ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ควิดดิช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนกลับไปรุ่นของ 61.7.135.29 ด้วยสจห.: ส่วนที่เพิ่มละเมิดลิขสิทธิ์จากหลายเว็บ
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
กีฬาควิดดิช เป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในโลกเวทมนตร์ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ โดยถือว่าเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้านพักนักเรียนแต่ละหลัง ซึ่งบ้านที่มักได้รับแชมป์ในการแข่งขัน คือ กริฟฟินดอร์
 
เส้น 4 ⟶ 5:
 
นอกจากนี้กีฬาควิดดิชยังได้รับความนิชมแพร่หลายทั่วโลก ถือว่าเป็นกีฬาสุดฮิตของประชานชนผู้วิเศษ โดยมีการจัดการแข่งขัน Quidditch World Cup โดยแต่ละครั้งจะมีนักกีฬาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ( ปรากฏในหนังสือเล่ม 4 ) และ นักกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้คือ วิกเตอร์ ครัม นักกีฬาทีมชาติบัลแกเรีย
 
 
== ประวัติ ==
 
===การละเล่นด้วยไม้กวาดในสมัยโบราณ===
 
กีฬาที่ใช้ไม้กวาดเริ่มขึ้นเกือบจะทันทีที่ไม้กวาดได้พัฒนามาพอที่ผู้บินสามารถเลี้ยวโค้ง และปรับอัตราความเร็วและความสูงได้ งานเขียนและภาพวาดของพ่อมดแม่มดในยุคต้นๆ ช่วยให้เรารู้ว่ามีการละเล่นใดบ้างที่บรรพบุรุษของเราชอบเล่น และหลายอย่างได้พัฒนาต่อมาเป็นกีฬาที่เรารู้จักดีในปัจจุบัน
การแข่งไม้กวาดประจำปีที่มีชื่อเสียงมากของสวีเดนเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้เล่นแข่งกันบินจากเมืองคอพพาเบิร์กไปยังเมืองอาร์จีพล็อก ซึ่งเป็นระยะทางมากกว่าสามร้อยไมล์เล็กน้อย เส้นทางนั้นต้องผ่านบริเวณเขตสงวนของมังกร ถ้วยรางวัลทำด้วยเงินใบใหญ่จึงทำเป็นรูปมังกรพันธุ์สวีเดนจมูกสั้น ทุกวันนี้การแข่งขันกลายเป็นงานระดับนานาชาติ พ่อมดแม่มดทุกเชื้อชาติจะมาชุมนุมกันที่คอพพาเบิร์กเพื่อเชียร์ผู้แข่งขันที่จุดเริ่มต้น แล้วหายตัวไปยังเมืองอาร์จีนพล็อก เพื่อแสดงความยินดีกับผู้ที่รอดมาได้
ภาพวาดที่มีชื่อเสียงชื่อ Gunther der Gewalttatige ist der Gewinner (กุนเทอร์จอมรุนแรงเป็นผู้ชนะ) ที่วาดเมื่อ ค.ศ.1105 แสดงถึงการละเล่นของเยอรมันในสมัยโบราณที่เรียกว่า สติชสต็อก (Stichstock) มีเสาสูงยี่สิบฟุตแขวนถุงกระเพาะปัสสาวะของมังกรที่เป่าลมไว้พอง ผู้เล่นคนหนึ่งที่ขี่อยู่บนไม้กวาด ได้รับมอบหมายให้เป็นคนป้องกันถุงกระเพาะปัสสาวะ คนเฝ้ารักษาถุงนี้มีเชือกผูกไว้ที่เอวพันไว้กับเสา ส่วนผู้เล้นคนอื่นก็ผลัดกันบินเข้ามาที่ถุงกระเพาะปัสสาวะ พยายามเจาะถุงให้แตกด้วยปลายด้ามไม้กวาดที่ฝนจนแหลมเป็นพิเศษ ผู้รักษาถุงกระเพาะปัสสาวะได้รับอนุญาตให้ใช้ไม้กายสิทธิ์สกัดกั้นการบุกรุกนี้ได้ การเล่นยุติลงเมื่อถุงถูกเจาะแตก หรือเมื่อผู้รักษาถุงสามารถเสกคาถาใส่คู่ต่อสู้ออกไปจากการแข่งขันได้หมด หรือถ้าผู้รักษาถุงนั้นล้มพับลงเพราะหมดแรง เกมสติชสต็อกนี้เลิกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ในไอร์แลนด์มีการเล่นเกมที่เรียกว่า ไอจินเจน (Aingingein) เป็นที่นิยมกว้างขวาง มีผู้แต่งเพลงโบราณเกี่ยวกับเกมนี้ไว้มากมายหลายเพลง (อ้างกันว่าฟิงกัลผู้ไร้ความกลัว พ่อมดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของไอร์แลนด์เป็นแชมเปี้ยนเกมไอจินเจนนี้) วิธีการเล่นคือ ผู้เลนแต่ละคนจะผลัดกันถือลูกบอลที่เรียกว่าดอม (คือถุงน้ำดีของแพะนั่นเอง) บินเร็วจี๋ผ่านแถวถังไม้ที่มีไฟลุงโพลง ถังไม้ตั้งอยู่บนเสาสูงลิบลิ่วในอากาศ เมื่อถึงถังใบสุดท้าย ต้องโยนลูกดอมลงไปในถัง ผู้เล่นที่สามารถบินพาลูกดอมไปถึงถังใบสุดท้ายได้ในเวลาที่เร็วที่สุด โดยไม่ติดไฟลุกไหม้ระหว่างทางถือว่าเป็นผู้ชนะ
สกอตแลนด์เป็นแหล่งกำเนิดการเล่นไม้กวาดที่อาจอันตรายที่สุดก็ว่าได้ เกมนี้เรียกว่าครีโอเชี่ยม (Creaothcean) เกมนี้มีกล่าวถึงในบทกลอนเศร้าบทหนึ่งในภาษาเกลิกที่ประพันธ์ไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 จากบทแรกเมื่อแปลแล้วมีใจความว่า
กลุ่มผู้เล่นสิบสองชายใจเริงร่า
หม้อใหญ่มารัดเทินหัวเตรียมตัวเหิน
เสียงแตรเป่าเขาทะยานสู่ฟ้าเพลิน
แต่เหลือเกินที่สิบชายต้องตายเอย
ผู้เล่นเกมนี้แต่ละคนจะมีหม้อใหญ่ผูกไว้บนหัว เมื่อเสียงเป่าแตรหรือเสียงกลองดังขึ้น ก้อนหินและหินก้อนใหญ่ๆนับร้อยๆก้อนที่ถูกเสกเป่าให้ลอยอยู่ประมาณร้อยฟุตเหนือพื้นดิน จะเริ่มร่วงหล่นมาใส่พื้น ผู้เล่นเกมครีโอเชี่ยนต้องพุ่งทะยานขึ้นไปในท้องฟ้า พยายามเก็บก้อนหินใส่หม้อบนหัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในบุคกลางเกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะพ่อมดขาวสกอตถือว่าเป็นสุดท้ายของการพิสูจน์ความกล้าหาญและความเป็นลูกผู้ชาย แม้จะมีคนตายเพราะเกมนี้เป็นจำนวนมากมายก็ตาม เกมนี้ถูกประกาศให้เป็นการเล่นที่ผิดกฎหมายเมื่อ ค.ศ.1762 และแม้ว่าแมกนัส แมกโดนัลด์ (สมญาว่าแมกนัสหัวบุบ) จะเป็นหัวหอกเรียกร้องให้นำกลับมาเล่นใหม่เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1960 กระทรวงเวทมนตร์ก็ปฏิเสณที่จะยกเลิกการสั่งห้าม
ซันต์บันส์ (Shuntbumps) เป็นเกมที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในเดวอน ประเทศอังกฤษ ลักษณะเหมือนกรเล่นชนทวนของอัศวินยุคกลาง จุดมุ่งหมายเดียวคือชนให้ผู้เล่นคนอื่นๆตกจากไม้กวาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คนสุดท้ายที่ยังนั่งอยู่บนไม้กวาดถือเป็นผู้ชนะ
สวีฟเวินฮอช (Swivenhodge) เริ่มเล่นในเฮียฟอร์ดเชอร์ เกมนี้เหมือนเกมสติชสต็อกตรงที่ว่าใช้ถุงกระเพาะปัสสาวะที่เป่าลมจนพอง แต่มักเป็นกระเพาะหมูมากกว่า คนเล่นนั่งกลับหลังบนไม้กวาด ใช้กิ่งไม้ที่ปลายไม้กวาดตีถุงกระเพาะให้ลอยไปข้างหน้าหรือกลับหลังข้ามรั้วต้นไม้ ผู้เล่นคนแรกที่ตีพลาดเสียหน่งแต้มให้คู่ต่อสู้ ข้างที่ได้ห้าสิบแต้มก่อนคือผู้ชนะ
เกมสวีฟเวินฮอชนี้ยังคงเล่นอยู่ในประเทศอังกฤษ แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วก็ตาม ส่วนเกมซันต์บัมส์ ตอนนี้เป็นแค่เกมของพวกเด็กๆ อย่างไรก็ตาม ที่หนองน้ำชื่อเควียดิช การละเล่นอย่างหนึ่งเกิดขึ้น และวันหนึ่งจะกลายเป็นกีฬาสุดยอดนิยมในโลกของผู้วิเศษ
 
===การละเล่นจากหนองน้ำเควียดิช===
 
ความรู้เรื่องการเริ่มต้นของเกมควิชดิชจากงานเขียนของแม่มดชื่อ เกอร์ตี้ เค็ดเดิล ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่ริมหนองน้ำเควียดิชในคริสต์ศวรรษที่ 11 โชคดีของเราที่เกอร์ตี้เขียนบันทึกประจำวันไว้ ปัจจุบันบันทึกนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ควิชดิชในกรุงลอนดอน ข้อความที่คัดมาข้างล่างนี้แปลมาจากต้นฉบับตัวจริงภาษาแซกซัที่สะกดผิดๆถูกๆ
“ วันอังคาร ร้อนชะมัด พวกคนที่อยู่อีกฝั่งของหนองมาเล่นกันอีกแล้ว เล่นเกมโง่ๆบนไม้กวาด ลูกบอล หนังใบเบ้อเริ่มหล่นแหมะลงมาบนแปลงกะหล่ำปลีของฉัน ฉันเลยว่าคาถาใส่เจ้าคนที่มาเก็บลูกซะเลย ฉันอยากเห็นเจ้าคนนั้นบินด้วยหัวเข่าที่หมุนกลับหลังไปหน้าจริงๆ ไอ้หมูตอนอ้วนขนยาว “
“ วันอังคาร เฉอะแฉะป็นบ้า ออกไปริมหนอง ไปเก็บต้นเน็ตเทิล พวกปัญญาอ่อนบนไม้กวาดมาเล่นกันอีกตามเคย ฉันแอบดูอยู่ประเดี๋ยวหนึ่งที่หลังก้อนหิน พวกมันมีลูกบอลใบใหม่ เล่นขว้างรับกันแล้วพยายามขว้างลูกบอลไปให้ติดบนต้นไม้ที่ปลายใดปลายหนึ่งของหนอง เฮอะ ! ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไรเลย “
“ วันอังคาร ลมแรงจริงๆ กวีนน็อกมาดื่มชาเน็ตเทิลกับฉัน แล้วชวนฉันออกไปเลี้ยงตอบแทนข้างนอก ลงท้ายนั่งดูเจ้าพวกกะโหลกทึบเล่นเกมที่หนอง ผู้วิเศษชาวสกอตตัวเบิ้มจากบนเขาก ็มาเล่นกับเขาด้วย ตอนนี้ พวกนั้นมีก้อนหินใหญ่ๆหนักๆ 2 ก้อนบินไปรอบๆ คอยชนคนเล่นให้ล้มตกจากไม้กวาด โชคไม่ดี ไม่มีใครตกจากไม้กวาดตอนที่ฉันดูอยู่ กวีนน็อกบอกฉันว่าเค้าเองก็เล่นเกมนี้บ่อยๆ เฮอะ ! กลับบ้านด้วยความสะอิดสะเอียนใจ “
ข้อความที่คัดมานี้ให้ความรู้กระจ่างแก่เรามากกว่าที่เกอร์ตี้ เค็ดเดิลจะคาดคิด นอกจากเรื่องว่าเธอรู้จักชื่อวันแค่วันเดียวในสัปดาห็แล้ว ความรู้ประการแรกคือ ลูกบอลที่หล่นลงมาในแปลงกะหล่ำปลีของเธอทำจากหนังเหมือนกับลูกควัฟเฟิลในปัจจุบันแน่นอน เพราะว่าลูกบอลที่ทำจากถุงกระเพาะเป่าลมให้พองในเกมการเล่นด้วยไม้กวาดอื่นๆ ในยุคนั้นคงยากที่จะขว้างให้ได้แม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อลมพัดแรงจัก ประการที่ 2 เกอร์ตี้เล่าให้เราฟังว่าพวกคนเล่นพยายามขว้างลูกบอลไปให้ติดต้นไม้ที่ปลายใดปลายหนึ่งของหนอง เห็นได้ชัดว่านี้เป็นการทำคะแนนในช่วงยุคต้นๆ ประการที่ 3 เธอทำให้เราเห็นต้นกำเนิดของลูกบลัดเจอร์ด้วยนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือว่า ผู้วิเศษชาวสกอตตัวเบิ้ม ปรากฏตัวด้วย เป็นไปได้ไหมว่าเขาเป็นผู้เล่นเกมครีโอเชี่ยนเป็นความคิดของเขาหรือเปล่าที่เสกให้ก้อนหินใหญ่ๆ บินพุ่งเร็วจี๋และอันตรายไปรอบๆสนาม โดยได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนหินใหญ่ที่ใช้ในการเล่นเกมประจำชาติของเขา
เราไม่พบหลักฐานอื่นที่กล่าวถึงกีฬาที่เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิชอีกจนกระทั่งหนึ่งศตวรรษต่อมา เมื่อพ่อมดชื่อกู๊ดวิน นีน จับปากกาขนนกเขียนจดหมายถึงลูกพี่ลูกน้องชาวนอร์เวย์ชื่อโอลาฟ นีน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ยอร์กเชอร์ จากจดหมายนี้แสดงให้เห็นว่ากีฬานี้ได้เผยแพร่ไปเกาะบริเตนในช่วง 100 ปีหลังจากที่เกอร์ตี้ ได้เห็นการเล่นนี้ป็นคนแรก
จดหมายของนีน เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุของกระทรวงเวทมนตร์นอร์เวย์
โอลาฟที่รัก
 
