ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น รัสคิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} {{ใช้ปีคศ|width=260px}} [[Image:Frederick Hollyer John Ruskin 1894.jpg|thumb|260px |“จอห์น ร…
 
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
 
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ใช้ปีคศ|width=260px}}
[[Image:Frederick Hollyer John Ruskin 1894.jpg|thumb|260px |“จอห์น รัสคิน” ค.ศ. 1894 โดยช่างภาพ[[เฟรดเดอริค ฮอลล์เยอร์]] (Frederick Hollyer)]]
'''จอห์น รัสคิน''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: John Ruskin) ([[8 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1819]] – [[20 มกราคม]] [[ค.ศ. 1900]]) เป็น[[นักวิจารณ์ศิลปะ]] และนักคิดทางสังคมวิทยาชาวอังกฤษ นอกจากนั้นก็ยังเป็น[[นักประพันธ์]], [[กวี]] และ[[จิตรกร]] บทความเกี่ยวกับศิลปะและสถาปัตยกรรมเป็นข้อเขียนที่มีอิทธิพลต่อ[[สมัยวิคตอเรีย]]และ[[สมัยเอ็ดเวิร์ด]]
 
===เบื้องต้นและการศึกษา===
==ชีวประวัติ==
===เบื้องต้นและการศึกษา===
รัสคินเกิดใน[[ลอนดอน]] และเติบโตในบริเวณทางใต้ของลอนดอน เป็นลูกคนเดียวของผู้นำไวน์เข้าผู้ต่อมาร่วมก่อตั้งบริษัทที่กลายมาเป็น Allied Domecq รัสคินได้รับการศึกษาที่บ้านและต่อมาเข้าศึกษาต่อที่[[คิงส์คอลเลจ ลอนดอน]] (King's College London) และ[[ไครสต์เชิร์ช อ๊อกซฟอร์ด]] (Christ Church, Oxford)รัสคินสมัครในฐานะ “gentleman-commoner” ซึ่งเป็นนักเรียนที่ไม่ได้หวังว่าเข้าเรียนทุกสาขาวิชาจนครบคอร์ส การเลือกวิชาของรัสคินก็ไม่มีหลักเกณฑ์และมักจะขาดเรียน แต่กระนั้นรัสคินก็ยังสร้างความประทับใจให้แก่นักวิชาการที่ไครสต์เชิร์ช หลังจากนั้นก็ได้รับ “[[รางวัลนิวดิเกท]]” ในการเขียนโคลงกลอนซึ่งเป็นสิ่งแรกที่รัสคินสนใจ แม้ว่าจะป่วยอยู่นานในที่สุดอ๊อกซฟอร์ดก็มอบปริญญากิติมศักดิ์ชั้นสี่แก่รัสคิน
 
===งานเขียนสมัยแรก===
งานเขียนแรกเป็นงานที่เขียนเป็นตอนๆ ในนิตยสาร “Architecture Magazine” ระหว่างปี ค.ศ. 1836-1837 โดยใช้ชื่อ “Kata Phusin” (ภาษากรีก “ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ”) เรียกว่าเป็น “วรรณคดีแห่งสถาปัตยกรรม” ซึ่งเป็นงานเขียนเกี่ยวกับการศึกษากระท่อม, คฤหาสน์ และที่อยู่อาศัยอื่นๆ ที่เขียนจากพื้นฐานของความคิดเห็นของเวิร์ดสเวิร์ธที่ว่าสิ่งก่อสร้างควรจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและควรใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1839 รัสคินก็พิมพ์ใน “Transactions of the Meteorological Society” (หน้า 56-59) ในบทความ “ความเห็นเกี่ยวกับสถานะภาพปัจจุบันของอุตุนิยมวิทยาศาสตร์”