ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรนัลด์ รอสส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
ในปี ค.ศ. 1902 รอสส์ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]สำหรับการศึกษาด้านมาลาเรีย ส่วนผู้ช่วยชาวอินเดียของเขา Kishori Mohan Bandyopadhyay ได้รับเหรียญทองจากกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
ในปี ค.ศ. 1899 รอสส์ได้กลับไปยังอังกฤษและทำงานที่โรงเรียนเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งลิเวอร์พูล (Liverpool School of Tropical Medicine) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์เขตร้อน ค.ศ. 1901 รอสส์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ และยังเป็นสมาชิก[[ราชสมาคม]]ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองประธานตั้งแต่ ค.ศ. 1911 ถึง 1913 รอสส์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Most Honourable Order of Bath จาก[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7]] ในปี ค.ศ. 1902 และได้รับบรรดาศักดิ์้เป็นบรรดาศักดิ์เป็น Knight Commander of Order of Bath ในปี ค.ศ. 1911
 
รอสส์ได้อุทิศตนทำงานเพื่อป้องกันโรคมาลาเรียในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น[[แอฟริกาตะวันตก]], บริเวณ[[คลองสุเอซ]], [[กรีซ]], [[มอริเชียส]], [[ไซปรัส]] และบริเวณรับผลกระทบจาก[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] เขาได้ตั้งองค์กรเพื่อป้องกันโรคมาลาเรียภายในโรงงานอุตสาหกรรมใน[[อินเดีย]]และ[[ศรีลังกา]] เขาได้อุทิศตนเพื่อศึกษา[[ระบาดวิทยา]]ของมาลาเรียและวิธีการสำรวจและประเมิน แต่ผลงานสำคัญของเขาคือการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ศึกษาระบาดวิทยา โดยรายงานครั้งแรกที่มอริเชียสในปี ค.ศ. 1908 ซึ่งตัวแบบนี้ช่วยป้องกันโรคมาลาเรียที่มอริเชียสในปี ค.ศ. 1911 และต่อมาได้นำไปใช้ทั่วไปในรายงานซึ่งตีพิมพ์โดยราชสมาคมในปี ค.ศ. 1915 และ 1916
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==