ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธเศรษฐศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
มีลิงก์ไปภาษาอื่นแทรกไว้
cat
บรรทัด 91:
==บทสรุป==
 
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเซียเอเชียอาจมองได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับวิธีการพัฒนาในทิศทางใหม่มากกว่าเป็นการคุกคามจากความเสื่อมถอยของระบบเศรฐกิจ วิกฤตการณ์นำไปสู่ประเด็นวิกฤตทางด้านการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่นำมาซึ่งความชั่วร้ายดังที่กล่าวมาแล้วเช่น ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยมและการเปลี่ยนบทบาทอย่างรวดเร็วของเงินตรา ซึ่งเร่งเร้าให้มีการสร้างความโลภขึ้นจาก ความรู้ไม่เท่าทันในกฎธรรมชาติชองความไม่มีตัวตนและกฏธรรมชาติอื่น ๆ
 
ภายในขอบเขตของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ความไม่รู้นี้ถูกส่งเสริมโดยแนวความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ ซึ่งไม่ได้รับการศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพียงพอโดยนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้ แนวความคิดถูกอธิบายอย่างหยาบ ๆ ที่ให้ทุกคนมีความสุขกับการบริโภค การบริโภคสินค้าและบริการจะอยู่ภายใต้ขอบเขตของงบประมาณที่จำกัด และไม่มีการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างบุคคล โดยเหตุนี้ ความคิดเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพ” ในการบริโภคจึงไม่มีความหมายอย่างเพียงพอต่อการโต้แย้งในกรอบของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ในการบริโภคก็ไม่มีเหตุผลย่างเพียงพอที่จะพูดถึง ดังนั้นการอภิปรายเกี่ยวกับประสิทธิภาพโดยรวมจึงไร้ความหมาย เช่นเดียวกันกับการอภิปรายถึงประสิทธิภาพในการผลิต
 
พุทธเศรษฐศาสตร์สามารถจัดการกับปัญหานี้อย่างได้ผลโดยผ่านทางแนวคิดเกี่ยวกับความสุขหรือการทำให้มีทุกข์น้อยที่สุด(แทนที่จะทำให้เกิดอรรถปรโยชน์สูงสุด) ในเบื้องต้นการอธิบายเกี่ยวกับทุกข์ว่าเป็นภาวะขัดแย้งกับกฎธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงและความไม่อยู่นิ่ง เพื่อที่จะเข้าใจให้ชัดเจนจะต้องตระหนักถึงความไม่มีตัวตนและกฎธรรมชาติอื่น ๆ แนวความคิดนี้นำไปสู่การอภิปรายถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งคือทุกข์ในระดับแรกซึ่งจะต้องตอบสนองโดยความจำเป็นขั้นพื้นฐาน แต่ทุกข์ในระดับที่สองเกิดขึ้นจากความต้องการหรือความอยากจอมปลอม ความพยายามที่จะสร้างความพึงพอใจทำให้เกิดความอยากซึ่งถูกกระตุ้นโดยความชั่วร้านสมัยใหม่ 4 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิบริโภคนิยมและเงินตรา วิธีการของชาวพุทธในการระงับความอยากอันจอมปลอมเหล่านี้ ผ่านการรับรู้ในแนวความคิดเกี่ยวกับ “ตัวตน” ว่าเป็นสิ่งลวงตา เพื่อให้ความทะยานอยากเหล่านี้ลดลง “เศรษฐศาสตร์ทางสายกลาง” ต้องได้รับการตระหนักให้ชัดเจนว่าแนวคิดนี้มีเหตุมีผลเพียงพอ แล้วจึงเริ่มต้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ซึ่งในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นมาแล้วในบางพื้นที่ของประเทศ คล้ายกับเป็นการสาธิตโดยการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศน์ในไร่นาขนาดเล็กและกลุ่มออมทรัพย์ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าเกิดจากการบริหารทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วในกรอบการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามในระดับนานาชาติที่การเคลื่อนย้ายของเงินทุนเป็นไปอย่างรวดเร็ว วิกฤตการณ์จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่รูปแบบใดก็แบบหนึ่ง จากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย จากความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ จากความไม่มั่นคงและความอ่อนไหวของระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กซึ่งได้รับเงินทุนจากต่างประเทศ ธรรมชาติของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามที่จริงจังเกี่ยวกับความยั่งยืนไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่กับประเทศเอเซียอื่น ๆ ทั้งหมด
 
==เอกสารอ้างอิง==
* '''อภิชัย พันธเสน''', พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์
 
[[Categoryหมวดหมู่:เศรษฐกิจ]]
==เอกสารอ้างอิง==
[[หมวดหมู่:เศรษฐกิจของประเทศไทย]]
'''อภิชัย พันธเสน''', พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์
 
{{โครงเศรษฐศาสตร์}}
 
[[Category:เศรษฐกิจ]]
[[Category:ประเทศไทย]]