เป็นไงบ้าง ฉันสบายดี แม้ว่ากันฮิลด้าจะเป็นโรคอีสุกอีใสมังกรนิดหน่อยก็ตาม
เราเล่นเกมควิชดิชกันสนุกมากเมื่อคืนวันเสาร์ แม้ว่ากันฮิลด้าที่น่าสงสารจะเล่นเป็นแคตเซอร์ไม่ได้ และเราต้องให้ราดอล์ฟ ช่างตีเหล็กเป็นแทน ทีมจากอิลกลีเล่นได้ดีแต่ไม่ใช่คู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกับทีมของเราหรอก เพราะเราซ้อมหนักมาตลอดเดือนและทำคะแนนได้ถึง 42 หนแน่ะ ราดอล์ฟถูกลูกบลัดเดร์ฟาดหัวเอาเพราะตาแก่อุกก้าใช้กระบองได้ไม่เร็วพอ ถังไม้ที่ใช้ทำแต้มแบบใหม่นี้ใช้ได้ดีทีเดียว เราแขวนถังไม้ไว้ 3 ใบที่ปลายเสาสูง อูน่าจากโรงแรมเป็นคนให้ถังพวกนี้กับเรา เธอยังให้พวกเรากินเหล้ามี้ดได้ฟรีตลอดคืนเลยด้วยแหละเพราะพวกเราชนะ กันฮิลด้ายัวะนิดหน่อยที่ฉันกลับบ้านดึกมาก ฉันต้องมุดหลบคาถาร้ายๆตั้งหลายคาถา แต่ยังไงๆฉันก็ได้นิ้วมือกลับคืนมาครบแล้วละตอนนี้
ฉันส่งจดหมายนี้มากับนกฮูกตัวดีที่สุดที่ฉันมี หวังว่ามันคงส่งได้สำเร็จนะ
จากญาติของนาย
กู๊ดวิน
ตอนนี้เราเห็นว่ากีฬาควิชดิชได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากเพียงใดในช่วง 1 ศตวรรษ ภรรยาของกู๊ดวินควรมีหน้าที่เล่นเป็น แคตเชอร์ คำนี้หน้าจะเป็นศัพท์เก่าที่หมายถึงเชสเซอร์ ลูกบลัดเดอร์ ( ไม่ต้องสงสัยเลยคือลูกบลัดเจอร์นั่นเอง ) ที่ชนราดอล์ฟช่างเหล็กน่าจะถูกอุกก้าปัดออกไป เห็นได้ชัดๆว่าอุกก้าเล่นเป็นบีตเตอร์เพราะถือกระบอง ต้นไม้ไม่ใช่ประตูอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นถังไม้ที่แขวนไว้บนปลายเสาสูง อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบสำคัญมากอย่างหนึ่งในการเล่นนี้ยังขาดหายไป นั่นคือ ลูกสนิชสีทอง ลูกบอลลูกที่ 4 ในเกมควิชดิชยังไม่ปรากฏโฉมในเกมนี้จนถึงกลางคริสต์ศวรรษที่ 13 และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกมด้วยวิธีการประหลาดมากทีเดียว
 
===ลูกสนิชสีทองปรากฏโฉม===
 
นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เรื่อยมา การล่านกสนิดเจ็ต(ปัจจุบันเป็นนกที่ได้รับการคุ้มครอง)เป็นกีฬาที่นิยมมมากในหมู่พ่อมดแม่มด เนื่องจากนกสนิดเจ็ตมีขนาดเล็กจิ๋ว ทั้งบินได้คล่องแคล่วว่องไวมากและเก่งเป็นเยี่ยมเรื่องหลบหลีกสัตว์ที่ไล่ล่ามันเป็นอาหาร พ่อมดแม่มดที่จับนกนี้ได้จึงมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือยิ่งนัก
การล่านกสนิดเจ็ตเป็นสิ่งที่น่าประณามในหลายกรณีด้วยกัน พ่อมดที่มีความคิดคนไหนก็ตามคงต้องสลดใจกับการอ้างกีฬามาทำลายนกตัวน้อยๆที่รักสงบเช่นนี้ ยิ่งไปกว่านั้น การล่านกสนิดเจ็ตซึ่งมักทำกันกลางแจ้งตอนกลางวัน ทำให้พวกมักเกิ้ลมีโอกาสเห็นไม้กวาดบินได้ยิ่งกว่าการไล่ล่าสัตว์อื่นๆทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม สภาพ่อมดแม่มดในสมัยนั้นไม่สามารถลดทอนความนิยมไล่ล่านกสนิดเจ็ตลงได้เลยและที่จริง ดูเหมือนว่าสภาเองก็ไม่เห็นว่าการล่านี้จะผิดร้ายกาจตรงไหน
ในที่สุดการล่านกสนิดเจ็ตมาเกี่ยวโยงกับการเล่นควิดดิชเมื่อค.ศ.1296 ครั้งที่บาร์เบรียส แบรกกี้ ประธานของสภาพ่อมดมาร่วมชมการแข่งขันควิดดิชด้วย และนำนกสนิดเจ็ตซึ่งถูกขังอยู่ในกรงมาที่การแข่งขัน และประกาศแก่ผู้เล่นที่ชุมนุมกันในสนามว่า เขาจะให้เงินจำนวน หนึ่งร้อยห้าสิบเกลเลียน เป็นรางวัลสำหรับผู้เล่นที่จับนกสนิดเจ็ตได้ระหว่างการแข่งขัน ซึ่งทำให้ผู้เล่นทั้งหมดต่างมุ่งที่จะไล่ล่านกสนิดเจ็ต ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายเป็นอันมาก
นับจากนั้นเป็นต้นมา นกสนิดเจ็ตสีทองก็ถูกปล่อยออกมาในการแข่งขันควิดดิชทุกครั้ง ผู้เล่นหนึ่งคนในแต่ละทีม(ฮันเตอร์)มีหน้าที่เดียวคือไล่จับนกให้ได้ เมื่อนกถูกฆ่าเกมก็ยุติ และทีมของฮันเตอร์ได้หนึ่งน้อยห้าสิบแต้มเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ(เพื่อระลึกถึงเงินจำนวน 150 เกลเลียนที่ประธานแบรกกี้เคยสัญญาไว้
อย่างไรก็ตาม ประมาณกลางศตวรรษต่อมา นกสนิดเจ็ตสีทองลดจำนวนลงมาก จนกระทั่งสภาพ่อมดต้องประกาศให้เป็นสัตว์คุ้มครอง และห้ามทั้งฆ่าหรือใช้นกนี้ในเกมควิดดิชด้วย
ต้องยกความดีให้แก่พ่อมดชื่อโบมัน ไรต์ แห่งกอดดริกส์ ฮอลโลว์ ในการประดิษฐ์ลูกสนิชสีทอง มาใช้ในกีฬาควิดดิชแทนนกสนิดเจ็ต ไรต์ซึ่งเป็นนักเสกเป่าโลหะที่ชำนาญ กลับมาตั้งเป้าหมายกับตนเองว่า เขาจะประดิษฐ์ลูกบอลที่เลี ยนแบบพฤติกรรมนกสนิดเจ็ตให้ได้ ไรต์ เรียกประดิษฐกรรมของเขาว่า สนิชสีทอง มันเป็นลูกบอลขนาดเท่าลูกวอลนัต มีน้ำหนักเท่านกสนิดเจ็ตพอดิบพอดี ปีกเงินทั้งสองข้างมีข้อต่อที่หมุนได้รอบเหมือนนกสนิดเจ็ต ทำให้ลูกบอลนี้เปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วดังสายฟ้า ทั้งเทียงตรง แม่นยำ เหมือนนกต้นแบบจริงๆ อย่างไรก็ตาม ลูกบอลนี้ถูกลงคาถาให้คงอยู่ในขอบเขตของสนามเสมอ อาจกล่าวได้ว่า การนำสนิชสีทองเข้ามาใช้ ทำให้กระบวนการพัฒนากีฬาควิดดิชซึ่งเริ่มมาเมื่อสามร้อยปีก่อนที่หนองน้ำเควียดิชสำเร็จเรียบร้อย และกีฬาควิดดิชได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างแท้จริงแล้ว
 
