระแก้วมรกตด้วย สันนิษฐานว่าคงเคลื่อนย้ายไปซ่อนไว้ ณ ถ้ำเขาส้มป่อย ดังความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานว่า{{คำพูด|ลุ[[จุลศักราช]] 1086<ref> ([[พ.ศ. 2267]]) </ref> [[ปีมะโรง]] ฉศก มีพรานป่าคนหนึ่งนำความแจ้งต่อแสนท้าวพระยาว่า เห็นพรานทึงพรานเทือง ข่าบ้านส้มป่อย นายอน (คือที่เปนเมืองสพาดเดี๋ยวนี้) ได้พระแก้วผลึกมาเข้าใจว่าเปนรูปมนุษย์น้อย นายพรานเอาเชือกผูกพระสอให้บุตรลากเล่นจนพระกรรณบิ่นไปข้างหนึ่ง ครั้นความทราบถึง[[เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร|เจ้าสร้อยศรีสมุท]] จึงให้แสนท้าวพระยาไปเชิญรับพระแก้วผลึกแห่มาประดิษฐานไว้ ณ [[เมืองจำปาศักดิ์]] มีการสมโภช 3 วัน แล้วให้พวกที่มาส่งพระแก้วนั้นตั้งอยู่บ้านขามเนิง เรียกว่า ข่าข้าพระแก้วมาจนบัดนี้ แลตั้งให้พรานทึง พรานเทือง เปนนายบ้าน ควบคุมพวกข่าบ้านส้มป่อย นายอนให้เปนส่วยขี้ผึ้งผ้าขาว ถวายพระแก้วต่อมา จนส่งพระแก้วลงมากรุงเทพฯ<ref>[http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=24-03-2007&group=2&gblog=48 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔ เรื่องพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ] ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]] (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร) </ref>|}}
 
รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โปรดให้ข้าหลวงไปปลงศพ[[เจ้าพระวิไชยราชขัตติยวงศา]] (เจ้าหน้า - เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3) ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ในปี [[พ.ศ. 2354]] ข้าหลวงได้เห็นพระแก้วผลึกสีขาว จึงมีใบบอกให้นำความกราบบังคมทูลถวายพระแก้วผลึก โดยตั้งขบวนแห่ตั้งแต่[[เมืองสระบุรี]] และมีการสมโภชตามหัวเมืองรายทางตลอดมาจนถึง[[กรุงเทพฯ]]
เส้น 38 ⟶ 35:
ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ได้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนฯ กลับไปประดิษฐาน ณ หอพระ พระที่นั่งอัมพรสถานสืบมาจนทุกวันนี้
 
== การขึ้นทะเบียน ==
* [[กระทรวงศึกษาธิการ]] ประกาศเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ตามบัญชีแนบท้ายในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ [[พ.ศ. 2520]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<references />
{{ต้องการอ้างอิง}}
 
{{พระแก้ว}}