ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพระไดส์ลอสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "พาราไดซ์ ลอสท์" ด้วย "แพระไดส์ลอสต์"
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
 
'''แพระไดส์ลอสต์''' ({{lang-en|Paradise Lost}}) หรือ “สวรรค์ล่ม” เป็นบท[[กวี]][[มหากาพย์]]ประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกวีชาว[[อังกฤษ]] [[จอห์น มิลตัน]] ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี [[ค.ศ. 1667]] เป็นหนังสือชุดมี 10 เล่ม ตีพิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1674 โดยจัดแบ่งเนื้อหาใหม่เป็น 12 เล่ม (ตามแบบอย่างการจัดแบ่งเนื้อหาใน มหากาพย์[[แอเนียด]] ของ[[เวอร์จิล]]) เนื้อหาของบทกวีเกี่ยวกับเรื่องราวในตำนานความเชื่อทาง[[คริสตศาสนา]] ว่าด้วยเรื่องการล่มสลายของมนุษย์ กล่าวคือ การที่มนุษย์คู่แรกของโลก [[อาดัม]] กับ [[อีฟ]] ถูกล่อลวงโดย[[ซาตาน]]ให้กระทำความผิด ละเมิดคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า ทำให้ต้องถูกเนรเทศออกจาก[[สวนอีเดน|สวนสวรรค์อีเดน]] วัตถุประสงค์ในการประพันธ์ของมิลตันมีระบุไว้ในหนังสือเล่ม 1 กล่าวว่า "เพื่อแสดงให้เห็นวิธีการที่พระเจ้าทำต่อมนุษย์" และอธิบายให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างการมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าของพระผู้เป็นเจ้า กับการทำตามเจตจำนงเสรี
 
[[ศิลปะจินตนิยม|ศิลปินยุคจินตนิยม]]ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เริ่มมองภาพของซาตานว่าเป็น[[ตัวเอก|ตัวละครสำคัญ]]ในงานมหากาพย์ มิลตันใช้ซาตานเป็นสื่อถึงความทะเยอทะยาน ความโลภและหยิ่งจองหอง ผู้ซึ่งต่อต้าน[[พระเจ้า|พระผู้สร้าง]] และผู้ประกาศสงครามกับสรวงสวรรค์ แต่สุดท้ายก็โดนปราบและโค่นลง [[วิลเลียม เบลก]] ศิลปินนักวาดภาพประกอบมหากาพย์ผู้นิยมยกย่องมิลตันอย่างมาก ได้กล่าวถึงมิลตันว่า "เขาเป็นกวีที่แท้จริง และเป็นฝ่ายเดียวกับปีศาจแม้จะไม่รู้ตัว"<ref name="blake1793">วิลเลียม เบลก. (1793), ''[http://en.wikisource.org/wiki/The_Marriage_of_Heaven_and_Hell The Marriage of Heaven and Hell]'', ลอนดอน</ref> นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งเห็นว่าลักษณะตัวละครแบบซาตานเป็นต้นกำเนิดของ[[วีรบุรุษแบบไบรอน|วีรบุรุษในแบบของไบรอน]]<ref name="eliot1932">ที. เอส. อีเลียต (1932), "Dante", Selected Essays, นิวยอร์ก: เฟเบอร์แอนด์เฟเบอร์, OCLC [http://worldcat.org/oclc/70714546 70714546].</ref>
 
มิลตันนำเรื่องราวทั้งส่วนของคริสต์ศาสนา เทพเจ้านอกศาสนา รวมถึงตำนานกรีกดั้งเดิมมาใช้ในเนื้อเรื่อง บทกวีต้องพยายามสื่อถึงประเด็นทางปรัชญาอันลึกซึ้ง รวมถึงเรื่องของชะตากรรม ชะตาลิขิต และเรื่องของตรีเอกานุภาพ ซึ่งเป็นประเด็นละเอียดอ่อนและยากยิ่ง
 
== โครงเรื่อง ==