===การสกัดกั้นพวกมักเกิ้ล===
 
ใน ค.ศ.1398 พ่อมดชื่อ แซกคาเรียส มัมส์ ได้ลงมือเขียนคำอธิบายที่สมบูรณ์เกี่ยวกับกีฬาควิดดิชเป็นครั้งแรก เขาเริ่มต้นโดยเน้นความจำเป็นที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยจากพวกมักเกิ้ลระหว่างการแข่งขัน 'เลือกบริเวณทุ่งในที่ราบสูงที่เปลี่ยวๆ ให้ไกลจากที่อยู่ของมักเกิ้ล และให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครเห็นเวลาที่บินขึ้นไปบนไม้กวาดแล้ว คาถาสกัดมักเกิ้ลมีประโยชน์ถ้าต้องการจัดตั้งสนามถาวร ขอแนะนำให้เล่นแต่ตอนกลางคืนด้วย'
เราพอสรุปได้ว่าคำแนะนำที่ดีเยี่ยมของมัมส์ไม่ได้มีคนทำตามเสมอไป เพราะเมื่อ ค.ศ.1362 สภาพ่อมดต้องประกาศว่าการแข่งขันควิดดิชใดๆในเขตห้าสิบไมล์รอบๆเมืองนั้นผิดกฎหมาย เห็นได้ชัดว่ากีฬานี้เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะพอถึง ค.ศ.1368 สภาฯพบว่าจำเป็นต้องแก้ไขข้อห้ามนี้ และประกาศว่าการเล่นควิดดิชภายในเขตร้อยไมล์รอบเมืองนั้นผิดกฎหมาย ใน ค.ศ.1419 สภาฯได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่ขึ้นชื่อมากเรื่องการใช้คำได้เยี่ยมยอด กฎหมายนี้ระบุว่า ไม่ควรเล่นควิดดิช 'ที่ไหนก็ตามที่อยู่ใกล้สถานที่ซึ่งแม้จะมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่มักเกิ้ลคนหนึ่งอาจมองเห็นได้ หรือมิฉะนั้นเราจะได้เห็นกันว่าคุณจะเล่นได้เก่งเพียงใดเมื่อถูกล่ามโซ่โยงไว้กับกำแพงคุกใต้ดิน'
ดังเช่นที่พ่อมดวัยเรียนทุกคนรู้ดี ข้อเท็จจริงที่ว่าเราบินได้ด้วยไม้กวาดน่าจะเป็นความลับของพ่อมดแม่มดที่เก็บรักษาไว้ได้แย่ที่สุด ไม่มีรูปวาดแม่มดของพวกมักเกิ้ลรูปไหนจะถือว่าสมบูรณ์ถ้าปราศจากไม้กวาด และแม้ว่ารูปวาดนั้นจะน่าหัวเราะเยาะแค่ไหนก็ตาม (เพราะว่าไม่มีไม้กวาดอันไหนเลยที่พวกมักเกิ้ลวาดจะลอยนิ่งอยู่ในอากาศได้สักหนึ่งนาที) รูปเหล่านี้เตือนใจเราว่าพวกเรานั้นทำอะไรสะเพร่ามาหลายศตวรรษแล้ว ฉะนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจเลยที่ว่า ไม้กวาดกับเวทมนตร์จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกันจนแยกจากกันไม่ออกในความคิดของมักเกิ้ล
มาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอไม่ได้บังคับใช้จนกระทั่ง บทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับของพ่อมด ค.ศ.1692 ออกมากำหนดให้กระทรวงเวทมนตร์ทุกแห่งรับผิดชอบโดยตรงกับผลใดๆ ก็ตามที่เกิดจากการเล่นกีฬาเวทมนตร์ในอาณาเขตของตน กฎหมายนี้มีผลให้ในเกาะบริเจนมีการตั้งกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ขึ้นนับแต่นั้นมา ทีมควิดดิชทีมใดที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงจะถูกบังคับให้ยุบเลิกทีม ตัวอย่างที่รู้กันดี คือทีมแบนโชลี่ แบงเกอส์ ของสกอตแลนด์ ที่ไม่ใช่มีชื่อเสียงเลื่องลือแค่เรื่องเล่นควิดดิชไม่เอาไหนเลยเท่านั้น ยังขึ้นชื่อเสียงเรื่องการจัดงานปาร์ตี้หลังการแข่งขันอีกด้วย หลังจกาแข่งขัน ค.ศ.1814 กับทีมแอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์สแล้ว (ดูบทที่ 7) พวกแบงเกอส์ไม่เพียงแต่ปล่อยให้ลูกบลัดเจอร์เหาะหนีไปในคืนนั้น พวกเขายังออกไล่ล่ามังกรพันธุ์เฮบริเดียนสีดำมาเป็นสัญลักษณ์นำโชคประจำทีมอีกด้วย ตัวแทนจากกระทรวงเวทมนตร์หลายคนไล่จับพวกเขาได้ขณะกำลังบินข้ามเมืองอินเวอร์เนส และหลังจากนั้นทีมแบนโชลี่แบงเกอส์ก็ไม่เคยได้เล่นอีกเลย
ปัจจุบันนี้ ทีมควิดดิชไม่ได้เล่นในท้องถิ่นของตนเองอีกต่อไปแล้ว ทุมทีมต้องเดินทางไปเล่นตามสนามต่างๆที่กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์กำหนดไว้ ที่นั่นจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสกัดมักเกิ้ลไว้อย่างเหมาะสม ดังเช่นที่แซกคาเรียส มัมส์แนะนำไว้อย่างถูกต้องเมื่อหกร้อยปีก่อนว่า สนามควิดดิชที่ปลอดภัยที่สุดเป็นทุ่งในที่ราบสูงที่อยู่ห่างไกล
 
 
===การเปลี่ยนแปลงในกีฬาควิดดิชตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14===
'''สนาม'''
 
แซกคาเรียส มัมส์ บรรยายสภาพสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่าเป็นรูปไข่ ยาวห้าร้อยฟุตและกว้างหนึ่งร้อยแปดสิบฟุต มีวงกลมเล็กๆ ตรงกลาง (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองฟุต) มัมส์เล่าว่ากรรมการ (หรือที่เรียกกันในเวลานั้นว่าควีจัดจ์) ถือลูกบอลสี่ลูกในวงกลมตรงกลางนี้โดยที่มีผู้เล่นสิบสี่ คนยืนอยู่รอบๆ ทันทีที่ลูกบอลถูกปล่อยลอยไป (กรรมการขว้างลูกควัฟเฟิล ดูเรื่อง ควัฟ-เฟิล ที่อยู่ถัดไป) ผู้เล่นจะแข่งกันบินขึ้นไปในอากาศ ในสมัย อากาศ ในสมัยของมัมส์ ประตูนั้นยังคงเป็นตะกร้าใบใหญ่แขวนบนเสาสูง
เมื่อ ค.ศ. 1620 ควินตัส อัมฟราวิลล์ เขียนหนังสือเรื่อง กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ มีภาพแผนผังสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 17 รวมอยู่ด้วย เราจะเห็นว่า มีการเพิ่มสิ่งที่เรารู้จักกันว่าเป็น 'เขตทำคะแนน' (ดูเรื่อง กติกา ในตอนต่อไป) ตะกร้าที่บนยอดเสานั้นเล็กและอยู่สูงกว่าในสมัยของมัมส์
พอถึง ค.ศ. 1883 เลิกใช้ตะกร้าในการทำคะแนน และเปลี่ยนมาใช้เสาประตูดังเช่นที่ใช้กันทุกวันนี้ มีรายงานเรื่องประดิษฐกรรมใหม่นี้ในหนังสือพิมพ์ เดลี่พรอเฟ็ต สมัยนั้น สนามควิดดิชไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปนับตั้งแต่นั้นมา
เอาตะกร้าของเราคืนมา!
นี่เป็นเสียงร้องที่ได้ยินจากแฟนๆควิดดิชทั่วประเทศเมื่อคืนวานนี้ เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่ากองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ตัดสินให้เผาตะกร้าที่ใช้เป็นประตูเกมควิดดิชนับเป็นร้อยๆปีทิ้งไป
'เราไม่ได้เผาตะกร้าเสียหน่อย อย่าพูดให้มันเกินจริงไปสิ' ผู้แทนกองฯที่มีสีหน้าหงุดหงิดเอ่ยเมื่อคืนวานนี้ เมื่อเขาถูกขอร้องให้ออกความเห็น 'ตะกร้าน่ะ ก็อย่างที่พวกคุณเห็นมีตั้งหลายขนาด เราเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ตะกร้ามีขนาดเท่าๆกัน เพื่อให้เสาประตูทั่วประเทศเท่าๆกันด้วย พวกคุณก้น่าจะเห็นชัดๆว่าเป็นเรื่องของความยุติธรรมนะคุณ ผมหมายความว่า มีทีมหนึ่งที่อยู่ใกล้เมืองบาร์นต้น พวกเขามีตะกร้าใบเล็กกระจิ๋วแขวนไว้บนเสาทีมฝ่ายตรงข้าม ตะกร้าน่ะเล็กจนกระทั่งคุณโยนลูกองุ่นไม่ลง และที่บนเสาฝ่ายตัวเองก็แขวนตะกร้าหวายใหญ่เหมือนปากถ้ำแกว่งไปมา มันไม่ถูกต้องเลย เราถึงตกลงให้เป็นห่วงที่มีขนาดมาตรฐานกำหนดแน่นอน แล้วเป็นอันจบเรื่องทุกอย่าง คราวนี้ก็เรียบร้อยและยุติธรรม'
มาถึงตอนนี้ ผู้แทนของกองฯถูกแฟนควิดดิชที่ชุมนุมกันอยู่ในห้องประชุมขว้างตะกร้าใส่มากมายเหมือนลูกเห็บตก ถึงต้องหลบฉากไปก่อน แม้ว่าการจลาจลที่เกิดตามมาจะถูกกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของพวกก๊อบลินนักก่อความวุ่นวาย แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าแฟนควิดดิชทั่วเกาะบริเตนคืนนี้ ต่างก็เศร้าโศกเสียใจกับจุดจบของกีฬาที่เรารู้จัก
'มันม่ายเหมือนเดิมหรอก ไม่มีตะกร้าเนี่ย' พ่อมดแก่แก้มห้อยย้อยเหมือนลูกแอปเปิ้ลพูดยานคางอย่างเศร้าใจ 'ตาจำได้เมื่อตาเด็กๆ เราเผาตะกร้ากันระหว่างเกมให้ได้หัวร่อกันบ้าง แล้วจะทำอย่างนั้นกับประตูที่เป็นห่วงเหล็กไม่ได้หรอก
 
 
'''ลูกบอล
ควัฟเฟิล'''
 
เรารู้จากบันทึกของเกอร์ตี้ เค็ดเดิล ว่าลูกควัฟเฟิลในยุคแรกนั้นทำจากหนัง ในบรรดาลูกบอลทั้งสี่ลูกใน เกมควิดดิช ควัฟเฟิลเป็นลูกบอลเดียวที่ไม่ได้ลงคาถาไว้ตั้งแต่ต้น เป็นเพียงลูกบอลที่ทำจากแผ่นหนังเย็บปะติดปะต่อกัน ส่วนมากมักมีสายหนังยื่น มาให้จับและขว้างได้ด้วยมือเดียว ลูกควัฟเฟิลสมัยโบราณมีรูให้สอดนิ้วเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบคาถาเกาะติดใน ค.ศ.1875 สายหนังและรูนิ้ว มือก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ในเมื่อเชสเซอร์สามารถใช้มือข้างเดียวก็จับลูกหนังที่ลงคาถาได้โดยไม่ต้องมีเครื่องช่วยอื่นๆ
ควัฟเฟิลปัจจุบันมีเส้นผ่าศูนย์ กลางสิบสองนิ้ว และไม่มีตะเข็บเลย ตอนแรกในการแข่งขันฤดูหนาวปี ค.ศ.1711 ลูกควัฟเฟิลมีสีแดง หลังจากที่ฝนตกหนักมากทำให้สีของควัฟเฟิล ไม่ต่างจากสีโคลนในสนามทุกครั้งที่มันตกลงไป นอกจากนี้ พวกเชสเซอร์ยังหงุดหงิดมากที่ต้องบินดิ่งลงไปยังพื้นสนามอยู่เรื่อยๆ เพื่อเก็บลูก ควัฟเฟิลกลับมาทุกครั้งที่ลูกควัฟเฟิลเปลี่ยนสี แม่มดชื่อ เดซี่ เพนนีโฟลด์ ก็เกิดความคิดเสกควัฟเฟิลว่า ถ้ามันตก ให้ค่อยๆ ตกลงไปที่พื้นเหมือน กับว่ามันกำลังจมลงไปในน้ำ หมายความว่าเชสเซอร์สามารถบินลงไปคว้าควัฟเฟิลที่ตกมาได้กลางอากาศ 'ควัฟเฟิลเพนนีโฟลด์' ยังคงใช้กันอยู่จน ทุกวันนี้
 
'''บลัดเจอร์'''
 
