ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
== ประวัติการก่อตั้งเมือง ==
 
ตำบลยม ก็คือเมืองยม ในสมัยพญาภูคาคือพื้นที่[[เมืองย่าง]] หรือ [[เมืองล่าง]] (เมืองย่างมีพื้นที่ครอบคลุม[[ตำบลศิลาเพชร]] และ[[ตำบลยม]] [[ตำบลจอมพระ]] [[ตำบลอวน]] ในปัจจุบัน) บริเวณชุมชนโบราณเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำย่างและลำน้ำบั่ว
 
ตามประวัติการก่อตั้งกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ. 1820 พญาภูคาพร้อมด้วยภรรยาคือนางจำปาหรือนางแก้วฟ้าและราษฎรประมาณ 220 คน ได้เดินทางมาจากเมือง เงินยาง มาพักอยู่ที่บริเวณบ้านเฮี้ย (ต.ศิลาแลง) จากนั้นได้ออกสำรวจหาพื้นที่สำหรับตั้งเมือง
บรรทัด 27:
 
 
ปี พ.ศ. 2246 พระเมืองราชาเจ้าเมืองน่านถูกพม่ามารบกวนอีก เจ้า[[เมืองเล็น]]ซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่านก็ถูกพม่ามารบกวนเช่นกัน จึงได้พากันหนีจากเมืองเล็นมาอยู่[[เมืองย่าง]]และได้ปกครองเมืองย่าง เจ้า[[มืองเล็น]]ท่านผู้นี้ได้พาราษฎรสร้างฝายน้ำบั่ว สร้างอารามสงฆ์ และ จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อบ้านหัวทุ่ง (บ้านนาคำปัจจุบัน) เมื่อเจ้าเมืองเล็นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านจึงได้แต่งตั้งนายปั๋น ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อว่า แสนปั๋น ท่านผู้นี้ได้ให้ราษฎรสร้างเหมือง ฝาย นาเหล่าม่อนเปรต (ม่อนเผด) สร้าง[[พระธาตุจอมพริก]] ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
 
ครั้นถึงสมัยที่มีการฟื้นม่านเมื่อราวปี 2330 เกิดนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ของ[[เจ้ากาวิลละ]] กองทัพเจ้าเจ็ดตน กองทัพเมืองน่านโดยเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองลำปาง สยาม และลาวหลวงพระบาง เจ้าจอมหงแห่งเชียงตุง ได้นำกองทัพขึ้นไปโจมตีหัวเมืองไทลื้อ แถบสิบสองปันนา ทำให้หัวเมืองลื้อทั้งหมดพ่ายแพ้แก่กองทัพล้านนา และสยาม จึงเป็นเหตุให้มีการอพยพชาวไทลื้อ [[เมืองยอง]] [[เมืองยู้]] [[เมืองเชียงลาบ]] จำนวนมากมาอยู่ในจังหวัดน่าน
 
ปี พ.ศ. 2345 แสนปั๋น เจ้าเมืองย่างถึงแก่กรรม และเมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้นพญาอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพญาภูคาแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก [[เมืองยอง]] เมืองยู้ [[เมืองเชียงลาบ]] ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง โดยโปรดให้นำช่างปั้นหม้อชาวไทลื้อให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านดอนไชย (ปัจจุบัน ขึ้นกับตำบลศิลาเพชร) เมืองเชียงลาบให้ตั้งบ้านเรือนที่ บริเวณลุ่มน้ำย่างใกล้พระธาตุจอมพริก ลื้อเมืองยอง ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พระธาตุจอมนาง และลื้อเมืองยู้ให้ตั้งบ้านเรือนที่ท้ายแม่น้ำย่าง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตำบลยม"