ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุคามรามเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1:
[[ภาพไฟล์:Chatukham rammathep.jpg|250px|thumb|right|ท้าวขัดตุคาม-ท้าวรามเทพ]]
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:Chatukham rammathep.jpg|250px|thumb|right|ท้าวขัดตุคาม-ท้าวรามเทพ]]
'''จตุคามรามเทพ''' หมายถึงเทพรักษาพระบรมธาตุ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]]สององค์ คือ '''ท้าวขัดตุคาม''' และ '''ท้าวรามเทพ''' ซึ่งเดิมในความเชื่อของ[[ศาสนาพราหมณ์]]เป็น[[เทพ]]ชั้นสูง และมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของ[[ประเทศไทย]] แต่เมื่อภูมิภาคแถบ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้|อุษาคเนย์]]นี้รับอิทธิพลของ[[พุทธศาสนา]]เข้ามา ท้าวขัดตุคาม และ ท้าวรามเทพ จึงถูกเปลี่ยนสถานะเป็น[[เทวดา]]รักษาพระบรมธาตุและเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น '''ท้าวจตุคาม''' และสถิตอยู่บนที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในปี [[พ.ศ. 2530]] เมื่อมีการตั้งดวงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ จึงมีการอัญเชิญจตุคามรามเทพไปสถิต ณ ที่นั้นเป็นต้นมา
 
เส้น 8 ⟶ 7:
องค์รามเทพ คำว่า ราม มีรากฐานมาจากพระราม ที่หมายถึง[[พระนารายณ์]]อวตารลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ คำว่าเทพ ก็คือ[[เทวดา]] นัยความหมายคือเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นสมมติเทพเมื่อองค์รามเทพเป็นพระทรงเมือง คำว่าทรงเมืองพ้องกับคำว่า ครองเมือง นั่งเมือง หรือผู้ปกครองบ้านเมืองซึ่งก็คือเจ้าเมืองหรือ[[พระมหากษัตริย์]]
 
เชื่อกันว่าเดิมนั้น องค์จตุคามรามเทพ เป็นกษัตริย์ในสมัย[[อาณาจักรนครศรีธรรมราช]] มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า '''[[พระเจ้าจันทรภาณุ]]''' เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของ[[ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช]] เชื่อว่ามีพระวรกายเป็นสีเข้ม เป็นกษัตริย์นักรบที่แกร่งกล้า เมื่อสถาปนาอาณาจักรศรีวิชัยได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงได้สมัญญานามว่า " ราชันดำแห่งทะเลใต้ " หรือมีอีกราชสมัญญานามนึงว่า " พญาพังพกาฬ " และต่อมาสำเร็จวิชา[[จตุคามศาสตร์]] และทรงบำเพ็ญบุญเพื่อสร้างบารมีอธิษฐานจิตเป็น[[พระโพธิสัตว์]] เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มนุษย์ทั้งปวง[[ภาพไฟล์:trr.gif|thumb|right|ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีรูปพระบรมธาตุอยู่ตรงกลาง]] แต่หากเชื่อกันว่าจตุคามรามเทพคืออดีตกษัตริย์ศรีวิชัยแล้ว ดังเช่น[[พระเจ้าวิษณุราช]]ที่ปรากฏในหลักจารึกกรุงศรีวิชัย อยู่ในราว พ.ศ. 1318 ผู้สร้างพระบรมธาตุเมืองนครฯ จะดูขัดแย้งกันเพราะ เป็นยุคสมัยที่ห่างจากพระเจ้าจันทราภาณุ ก่อนถึง 400 ปี
 
พระบรมธาตุปรากฏชัดว่า มีสององค์ คือองค์จตุคามกับท้าวรามเทพ แต่ภายหลังได้รวมเป็นองค์จตุคามรามเทพเพียงองค์เดียว ก็มิได้ผิดจากหลักศาสตร์ของการสร้าง เฉกเช่นการอธิบายในหลักของตรีมูรติ ของศาสนาฮินดูที่เป็นการรวมกันของมหาเทพทั้ง 3 พระองค์ ดังนั้น จตุคามรามเทพ จึงหมายถึง ดวงพระวิญญาณแห่งอดีตบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าผู้มาสถิตย์เป็นผู้คุ้มครองดูแลบ้านเมืองทั้งสี่ทิศทรงฤทธิ์อำนาจอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยบารมีธรรม 10 ประการ แห่งพระโพธิสัตว์ ผู้มีความเมตตาต่อมนุษย์ผู้ทุกนาม เป็นพระเทวราชโพธิสัตว์
เส้น 25 ⟶ 24:
ภาพลักษณ์ของจตุคามรามเทพ โดยมากจะปรากฏเป็นองค์เทพบุตรในท่านั่ง มี 4 กร ถืออาวุธต่าง ๆ และนายทหาร 4 นาย นั้น จะปรากฏในรูปของหนุมาน 4 กร ถืออาวุธในท่วงท่าต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามศิลปะศรีวิชัยที่มักสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาแทนความหมายต่าง ๆ
 
== ประวัติ ==
ในการจัดสร้างรูปเคารพขององค์จตุคามรามเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2530 เป็นครั้งแรกในรูปแบบพระผงสุริยัน-จันทรา ดวงตราพญาราหู มีแวดล้อมด้วยพระราหู 8 ตน ตรงกลางมีรูปของเทวรูปประทับนั่ง 2 เศียร 4 กร ทรงเครื่องอาวุธ และผู้สร้างในสมัยนั้นก็ให้ความหมายไว้ว่าคือรูปจำลองสมมติของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นตัวแทนขององค์จตุคามรามเทพกษัตริย์แห่งศรีวิชัย
 
เส้น 36 ⟶ 35:
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มีการประเมินมูลค่าเงินหมุนเวียนของจตุคามรามเทพมีมูลค่าสูงถึง 2.2 หมื่นล้านบาท ผลักดันจีดีพีของประเทศโตขึ้น 0.1-0.2 % ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา และทำให้[[กรมสรรพากร]]พิจารณาการจัดเก็บ[[ภาษี]]จากการสร้างและเช่าบูชาจตุคามรามเทพด้วย
 
== คาถาสำหรับบูชาจตุคามรามเทพ ==
ตั้งสมาธิให้จิตใจสงบจากนั้นท่อง ( นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ) 3 จบ แล้วให้กล่าวตามบทสวดดังต่อไปนี้ “จะตุคามรามะเทวัง โพธิสัตตัง มะหาคุณัง มะหิทธิกัง อะหัง ปูเซมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง “ ข้าพเจ้าขอบูชา ท้าวจตุคามรามเทพโพธิสัตว์ ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ มีฤทธานุภาพไพศาล ขอความสำเร็จและลาภ จงมีแก่ข้าพเจ้า เป็นนิรันดร
 
เส้น 43 ⟶ 42:
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.rakmuang30.com/jatukramramathep.html หลักเมืองนครศรีธรรมราชและประวัติ จตุคามรามเทพ]
* นิตยสาร Positioning ฉบับเดือน มิถุนายน 2550 หน้า 166
* [http://www.suriyunjuntra.com/main.html ความจริงและความลับ ที่ไม่เคยมีใครรู้ จตุคามรามเทพ]
* วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์,เรื่องลึกแต่ไม่ลับกับจตุคามรามเทพ ISBN 978-974-8218-17-5
{{จบอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==