ในสมัยแรก อย่างที่เรารู้กัน บลัดเจอร์ (หรือบลัดเดอร์) คือก้อนหินบิน และในยุคของมัมส์ก็พัฒนาเป็นหินที่เกลาให้เป็นรูปลูกบอล อย่างไรก็ตาม บลัดเจอร์หินนี้มีข้อเสียที่สำคัญมากคือ มันแตกได้ถ้ามีบีตเตอร์ตีด้วยไม้ที่เพิ่มพลังเวทมนตร์ซึ่งประดิษฐ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้เล่นทุก คนต่างก็ต้องถูกก้อนกรวดบินไล่ตามตลอดเกมการแข่งขัน
คงจะเป็นด้วยเหตุผลนี้เอง ต้นศตวรรษที่ 16 ทีมควิดดิชบางทีจึงเริ่มทดลองใช้ลูกบลัดเจอร์ทำจากโลหะแทน อากาธา ชับบ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ ประดิษฐกรรมเวทมนตร์โบราณพบลูกบลัดเจอร์ทำด้วยตะกั่วไม่น้อยกว่าสิบสองลูกที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ยุคนั้น โดยพบทั้งในหนองถ่านหินของ ไอร์แลนด์ และที่หนองน้ำในประเทศอังกฤษ เธอเขียนไว้ว่า 'ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกนี้คือลูกบลัด-เจอร์ มันไม่ใช่ลูกปืนใหญ่แน่นอน'
เราเห็นรอยมากจางๆ บนไม้ตีที่เพิ่มพลังด้วยเวทมนตร์ และเรายังเห็นร่องรอยที่เป็นเครื่องหมายบอกว่าผลิตโดยพ่อมดได้ชัดเจน (ตรงข้ามกับของที่ผลิตโดยมักเกิ้ล) คือ เส้นนั้นราบเรียบและมีส่วนสัดรับกันอย่างสมบูรณ์ ร่องรอยสุดท้ายคือลูกตะกั่วเหล่านี้ทุกลูกบินหวือรอบๆ ห้องทำงานของข้าพเจ้า และพยายามพุ่งชนข้าพเจ้าให้ล้มกระแทกพื้นทันทีที่ปล่อยมันออกมาจากกล่อง
ในที่สุดพบว่าตะกั่วนั้นก็ยังอ่อนเกินไปที่จะใช้ ผลิตบลัดเจอร์ (รอยบุบเบี้ยวใดๆ ที่ปรากฏอยู่บนบลัดเจอร์มีผลกระทบต่อความสามารถในการบินให้ตรงของบลัดเจอร์) ปัจจุบันนี้ บลัดเจอร์ทุกลูกทำด้วยเหล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวสิบนิ้ว
บลัดเจอร์ถูกเสกให้ไล่ตามผู้เล่นโดยไม่แยกแยะ ถ้าปล่อยให้บลัดเจอร์เป็นไปตามธรรม-ชาติของมัน บลัดเจอร์จะบุกใส่ผู้เล่นที่อยู่ใกล้มันที่สุด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของบีตเตอร์ที่จะหวดไล่บลัดเจอร์ไปให้ไกลจากทีมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ลูกโกลเด้นสนิช
 
ลูกสนิชสีทองมีขนาดเท่าลูกวอลนัต เช่นเดียวกับนกสนิดเจ็ต ลูกสนิชสีทองถูกเสกให้หนีการไล่จับให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเรื่องเล่ากันว่าลูกสนิชสี ทองลูกหนึ่งหนีการไล่จับอยู่นานถึงหกเดือนที่ทุ่งโบ๊ดมินมัวร์ ใน ค.ศ.1884 ในที่สุด ทั้งสองทีมต่างยอมแพ้ เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับความไม่เอาไหน ของซีกเกอร์ฝ่ายตน พ่อมดจากแคว้นคอร์นวอลที่คุ้นเคยกับบริเวณดังกล่าวยืนยันมาจนทุกวันนี้ว่า ลูกสนิชยังคงมีชีวิตอยู่ในทุ่งที่ราบสูงนั้น แต่ ข้าพเจ้าเองไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเรื่องนี้เป็นความจริง
 
'''ผู้เล่น
คีปเปอร์'''
 
ตำแหน่งคีปเปอร์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 อย่างแน่นอน (ดูบทที่ 4) แม้ว่าหน้าที่จะเปลี่ยนไปจากสมัยนั้นก็ตาม
ตามที่แซกคาเรียส มัมส์ เล่าไว้ คีปเปอร์...
...ควรเป็นคนแรกที่ไปถึงตะกร้าที่เสาประตู เพราะเป็นหน้าที่ของเขาที่จะป้องกันไม่ให้ลูกควัฟเฟิลเข้าไปในตะกร้า คีปเปอร์ควรระวังตัวไม่ให้บินเข้าไป ทางปลายสนามอีกด้านเกินไปเพราะว่าตะกร้าของเขาอาจถูกอีกฝ่ายบุกทำแต้มได้ในช่วงที่เขาไม่อยู่ใกล้ อย่างไรก็ตามคีปเปอร์ที่บินได้เร็วอาจสามารถ ทำคะแนนให้ทีมของตนได้ และยังสามารถบินกลับไปที่ตะกร้าได้ทันเวลาที่จะป้องกันทีมคู่ต่อสู้ไม่ให้ทำแต้มเสมอได้ นี่เป็นเรื่องความรู้สึกรับผิดชอบส่วน ตัวของคีปเปอร์แต่ละคน
จากข้อความข้างต้นนี้เห็นได้ชัดว่าในสมัยของมัมส์ คีปเปอร์ทำหน้าที่เหมือนเชสเซอร์แต่มีความรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติม พวกเขาได้รับอนุญาตให้บิน ไปได้ทั่วสนามและทำคะแนนได้ด้วย
แต่เมื่อถึงสมัยที่ควินตัส อัมฟราวิลล์ เขียนเรื่อง กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ เมื่อ ค.ศ.1620 หน้าที่ของคีปเปอร์ง่ายขึ้น มีการเพิ่มเขตทำคะแนนเข้ามาใน สนาม และกำหนดให้คีปเปอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าว คอยป้องกันตะกร้าของตน คีปเปอร์จะบินออกมาจากบริเวณนั้นได้ในกรณีที่ต้องการข่มขวัญ เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้าม หรือผลักดันให้เชสเซอร์บินหลบหลีกไปตั้งแต่เนิ่นๆ
'''บีตเตอร์'''
 
ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา หน้าที่ของบีตเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตำแหน่งของบีตเตอร์นี้น่าจะมีมาตั้งแต่เมื่อนำลูกบลัดเจอร์เข้ามาเล่นด้วย หน้าที่แรกของบีตเตอร์คือป้องกันสมาชิกจากลูกบลัดเจอร์ โดยมีไม้ตีเป็นเครื่องช่วย (ตอนแรกนั้นใช้กระบอง ให้ดูจดหมายของกู๊ดวิน นีน ในบทที่ 3) พวกบีตเตอร์ไม่เคยเป็นผู้ทำประตูเลย และไม่เคยมีหลักฐานบ่งบอกว่าพวกเขาเคยรับส่งลูกควัฟเฟิลด้วย
ผู้ที่เป็นบีตเตอร์นั้น ร่างกายต้องแข็งแรงมากเพื่อจัดการขับไล่ลูกบลัดเจอร์ให้ได้ อาจเป็นด้วยเหตุนี้ พวกพ่อมดจึงจับจองเล่นตำแหน่งนี้มากกว่าแม่มด และมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ในควิดดิช บีตเตอร์ยังต้องมีความสามารถเรื่องการเลี้ยงตัวอย่างดีเยี่ยมด้วย เพราะว่าหลายหนทีเดียวที่พวกเขาจำเป็น ต้องปล่อยมือทั้งสองจากไม้กวาด เพื่อจะได้ฟาดลูกบลัดเจอร์ได้ด้วยท่าบุกสองมือ
'''เชสเซอร์'''
 
เชสเซอร์เป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในกีฬาควิดดิช เพราะเกมนี้ครั้งหนึ่งมีแต่การเล่นทำคะแนนให้ได้ เชสเซอร์ขว้างควัฟเฟิลไปให้ผู้เล่นอื่นๆในทีมเดียวกัน และจะได้สิบแต้มทุกครั้งที่ปาลูกควัฟเฟิล ผ่านลงห่วงประตูห่วงใดห่วงหนึ่
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างเดียวในการเล่นของเชสเซอร์เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1884 หนึ่งปีหลังจากที่มีการใช้ห่วงประตูแทนตะกร้า กติกาใหม่ที่นำมาใช้ กำหนดว่าเฉพาะเชสเซอร์ที่ถือลูกควัฟเฟิลเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตทำคะแนน ถ้ามีเชสเซอร์มากไปกว่าหนึ่งคนเข้าไปในเขตดังกล่าว ให้ถือว่าประตูที่ทำได้เป็นโมฆะไป กติกาข้อนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อยกเลิกกลยุทธ์การเล่นแบบ 'สตูจิ้ง' (ดูเรื่อง 'การเล่นผิดกติกา' ที่อยู่ต่อจากนี้) การเล่นแบบนี้เชสเซอร์สองคนจะเข้าไปในเขตทำคะแนนและช่วยกันกระแทกคีปเปอร์ให้กระเด็นออกไป ทั้งให้บริเวณห่วงทำคะแนนนั้นว่างไม่มีคนรักษา เป็นโอกาสให้เชสเซอร์คนที่สามทำแต้มได้ หนังสือพิมพ์ เดลี่พรอเฟ็ต ที่ออกช่วงนั้นรายงานปฏิกิริยาต่อต้านกติกาใหม่นี้
เชสเซอร์ของเราไม่ได้โกง
คืนวานนี้แฟนควิดดิชมีอาการตกตะลึงมึนงงไปทั่วเกาะบริเตน เมื่อกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ประกาศว่า การเล่นแบบ 'สตูจิ้ง' นั้นผิดกติกา
'การเล่นแบบสตูจิ้งเพิ่มขึ้นทุกที' ผู้แทนของกองฯที่ดูอ่อนเพลียแถลงเมื่อคืนวาน 'เรารู้สึกว่ากติกาใหม่นี้จะช่วยลดการบาดเจ็บร้ายแรงของคีปเปอร์ที่เราเห็นอยู่เรื่อยๆนี้เสียที ตั้งแต่นี้ต่อไป เชสเซอร์คนเดียวจะพยายามเอาชนะคีปเปอร์แทนที่จะเป็นเชสเซอร์สามคนรุมคีปเปอร์คนเดียวอย่างแต่ก่อน ต่อไปนี้ทุกอย่างจะสะอาดขึ้นและยุติธรรมขึ้นด้วย'
ถึงตอนนี้ผู้แทนของกองฯก็ต้องล่าถอยเพราะฝูงชนที่โกรธจัดเริ่มกระหน่ำปาลูกควัฟเฟิลเข้าใส่ ฝูงชนขู่ว่าพวกเขาจะจัดการ'สตูจิ้ง'รัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์เองด้วย แต่พ่อมดจากกองบังคับใช้กฎหมายเวทมนตร์มาถึงและขับไล่ฝูงชนเล่านี้ให้แตกกระเจิงไป
 
'''ซีกเกอร์'''
 
ปกติแล้ว ซีกเกอร์เป็นผู้เล่นที่ตัวเบาที่สุดและบินได้เร็วที่สุด นอกจากนี้ซีกเกอร์ยังต้องมีทั้งตาที่ไวและสามารถบินได้โดยจับไม้กวาดด้วยมือเดียวหรือไม่จับเลย ตำแหน่งซีกเกอร์มีความสำคัญมากต่อผลการแข่งขันทั้งหมด เพราะบ่อยครั้งที่การจับสนิชได้ช่วยเปลี่ยนสภาพความพ่ายแพ้มาเป็นคว้าชัยชนะได้ ดังนั้นซีกเกอร์จึงเป็นเหยื่อที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจ้องจับผิดกติกาด้วยมากที่สุด เมื่อดูกันจริงๆแล้ว ชณะที่ตำแหน่งซีกเกอร์นี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจมาก เพราะตามธรรมเนียมแล้ว พวกเขาเป็นพ่อมดที่บินเก่งที่สุดในสนาม แต่ซีกเกอร์ก็มักเป็นผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุดด้วย 'จัดการซีกเกอร์' เป็นกฎข้อแรกในหนังสือเรื่อง คัมภีร์ของบีตเตอร์ โดย บรูตัส สคริมเจียร์
 
 
===การแพร่กระจายของกีฬาควิดดิชไปทั่วโลก===
 
'''ยุโรป'''
 
กีฬาควิดดิชตั้งหลักฐานมั่นคงในไอซ์แลนด์เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 พิสูจน์ได้จากบันทึกของแซกคาเรียส มัมส์ที่เล่าเรื่องการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1385 ว่า ‘ทีมพ่อมดจากคอร์กบินมาแข่งถึงแลงคาเชอร์ และทำให้พ่อมดท้องถิ่นไม่พอใจมากเพราะปราบวีรบุรุษของพวกเขาเสียราบคาบ ผู้เล่นชาวไอริชได้รู้จักกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวกับลูกควัฟเฟิลที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในแลงคาเชอร์ และต้องหลบหนีออกจากหมู่บ้านเพราะกลัวเอาชีวิตไม่รอด เมื่อพวกคนดูชักไม้กายสิทธิ์ออกมาและวิ่งไล่พวกเขา’
แหล่งข้อมูลที่หลากหลายแสดงว่ากีฬานี้ได้เผยแพร่ไปยังส่วนต่างๆของยุโรปตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เรารู้ว่านอร์เวย์เป็นประเทศแรกๆที่รับกีฬานี้มาเล่น (เป็นไปได้ไหมว่าโอลาฟ ลูกพี่ลูกน้องของกู๊ดวิน นีน เป็นคนแรกที่นำกีฬานี้ไปเล่นที่นั่น) สืบเนื่องมาจากกวีนิพนธ์ที่ประพันธ์โดยกวี อินกลอฟ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีใจความว่า
ตื่นเต้นนักหนาเมื่อล่าไล่
แหวกฟ้าไปสูงลิ่วในเวหน
ลูกสนิชเหนือหัวอยู่เบื้องบน
และสายลมโบกสะบัดพัดเส้นผม
เมื่อฉันบินล่าไล่เข้าไปใกล้
ฝูงคนดูเชียร์กันให้เสียงขรม
แต่ทันใดลูกบลัดเจอร์พุ่งเข้าชน
ฉันพลันล้มสลบหมดกำลัง
ในเวลาเดียวกันนั้น มัลเลอครี พ่อมดชาวฝรั่งเศสก็เขียนบทสนทนาต่อไปนี้ในบทละครเรื่อง Helas, Je me suis Transfigure Les Pieds (อนิจจา ฉันเสกคาถาแปลงร่างใส่เท้าของฉัน) ความว่า
เกรอนุย : วันนี้ฉันไปตลาดกับเธอไม่ได้นะคราโปด์
คราโปด์ : แต่เกรอนุย ฉันแบกวัวไปคนเดียวไม่ไหวหรอกนะ
เกรอนุย : เธอก็รู้นี่ คราโปด์ ว่าฉันต้องเล่นเป็นคีปเปอร์เช้านี้ ใครจะหยุกลูกควัฟเฟิลล่ะ ถ้าไม่ใช่ฉัน
ในปีค.ศ. 1473 มีการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นครั้งแรก แม้ว่าทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัยจะมีแต่ชาติในยุโรปเท่านั้น เหตุที่ไม่มีทีมชาติที่อยู่ห่างไกลมาร่วมแข่งด้วย อาจเนื่องมาจากนกฮูกที่ส่งจดหมายเชิญนั้นหมดแรงเสียก่อนถึงที่หมาย หรืออาจเป็นไปได้ว่าชาติที่ได้รับเชิญไม่เต็มใจเดินทางไกลและลำบากลำบนเช่นนี้ หรือบางทีอาจมีเหตุผลง่ายๆ คืออยากอยู่บ้านมากกว่า
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระหว่างทีมจากทรานซิลเวเนียและแฟนเดอส์นั้น ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงที่สุดตลอดหาร และการเล่นผิดกติกาที่จดบันทึกไว้หลายอย่างก็ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนด้วย ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนร่างเชสเซอร์คนหนึ่งให้เป็นพังพอน พยายามที่จะตัดหัวคีปเปอร์ด้วยดาบที่มีใบมีดกว้างใหญ่ และกัปตันทีมทรานซิลเวเนียปล่อยค้างคาวดูดเลือดหนึ่งร้อยตัวออกมาจากใต้เสื้อคลุม
หลังจากนั้นมีการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพกันทุกๆสี่ปีแม้ว่าก่อนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 จะไม่มีทีมอื่นนอกเหนือจากทีมยุโรปเข้าร่วมแข่งขันด้วยเลย ส่วนยูโรเปี้ยนคัพก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1652 และจัดให้มีการแข่งขันกันทุกๆสามปีนับแค่นั้นมา
ในบรรดาทีมสโมสรของยุโรปที่เก่งฉกาจฉกรรจ์ ทีมวรัตซ่า วัลเจอส์ (Vratsa Vultures) ของบัลแกเรียน่าจะมีชื่อเสียงที่สุด ครองถ้วยยูโรเปี้ยนคัพทั้งหมดเจ็ดครั้งด้วยกัน ไม่ค้องสงสัยเลยว่าทีมวรตซ่า วัลเจอส์นี้เป็นทีมหนึ่งในบรรดาทีมที่เล่นได้ตื่นเต้นระทึกใจที่สุดในโลก เป็นผู้บุกเบิกการทำประตูระยะไกล (โยนลูกไกลนอกเขตทำคะแนน) และทีมนี้ยังตเมใจเสมอที่จะให้โอกาสผู้เล่นหน้าใหม่ได้สร้างชื่อเสียง
สำหรับประเทศฝรั่งเศส ทีมสโมสรที่ชนะบ่อยๆคือ ควีเบอรอน ควัฟเฟิลพันเชอรส์ (Quiberon Quafflepunchers) ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือเรื่องการเล่นที่ร่าเริงพอๆกับเสื้อคลุมสีชมพูจัดจ้าของพวกเขา ในประเทศเยอรมนี เราพบทีมไฮด์เบิร์ก แฮร์เรียส์ (Heidelberg Harriers) ทีมนี้ ดาเรน โอแฮร์ กัปตันทีมชาติไอริชเคยให้คำชมที่มีชื่อเสียงว่า ‘ดุร้ายยิ่งกว่ามังกรและฉลาดกว่าเป็นสองเท่าด้วย’ ลักเซมเบิร์กเป็นชาติที่มีทีมควิดดิชแข็งๆเสมอ ทีมเด่นที่ประเทศนี้มอบให้แก่พวกเราคือ บิกอนวิลล์ บอมเบอส์ (Bigonville Bombers) ทีมนี้ขึ้นชื่อมากเรื่องยุทธวิธีการบุกและมักอยู่ในกลุ่มผู้ทำคะแนนได้สูงๆ ส่วนทีมจากประเทศโปรตุเกส คือแบรกก้า บรูมฟลีต (Braga Broomfleet) เมื่อเร็วนี้สามารถแหวกขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ ของวงการควิดดิชได้ เป็นเพราะระบบจับติดบีตเตอร์ของทีมที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นอกจากนี้เรายังมีซีกเกอร์ที่สามารถสร้างสรรค์กลยุทธใหม่ๆ ได้เก่งที่สุดในโลกโดยไม่มีข้อโต้แย้ง นั่นคือ โจเซฟ รอนสกี้ จากทีมกรอดซิสก์ ก๊อบลินส์ ( Grodzisk Goblins) ของประเทศโปลแลนด์
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
 
มีผู้นำควิดดิชเข้าไปเผยแพร่ในนิวซีแลนด์เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อกันว่าเป็นทีมนักสมุนไพรศาสตร์ชาวยุโรปที่เดินทางไปค้นคว้าเรื่องพืชและเห็ดวิเศษต่างๆ มีเรื่องเล่าว่าหลังจากที่เก็บตัวอย่างพืชและเห็ดต่างๆอย่างคร่ำเคร่งตลอดวันแล้ว พ่อมดแม่มดเหล่านี้ก็ผ่อนคลายความตึงเครียด ด้วยการเล่นควิดดิชภายใต้สายตางงงวยของชุมชนผู้วิเศษชาวพื้นเมือง กระทรวงเวทมนต์แห่งนิวซีแลนด์ต้องเสียเงินและเสียเวลามากมาย ป้องกันไม่ให้มักเกิ้ลได้งานศิลปะของชาวพื้นเมืองเมารีในยุคนั้นไปครอบครอง เพราะงานศิลปะเหล่านี้แสดงให้เห็นรูปพ่อมดผิวขาวเล่นควิดดิชอย่างชัดเจน ( ภาพแกะสลักและภาพวาดเหล่านี้ปัจจุบันแสดงไว้ที่กระทรวงเวทมนตร์ที่เมืองเวลลิงตัน)
การเผยแพร่ควิดดิชไปยังออสเตรเลียเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อคริสศตวรรษที่ 18 อาจกล่าวได้ว่าออสเตรเลียเป็นดินแดนในอุดมคติสำหรับการเล่นกีฬาควิดดิชที่เดียว เพราะว่ามีพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปดูภายในทวีปกว้างใหญ่ไพศาลและไม่มีคนอยู่อาศัยเลย เหมาะสมที่จะจัดทำสนามควิดดิชได้มากมายหลายแห่ง
ทีมควิดดิชอีกมุมโลกที่ทำให้ผู้ดูชาวยุโรปตื่นเต้นเร้าใจได้เสมอ ด้วยความรวดเร็วและเล่ห์เหลี่ยมความสามารถของผู้เล่น ในบรรดาทีมดีเยี่ยมได้แก่ทีม มูโตโฮรา มาเคาส์ (Moutoohora Macaws)จากนิวซีแลนด์ มีเสื้อคุมสีแดงเหลืองและน้ำเงินที่รู้จักกันดี รวมทั้งสปาร์กี้นกฟีนิกส์ประจำทีม ทีมทันเดอลาร่า ทันเดอเรอส์ (Thundelarra Thunderers)และลูลลองกอง วอร์ริเออส์ (Woollongong Warriors)เป็นสองทีมมี่เก่งกาจเหนือกว่าทีมอื่นๆ ในควิดดิชลีกดของออสเตรเลียเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้ว การชิงดีชิงเด่นระหว่างทีมคู่อาฆาตสองทีมนี้เป็นที่เลื่องลืออยู่ในชุมชนผู้วิเศษของออสเตรเลีย จนกระทั่งเวลามีคนคุยโวหรือโอ้อวดเรื่องที่เหลือเชื่อ จึงมีสำนวนคตอบที่นิยมพูดกันแพร่หลายว่า “เออใช่ และฉันว่าฉันก็จะอาสาสมัครไปเป็นกรรมการการแข่งขัน ระหว่างทีมทันเดอเรอส์กับทีมวอร์ริเออส์คราวหน้าด้วย”
 
แอฟริกา
 
ไม้กวาดน่าจะเข้าไปในแอฟริกาโดยพ่อมดและแม่มดชาวยุโรปที่เดินทางไปที่นั่น เพื่อค้นหาความรู้เกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุและดาราศาสตร์ ศาสตร์สองแขนงที่พ่อมดชาวแอฟริกากันเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ แม้ว่าปัจจุบันกีฬาควิดดิชจะไม่ได้เล่นกันแพร่หลายเหมือนในยุโรป แต่กีฬานี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกทึทั่วทวีปแอฟริกา
ปรากฏว่ายูกันดาเป็นประเทศที่สนอกสนใจเล่นกีฬาควิดดิชมาก สโมสรที่มีชื่อมากที่สุดคือ พาตองก้า พราวด์สติกส์(Patonga Proudsticks)ทีมนี้สามารถเล่นเสมอกับทีมมอนโทรสแมกไพส์ ได้ในปีค.ศ.1986 ท่ามกลางความตกตลึงของชาติส่วนใหญ่ในโลกของควิดดิช เมื่อเร็วๆนี้ผู้เล่นจากทีมพราวด์สติกส์ถึงหกคนได้เป็นตัวแทนไปเล่นในทีมชาติยูกันดา ในการแข่งขันควิดดิชเวอร์คัพ ถือเป็นจำนวนพ่อมดนักบินที่มากที่สุดมีมาจากทีมสโมสรทีมเดียวหันและเข้าร่วมการแข่งขันในทีมชาติ ส่วนทีมอื่นๆที่มีชื่อเสียงจากแอฟริกาได้แก่ ทีมซัมบ้า ชาร์มเมอส์(Tchamba Charmers)จากโตโก เจ้าแห่งรีเวิร์สพาส หรือการส่งลูกกลับหลัง ทีมจิมบี้ ไจแอนท์ สเลเยอส์ (Gimbi Giant-Slayers) จาเอทิโอเปีย ชนะการแข่งขันชิงแอฟริกาคัพถึงสองครั้งและทีมซัมบาวันก้า ซันเรส์ (Sumbawanga Sunrays)จากแทนซาเนีย เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงมาก และท่าบินตีลังการรุกฆาตของทีมนี้สร้างความพึงพอใจให้ผู้ชมไปทั่วโลก
 
อเมริกาเหนือ
 
ควิดดิชไปถึงทวีปอเมริกาเหนือเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ทว่าการเผยแพร่เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากเคราะห์ไม่ดี ที่ความรู้สึกต่อต้านพ่อมดแม่มดแรงมากเป็นพิเศษจากยุโรปได้ติดตามผู้อพยพไปด้วยในเวลาเดียวกัน พ่อมดแม่มดผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคนั้นจึงต้องระแวดระวังตัวเป็นพิเศษทั้งๆ ที่พ่อมดแม่มดทั้งหลายคนเคยหวังว่าจะเจออคติน้อยลงในโลกใหม่ ด้วยความระวังมากนี้เองจึงกำจัดความเผยแพร่ของกีฬานี้ในช่วงแรก
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา แคนาดาสร้างทีมควิดดิชที่มีความสามารถสูงเยี่ยมระดับโลกสามทีมได้แก่ มูส จอว์ มีทีโอไรตส์ (Moose Jaw Meteorites)เฮลลี่เบอร์รี่ แฮมเมอส์ (Haileybury Hammers) และสโตนวอลล์ สตอร์มเมอส์ (Stonewall Stormers) ทีมมีทีโอไรตส์นั้นเฉียดฉิวจะถูกสั่งให้ยุบทีมเสียแล้วเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 เนื่องจากยังคงดื้อดึงใช้ประเพณีฉลองชัยชนะหลังเกมการแข่งขันด้วยการบินเหนือหมู่บ้านและเมืองใกล้เคียง พร้อมกับปล่อยประกายไฟลุกโชติช่วงเป็นทางยากจากปลายไม้กวาดปัจจุบัน ทีม มีทีโอไรตส์นี้ยอมจำกัดการฉลองตามประเพณีอยู่แต่ในสนามภายหลังการแข่งขัน ผลคือการแข่งขันของทีมมีทีโอไรตส์ยังคงดึงดูดความสนใจพ่อมดแม่มดนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้อยู่
ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ผลิตทีมควิดดิชนะระดับโลกหลายทีมเช่นชาติอื่นๆ เพราะกีฬาควิดดิชต้องแข่งขันกับกีฬาไม้กวาดของอเมริกันเองที่ชื่อว่าควอดพ็อต(Quodpot) กีฬาควอดพ็อตนี้แตกแขนงมาจากการเล่นควิดดิช ประดิษฐ์โดยอับราฮัม พีสกู๊ด พ่อมดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เขานำลูกควัฟเฟิลติดตัวมาด้วยจากโลกเก่า และตังใจจะหาสมัครพรรคพวกมาตั้งทีมเล่นควิดดิชกัน เล่ากันว่าลูกควัฟเฟิลของพี่สกู๊ดนั้นเกิดพลั้งเผลอไปกระทบกับปลายไม้กายสิทธิ์ของเขาเมื่อตอนอยู่ในหีบเหล็ก ฉะนั้นในที่สุด เมื่อเขาหยิบเอาลูกควัฟเฟิลออกมาและเริ่มขว้างเล่นไปเรื่อยๆ มันก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา พีสกู๊ดดูจะเป็นคนที่มีอารมณ์ขันเหลือเฟือมาก เขาตั้งต้นผลิตลูกบอลหนังอีกหลายลูกที่ทำปฏิกิริยาแบบเดียวกันนี้ และไม่นานเขาก็ลืมควิดดิชเสียสนิท เมื่อเขาและเพื่อนๆช่วยกันพัฒนาเกมใหม่ขึ้นมา เกมนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่คุณสมบัติการระเบิดได้ของลูกบอลที่เพิ่งได้ชื่อใหม่สดว่า ควอด
ในเกมควอดพ็อตนี้ แต่ละข้างมีผู้เล่นสิบเอ็ดคน พวกเขาโยนลูกควอด หรือควัฟเฟิลที่ถูกแก้ไขปรับปรุงแล้วนี้ จากผู้เล่นคนหนึ่งไปยังอีกคนในทีมเดียวกัน พยายามให้พาลูกเข้าไปอยู่ในหม้อที่ปลายสนามก่อนที่มันจะระเบิด ผู้เล่นคนไหนที่ครองลูกควอดอยู่เมื่อมันระเบิดต้องออกไปจากสนามเมื่อลูกควอดปลอดภัยอยู่ในหม้อแล้ว (หม้อขนาดเล็กใส่น้ำป้องกันไม่ให้ลูกควอดระเบิด) ทีมของผู้ที่โยนลูกได้จะได้หนึ่งแต้ม แล้วนำลูกควอดลูกใหม่เข้ามาให้สนามแทน
ควอดพ็อต ประสบความสำเร็จพอควรในยุโรป เป็นกีฬาที่มีกลุ่มคนจำนวนน้อยกลุ่มหนึ่งนิยมเล่น แต่พ่อมดแม่มดจำนวนมากมหาศาลยังคงซื่อสัตย์ต่อกีฬาควิดดิช
ในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเสน่ห์ของเกมควอดพ็อตจะมีแรงดึงดูดแฟนๆมากอยู่ แต่กีฬาควิดดิชเองก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานมานี้ มีสองทีมจากสหรัฐฯที่สามารถแหวกขึ้นมาอยู่ในระดับนานาชาติได้ นั่นคือ ทีมสวีตวอเตอร์ ออลสตาร์ส (Sweetwater All-Stars) จากเทกซัส เป็นทีมที่มีชัยชนะอย่างสมศักดิ์ศรีเหนือทีมควีเบอรอน ควัฟเฟิลพันเชอร์ ใน ค.ศ.1993 หลังจากที่เล่นกันออย่างตื่นเต้นระทึกใจอยู่ห้าวัน อีกทีมหนึ่งคือ ฟิชเบิร์ก ฟินเชส (Fitchburg Finches) จากรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งชนะรางวัลสมาคมสหรัฐฯถึงเจ็ดหน และแมกซิมัส แบรนโควิชที่สาม ซีกเกอร์ของทีม เป็นกัปตันทีมชาติสหรัฐฯ ในการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพสองครั้งที่ผ่านมา
 
อเมริกาใต้
 
กีฬาควิดดิชเล่นกันตลอดทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่าเกมนี้จะต้องแข่งขันกับกีฬาควอดพ็อต ที่เป็นที่นิยมกันมากในทวีปนี้เช่นเดียวกับในทวีปอเมริกาเหนือ อาร์เจนติน่าและบราซิล เป็นสองประเทศที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเมื่อศตวรรษที่แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาติที่เชี่ยวชาญเรื่องควิดดิชมาที่สุดในอเมริกาใต้คือเปรู ซึ่งทายกันว่าจะเป็นชาติละตินชาติแรกที่จะสามารถชนะครองถ้วยควิดดิชเวิลด์คัพได้ในอีกสิบปีข้างหน้า เชื่อกันว่าผู้วิเศษชาวเปรูได้ประสบการณ์การเผชิญหน้ากับกีฬาควิดดิชเป็นครั้งแรกจากพ่อมดชาวยุโรป ที่สหพันธ์พ่อมดนานาชาติส่งมาควบคุมตรวจตราจำนวนมังกรพันธ์เปรูเขี้ยวพิษ ควิดดิชได้กลายเป็นความคลั่งไคล้ที่แท้จริงของชุมชนพ่อมดแม่มดที่นั่นตั้งแต่นั้นมา และทีมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเปรูคือ ทาราพอตโต ทรีสกิมเมอส์ (Tarapoto Treeskimmers) เมื่อเร็วๆนี้ก็ได้เดินทางไปเล่นทั่วยุโรปทำชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องมาก
 
เอเชีย
 
ควิดดิชไม่บรรลุถึงความนิยมสุดยอดในดินแดนทางตะวันออก เพราะไม้กวาดบินเป็นของหายากในประเทศแถบนี้ที่ยังคงนิยมใช้พรมเป็นเครื่องช่วยบินมากกว่า กระทรวงเวทมนตร์ของประเทศที่ยังคงส่งพรมเหาะเป็นสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ อิหร่าน มองโกเลีย ต่างก็เฝ้าจับตาดูกีฬาควิดดิชด้วยความระหวาดระแวง อย่างไรก็ตาม กีฬานี้มีแฟนๆอยู่บ้างในกลุ่มพ่อมดทั่วไป
ประเทศที่เป็นข้อยกเว้นจากกฎทั่วไปนี้คือญี่ปุ่น ควิดดิชได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้ว ทีมญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมากคือ โตโยฮาชิ เทนกุ (Toyohashi Tengu) ที่เกือบเอาชนะทีมโกโรด็อก การ์กอยส์ (Gorodok Gargoyles) ของบัลแกเรียได้ในการแข่งขันเมื่อปีค.ศ. 1994 อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมของญี่ปุ่นที่จุดไฟเผาไม้กวาดอย่างเป็นพิธีการเมื่อแข่งแพ้ ถูกคณะกรรมการกีฬาควิดดิชในสหพันธ์พ่อมดนานาชาติจับตามองอย่างไม่สบอารมณ์ โดยตำหนิว่าเป็นการทำลายไม้กวาดดีๆให้เสียไปเปล่าๆ
===พัฒนาการของไม้กวาดแข่ง===
 
ก่อนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 กีฬาควิดดิชเล่นกันโดยใช้ไม้กวาดประจำวันที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก ไม้กวาดเหล่านี้ที่จริงก็ได้พัฒนาไปไกลจากไม้กวาดในยุคกลางมามากแล้ว การประดิษฐ์คาถาเบาะรองนั่งโดยเอลเลียต สเม็ตวิก เมื่อ ค.ศ.1820 ช่วยทำให้ไม้กวาดนั่งสบายกว่าแต่ก่อนมาก (ดูรูป ฉ.) อย่างไรก็ตาม ไม้กวาดทั่วๆไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นไม่สามารถบินขึ้นไปด้วยความเร็วสูงได้ และยิ่งยากที่จะควบคุมได้ดีเมื่อบินขึ้นไปถึงระดับที่สูงมากๆได้ ไม้กวาดเหล่านี้มักจะประดิษฐ์ด้วยมือ โดยช่างไม้กวาดแต่ละคน และแม้ว่าไม้กวาดพวกนี้จะเป็นที่นิยมชมชื่นกันในด้านรูปแบบและฝีมือ แต่สมรรถภาพของไม้กวาดนั้นมักจะไม่เท่าเทียมกับรูปร่างที่สวยงามเลย
 
ตัวอย่างของไม้กวาดประเภทนี้คือ ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์ 79 (Oakshaft 79) ซึ่งตั้งชื่อนี้เพราะต้นแบบแรกนั้นสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์โดยอีไลอัส กริมสโตน ช่างทำไม้กวาดแห่งเมืองปอร์ตสมัท ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์นี้สวยงามมาก ด้ามทำด้วยไม้โอ๊กหนา ออกแบบมาเพื่อให้บินได้นานและแข็งแรงพอจะต้านกระแสลมแรงๆไ ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์ในปัจจุบันถือว่าเป็นไม้กวาดมีระดับชั้นเยี่ยม แต่ความพยายามที่จะใช้ไม้กวาดนี้ในการแข่งขันควิดดิชไม่เคยประสบความสำเร็จเลย เพราะมันอุ้ยอ้ายเกินกว่าจะเลี้ยวโค้งได้เมื่อบินมาด้วยความเร็วสูง ดังนั้นไม้กวาดโอ๊กชาฟต์จึงไม่เคยเป็นที่นิยมของพวกที่ถือความคล่องแคล่วว่องไว สำคัญเหนือกว่าความปลอดภัย กระนั้นไม้กวาดนี้ก็เป็นที่จดจำระลึกถึงเสมอในฐานะไม้กวาดที่ โจคุนด้า ไซกส์ ใช้บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ1935 (ก่อนหน้านั้นเมื่อต้องเดินทางเป็นระยะไกลๆ พ่อมดแม่มดพอใจที่จะเดินทางด้วยเรือโดยสารมากกว่าจะไว้ใจเดินทางด้วยไม้กวาด การหายตัวก็ไว้ใจไม่ได้ถ้าระยะทางไกลมาก และมีแต่พ่อมดแม่มดที่เชี่ยวชาญมากๆเท่านั้นที่จะกล้าใช้วิธีการหายตัวข้ามทวีป)
 
ไม้กวาดมูนทริมเมอร์ (Moontrimmer) ซึ่งประดิษฐ์โดยกลาดีส บู๊ตบี้ ในค.ศ. 1901 เป็นตัวแทนให้เห็นว่าวงการสร้างไม้กวาดก้าวกระโดดไกลไปมาก และเป็นเวลานานทีเดียวที่ไท้กวาดซึ่งทำจากไม้แอชรูปร่างเพรียวนี้ จะเป็นที่ต้องการอย่างสูงในฐานะไม้กวาดสำหรับเกมควิดดิช ข้อเด่นที่ทำให้ไม้กวาดมูนทริมเมอร์เหนือกว่าไม้กวาดอื่นๆคือ สามารถบินขึ้นไปได้สูงอย่างที่ไม่เคยมีไม้กวาดไหนทำได้มาก่อน (และที่สำคัญยังสามารถควบคุมได้ดีในระดับความสูงนั้น) กลาดีส บู๊ตบี้ ไม่สามารถผลิตไม้กวาดมูนทริมเมอร์ได้ในจำนวนมากเท่าที่ผู้เล่นควิดดิชทั้งหลายส่งเสียงเรียกร้อง ดังนั้นเมื่อมีการผลิตไม้กวาดใหม่ชื่อ ซิลเวอร์ แอร์โรว์ (Silver Arrow) ออกมา ผู้เล่นจึงรีบต้อนรับทันที ไมท้กวาดนี้ถือว่าเป็นไม้กวาดรุ่นยุกเบิกของไม้กวาดแข่ง มันบินได้เร็วกว่ามูนทริมเมอร์หรือโอ๊กชาฟต์มาก (เมื่อบินตามแรงส่งจากไม้กวาดอันหน้า จะมีความเร็วถึงเจ็ดสิบไมล์ต่อชั่วโมง) แต่นั่นแหละ ไม้กวาดนี้เป็นผลงานของพ่อมดคนเดียว (เลโอนาร์ด จุกส์) และความต้องการไม้กวาดก็มีมากเกินกว่าจะผลิตได้ทัน
 
ความก้าวหน้าในการผลิตไม้กวาดที่สำคัญยิ่งเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1926 เมื่อสามพี่น้องบ๊อบ บิล และยาร์นาบี้ โอลเลอร์ตัน ตั้งบริษัทไม้กวาดควีนสวิปขึ้น ไม้กวาดรุ่นแรก คลีนสวีปวัน (Cleansweep One) ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจัดจำหน่ายในฐานะไม้กวาดแข่งที่ออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะใช้ในเกมกีฬาเท่านั้น ไม้กวาดคลีนสวีปประสบความสำเร็จอย่างง่ายดายและรวดเร็วทันที มันสามารถเลี้ยวโค้งได้ดีอย่างที่ไม่เคยมีไม้กวาดไหนทำได้ และภายในปีเดียว ทีมควิดดิชทุกทีมในประเทศก็ขึ้นขี่ไม้กวาดคลีนสวีปนี้
 
พี่น้องตระกูลโอลเลอร์ตัน ไม่ได้ถูกปล่อยให้ครอบครองตลาดไม้กวาดแข่งแต่เพียงผู้เดียวนานนัก ในปีค.ศ.1929 แรนดอลฟ คีตและแบซิล ฮอร์ตัล ตั้งบริษัทผลิตไม้กวาดเจ้าที่สองขึ้น ทั้งสองคนนี้เคยเป็นผู้เล่นในทีมฟัลมัท ฟอลคอนส์มาก่อน ไม้กวาดรุ่นแรกของบริษัทคอมเม็ตเทรตดิ้งนั้นคือ คอมเม็ต 140 (Comet 140) นี่เป็นหมายเลขของไม้กวาดตัวอย่างที่คีตและฮอร์ตัน ทดสอบก่อนที่ผลิตออกจำหน่าย คาถาเบรกของฮอร์ตัน-คีต ที่ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วนั้น มีความหมายว่าผู้เล่นควิดดิชจะบินข้ามประตูหรือบินออฟไซด์ไม่ได้ง่ายๆอย่างแต่ก่อน ปัจจุบันทีมควิดดิชหลายทีมในเกาะบิเตนและไอร์แลนด์จึงนิยมใช้ไม้กวาดคอมเม็ต
 
การแข่งขันระหว่างคลีนสวีปและคอมเม็ตดำเนินไปอย่างเข้มข้น ช่วงที่เด่นๆคือการออกไม้กวาดคลีนสวีปรุ่น 2 และ 3 ที่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นใน ค.ศ. 1934 และ 1937 ตามลำดับ ส่วนคอมเม็ต 180 ออกวางตลาดเมื่อต.ศ. 1938 ในระหว่างนั้นก็มีบริษัทผลิตไม้กวาดแข่งอื่นๆผุดขึ้นมาทั่วทวีปยุโรป
 
ไม้กวาดแข่งชื่อ ทินเดอร์บลาสต์ (Tinderblast) ออกสู่ตลาดเมื่อ ค.ศ.1940 ไม้กวาดนี้ผลิตโดยบริษัทจากบริเวณป่าดำในเยอรมนีชื่อ แอลเลอร์บี้แอนด์สปัดมอร์ ไม้กวาดทินเดอร์บลาสต์นี้มีคุณสมบัติคืนตัวได้ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถบินได้เร็วเท่าคลีนสวีปหรือคอมเม็ตก็ตาม เมื่อ ค.ศ.1952 บริษัทแอลเลอร์บี้แอนด์สปัดมอร์ นำไม้กวาดรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดนั่นคือ ไม้กวาดสวิฟต์สติ๊ก (Swiftstick) ไม้กวาดนี้บินได้เร็วกว่าทินเดอร์บลาสต์ อย่างไรก็ตาม สวิฟสติ๊กมักจะสูญเสียความเร็วเมื่อบินขึ้นระดับสูง ดังนั้นทีมควิดดิชอาชีพจึงไม่เคยใช้ไม้กวาดนี้เลย
 
ในค.ศ. 1955 บริษัทยูนิเวอร์ซัลบรูม จำกัด นำเสนอไม้กวาดใหม่ ชูตติ้งสตาร์ (Shooting Star) ซึ่งเป็นไม้กวาดแข่งที่ราคาถูกที่สุดจนทุกวันนี้ แต่โชคไม่ดี หลังจากที่ผู้คนแตกตื่นนิยมซื้อกันมากในตอนแรกที่วางตลาด ต่อมาพบว่าไม้กวาดชูตติ้งสตาร์นี้ เมื่อใช้งานไปนานๆมักจะบินไม่ได้เร็วและสูงเท่าที่เคย บริษัทยูนิเวอร์ซัลบรูมจึงต้องเลิกกิจการไปเมื่อค.ศ.1978
 
เมื่อค.ศ.1967 โลกของไม้กวาดก็ถูกกระตุ้นให้คึกคักตื่นตัวขึ้นมาอีกหนเมื่อมีการก่อตั้งบริษัทนิมบัสเรสซิ่งบรูมขึ้น ไม่มีใครเคยเห็นไม้กวาดไหนที่เหมือนไม้กวาดนิมบัส 1000 (Nimbus 1000) มาก่อน ไม้กวาดนี้สามารถบินเร็วได้ถึงหนึ่งไมล์ต่อชั่วโมง สามารถหยุดกลางอากาศและหมุนได้สามร้อยหกสิบองศารอบตัว ไม้กวาดนิมบัสนำคุณสมบัติที่วางใจได้ของไม้กวาดรุ่นเก๋าโอ๊กชาฟต์ 79 มาผสมกับการใช้งานง่ายคล่องแคล่วของไม้กวาดคลีนสวีปรุ่นที่ดีที่สุด นิมบัสจึงกลายเป็นไม้กวาดที่ทีมควิดดิชอาชีพทั่วยุโรปเลือกใช้ทันที และไม้กวาดนิมบัสรุ่นต่อๆไป (รุ่น 1001 รุ่น 1500 และรุ่น 1700) ทำให้บริษัทนิมบัสเรสซิ่งบรูมยังคงเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในวงการไม้กวาดนี้
 
ไม้กวาดทวิกเกอร์ 90 (Twigger 90) ผลิตผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1990 ผู้ผลิตคือ บริษัทไฟลต์แอนด์บาร์เกอร์ ตั้งใจว่าไม้กวาดนี้จะมาเป็นผู้นำในตลอดแทนไม้กวาดนิมบัส อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไม้กวาดนี้จะมีคุณสมบัติดีเด่นมาก รวมทั้งมีอุปกรณ์ใหม่ๆที่หลอกล่อใจผู้ซื้อประกอบติดมากับไม้กวาดด้วยอีกหลายอย่าง เช่น มีนกหวีดให้สัญญาณเตือนอยู่ในตัว และมีหางที่ช่วยปรับการบินให้ตรงได้เองแต่ไม้กวาดทวิกเกอร์นี้มักจะโค้งงอเหมือนบินด้วยความเร็วสูง และโชคร้ายที่ไม้กวาดนี้ได้ชื่อว่าไม้กวาดที่พวกพ่อมดที่มีเงินมากกว่ามีสติมักใช้กัน
 
===กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน===
กีฬาควิดดิชยังคงทำให้แฟนๆตื่นเต้นเร้าใจและคลั่งไคล้ไปทั่วโลกปัจจุบัน รับประกันได้ว่าคนที่ซื้อตั๋วดูการแข่งขันควิดดิชทุกคนจะได้เห็นการแข่งขันที่มีชั้นเชิงสูง ระหว่างผู้เล่นที่บินอย่างเชี่ยวชาญยิ่ง (แน่นอน ยกเว้นแต่ว่าจะจับลูกสนิชได้ในห้านาทีแรกของการแข่งขัน ถ้าเป็นเช่นนี้พวกเราทุกคนคงรู้สึกว่าถูกโกงหน่อยๆ เหมือนได้รับเงินทอนไม่ครบทำนองนั้น) ไม่มีอะไรจะพิสูจน์ความดีเด่นของเกมควิดดิชได้ดีไปกว่าท่าเล่นยากๆ ที่บรรดาผู้เล่นพ่อมดแม่มดทั้งหลายสร้างสรรค์ขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของกีฬานี้ พ่อมดแม่มดเหล่านี้กระตือรือร้นที่จะสร้างท่าเล่นยากๆ เพื่อผลักดันผู้เล่นและกีฬานี้ให้ดีขึ้นเท่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้ ต่อไปนี้คือ ท่าเล่นพิสดารบางทาที่ยกมาเป็นตัวอย่าง
 
บลัดเจอร์แบ็กบีต(BludgerBackbeat)
เป็นท่าที่บีตเตอร์ตีลูกบลัดเจอร์ด้วยไม้ตีในท่าแบ็กแฮนด์ ส่งลูดบลัดเจอร์ลอยไปข้างหลังเขาหรือเธอ แทนที่จะไปข้างหน้า ท่านี้ตีให้เที่ยวตรงแม่นยำได้ยาก แต่ดีเลิศในแง่ทำให้คู่ต่อสู้งุนงง
 
ด๊อปเปิ้ลบีตเตอร์ดีเฟนซ์(DopplebeaterDefence)
บีตเตอร์ทั้งสองคนใช้แรงมากเป็นพิเศษตีลูกบลัดเจอร์พร้อมกัน ผลคือในการรุกครั้งต่อไป ลูกบลัดเจอร์จะโจมตีอย่างดุเดือดรุนแรงมากขึ้นไปอีก
 
ดับเบิ้ลเอตลูป(DoubleEightLoop)
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ ปกติมักใช้ป้องกันการโยนลูกโทษ คีปเปอร์จะบินเลี้ยวโค้งเป็นรูปเลขแปดไปรอบๆห่วงประตูทั้งสาม ห่วงด้วยความเร็วสูงเพื่อคอยกันลูกควิฟเฟิล
 
ฮอกส์เฮดอะแทกกิ้งฟอร์เมชั่น(HawksheadAttackingFormation)
เชสเซอร์มารวมตัวกันทำเป็นรูปหัวลูกศร บินไปพร้อมๆกันมุ่งไปที่เสาประตู ท่านี้ข่มขวัญทีมคู่ต่อสู้ได้มาก และมีประสิทธิภาพในการบังคับให้ผู้เล่นอื่นต้องบินหลบไปข้างๆ
 
พาร์กินส์พินเชอร์(Parkin'sPincer)
ตั้งชื่อตามผู้เล่นในทีมวิกทาวน์ วันเดอเรอส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนประดิษฐ์ท่านี้ขึ้นมา เชสเซอร์สองคนช่วยกันบินเข้าไปบีบเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามจากด้านซ้ายและขวา ชณะที่เชสเซอร์คนที่สามบินพุ่งตรงเข้าไปหาเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามนั้น
 
พลัมป์ตันพาส(PlumptonPass)
เป็นท่าเลี้ยวโค้งหมุนตัวที่ดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจทำของซีกเกอร์ แต่สามารถคว้าจับลูกสนิชที่ลอยอยู่ที่แขนเสื้อไว้ได้ นับเป็นทีเด็ดอย่างหนึ่ง ตั้งชื่อตามรอดดริก พลัมป์ตัน ซีกเกอร์ของทีมทัดชิล ทอร์เนโดส์ ที่ใช้ท่านี้ในการจับลูกสนิชที่โด่งดังเป็นประวัติการณ์ในค.ศ.1921 แม้ว่านักวิจารณ์หลายคนจะกล่าวหาว่าที่เขาทำได้นั้นเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พลัมป์ตันยืนกรานจวบจนเขาถึงแก่กรรมว่าเขาตั้งใจทำท่านั้นจับลูกสนิชจริงๆ
 
พอร์สคอฟพลอย(PorskoffPloy)
เชสเซอร์ถือลูกควิฟเฟิลบินทะยานขึ้นไปในอากาศ ล่อให้เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเขาหรือเธอกำลังพยายามบินหนีไปทำคะแนน แต่แล้วก็โยนควัฟเฟิลลงมาข้างล่างให้เชสเซอร์ทีมเดียวกันที่คอยรับอยู่ เชสเซอร์ทั้งสองต้องกะจังหวะเวลาให้ตรงกันพอดี นี่เป็นหัวใจของท่านี้ ตั้งชื่อของเพ็ตโทรว่า พอร์สคอฟ เชสเซอร์ชาวรัสเซีย
 
รีเวิร์สพาส(ReversePass)
เชสเซอร์โยนลูกควิฟเฟิลข้ามไหล่ของตนไปให้ผู้เล่นทีมเดียวกันอีกคน การโยนให้ได้แม่นยำนั้นทำได้ยากมาก
 
สล็อทกริปโรลล์(SlothGripRoll)
ห้อยกลับหัวจากไม้กวาด ยึดไม้กวาดไว้แน่นด้วยมือและเท้าสองข้างเพื่อหลบหลีกลูกบลัดเจอร์
สตาร์ฟิชแอนด์สติ๊ก
เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ โดยคีปเปอร์ถือไม้กวาดในแนวนอน ใช้มือและเท้าข้างหนึ่งเกี่ยวจับด้ามไม้กวาดแน่น ในขณะที่กางแขนและขาอีกข้างออกไปตรงๆ ท่าปลาดาวแต่ไม่มีไม้นั้นไม่ควรลองทำอย่างยิ่ง
 
ทรานซิลเวเนียนแท็กเคิล(TransylvianianTackle)
เป็นท่าต่อยหลอกๆเล็งไปที่จมูก ไม่ถือว่าผิดกติกาจนกว่าจะสัมผัสกันจริงๆ แต่ก็หยุดได้ยากมากเมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่บนไม้กวาดที่มีความเร็วสูง ปรากฎครั้งแรกในควิดดิชเวิลด์คัพ ค.ศ.1473
 
วูลลองกองชิมมี่(WoollongongShimmy)
เป็นท่าที่ทีมวูลลองกอง วอร์ริเออส์ จากออกเตรเลียทำได้สมบูรณ์แบบมาก นี่เป็นท่าบินซิกแซ็กด้วยความเร็วสูง เพื่อสลัดเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ติดตามได้
 
รอนสกี้เฟนต์(WronskiFeint)
ซีกเกอร์บินข้างสิ่งกีดขวางไปที่พื้นสนาม ทำเป็นว่าเห็นลูกสนิชอยู่ไกลๆข้างล่าง แล้วเชิดหัวไม้กวาดขึ้นก่อนจะดิ่งลงไปกระแทกพื้น ท่านี้ตั้งใจหลอกให้ซีกเกอร์อีกฝ่ายทำตามจนดิ่งไปกระแทกพื้น ตั้งชื่อว่าโจเซฟ รอนสกี้ ซีกเกอร์ชาวโปแลนด์
 
 
เส้น 239 ⟶ 14:
 
สำหรับการทำคะแนนสูงสุดในเกมการแข่งขันสามารถทำได้โดยการจับ ลูกโกลเด้นสนิช ที่มีคะแนนถึง 150 แต้ม โดยหน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของตำแหน่ง ซีกเกอร์ ซึ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็ได้รับตำแหน่งนี้ในทีม กริฟฟินดอร์ การแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อ ซีกเกอร์ จับลูกโกลเด้นสนิชได้เท่านั้น ทั้งนี้การจับลูกโกลเด้นสนิชไม่ได้การันตีว่าทีมที่จับได้จะชนะเสมอไป
 
 
 
== กรรมการ ==
 
 
การเป็นกรรมการในการแข่งขันควิดดิชนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่สำหรับพ่อมดแม่มดที่กล้าหาญที่สุดเท่านั้น แซกคาเรียส มัมส์เล่าว่ากรรมการจากนอร์ ฟอร์กคนหนึ่งชื่อ ไซเปรียน ยูเดิล ตายในการแข่งขันฉันมิตรระหว่างพ่อมดแม่มดในบริเวณนั้นเมื่อ ค.ศ. 1357 โดยไม่สามารถจับคนที่เป็นต้นตอสาป แช่งเขาได้ แต่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในหมู่คนดู แม้จะไม่มีการฆาตกรรมกรรมการที่พิสูจน์ได้อีกตั้งแต่นั้นมา แต่ก็มีเหตุการณ์ทำตุกติกกับไม้กวาดของ กรรมการนับครั้งไม่ถ้วนตลอดหลายๆ ศตวรรษที่ผ่านมานี้ ที่อันตรายมากที่สุดคือการเปลี่ยนไม้กวาดของกรรมการให้เป็นกุญแจนำทาง เพื่อให้เขาหรือ เธอถูกพาตัวออกไปจากการแข่งขันทั้งๆ ที่เพิ่งแข่งไปได้ครึ่งเดียว และต้องไปโผล่ในทะเลทรายซาฮาราอีกหลายเดือนหลังจากนั้น กองควบคุมดูแล เกมและกีฬาเวทมนตร์ ได้ออกระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับไม้กวาดของผู้เล่น โชคดีที่ปัจจุบันนี้เหตุการณ์ร้ายทำ นองนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้ว
 
กรรมการควิดดิชที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นยิ่งกว่าพ่อมดบินที่ช่ำชอง เขาหรือเธอต้องคอยดูกระบวนท่าเล่นพลิกแพลงของผู้เล่นทั้งสิบสี่คนพร้อมๆ กัน และผลก็คือกรรมการจะได้รับบาดเจ็บด้วยอาการคอเคล็ดอยู่เป็นประจำ ในการแข่งขันระหว่างทีมอาชีพ กรรมการจะมีผู้ช่วยคือเจ้าหน้าที่ซึ่งยืนอยู่ รอบเส้นเขตสนาม เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะคอยดูไม่ให้ผู้เล่นคนไหนหรือลูกบอลลูกใดล้ำออกมานอกเส้น
ในเกาะบริเตน กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์เป็นผู้คัดเลือกกรรมการควิดดิช กรรมการต้องผ่านการทดสอบการบินที่เข้มงวดมากและต้อง ผ่านการสอบข้อเขียนละเอียดยิบเรื่องกติกาควิดดิชต่างๆ นอกจากนั้น ยังต้องผ่านการทดสอบอีกมากมายหลายชุดเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาจะไม่เสกคา ถาใส่ผู้เล่นที่ก้าวร้าวแม้ว่าจะอยู่ภายใต้ความกดดันรุนแรงมากเพียงใดก็ตาม
 
 
เส้น 310 ⟶ 75:
[[บลัดเจอร์]] เป็นลูกสีดำ ทำจากโลหะ บินเร็วมาก ดังนั้นถ้าโดนลูกบลัดเจอร์อัดเต็มๆละก็ มีจุก ในสนามมี 2 ลูก
 
[[สนิช]] ในอดีตเคยใช้นกสนิตเก็ตแต่ต้องถูกเปลี่ยนเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ปัจจุบันใช้ โกลเด้นสนิช บินได้เร็ว ขนาดเล็ก จึงมองเห็นยากมาก สีทอง ในสนามมี1ลูก
 
 
เส้น 321 ⟶ 86:
 
 
-------------------------------------------------------------
 
== ทีมควิดดิชในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ ==
 
ความจำเป็นที่ต้องเก็บเรื่องกีฬาควิดดิชให้เป็นความลับจากพวกมักเกิ้ล ทำให้กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ต้องจำกัดจำนวนการแข่งขันในแต่ละปี ในขณะที่การแข่งขันระหว่างทีมสมัครเล่นได้รับอนุญาตให้มีได้ไม่จำกัด ตราบเท่าที่การเล่นเป็นไปตามข้อแนะนำที่เหมาะสม ทีมควิดดิชอาชีพถูกจำกัดจำนวนมาตั้งแต่ค.ศ.1674 เมื่อมีการจัดตั้งควิดดิชลีกขึ้น เวลานั้นทีมควิดดิชที่ดีที่สุดสิบสามทีมในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในลีก และทีมอื่นๆนอกจากนั้นถูกขอร้องให้ยุบเลิกไป ทั้งสิบสามทีมนี้ยังคงแข่งขันชิงถ้วยลีกกันทุกๆปี
แอปเปิ้ลบี้แอร์โรว์ส(ApplebyArrows)
ทีมจากภาคเหนือของอังกฤษทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1612 เสื้อคลุมประจำทีมเป็นสีน้ำเงินอ่อน และมีตรารูปลูกธนูสีเงินประดับไว้ แฟนๆของแอร์โรว์ส เห็นพ้องต้องกันว่าช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมคือตอนที่พวกเขาเอาชนะทีมวรัตซ่า วัลเจอส์ แชมป์หลายสมัยของยุโรปได้เมื่อ ค.ศ.1932 การ แข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงสิบหกวัน เล่นกันกลางฝนและหมอกหนาทึบ ผู้สนับสนุนสโมสรนี้มีธรรมเนียมเก่าแก่คือ ใช้ไม้กายสิทธิ์ยิงลูกธนูออกไปใน อากาศทุกครั้งที่เชสเซอร์ฝ่ายเขาทำคะแนนได้ แต่ธรรมเนียมนี้ถูกกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ห้ามไปใน ค.ศ.1894 เมื่อลูกธนูลูกหนึ่งแทง ทะลุจมูกของกรรมการชื่อนูเจ้นต์ พอตส์ ทีมแอร์โรว์สนี้เป็นคู่ปรับคู่อาฆาตกับทีมวิมบอร์น วอพส์มาต่อเนื่องยาวนาน
 
บัลลี่แคสเซิลแบตส์(BallycastleBats)
ทีมควิดดิชที่มีชื่อเสียงที่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ชนะถ้วยควิดดิชลีกนับถึงวันนี้ได้ทั้งหมดยี่สิบเจ็ดครั้ง ทำให้ทีมนี้เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของลีก พวกแบตส์ใส่เสื้อคลุมสีดำมีรูปค้างคาวสีแดงเข้มที่หน้าอก สัตว์เลี้ยงประจำทีมที่มีชื่อเสียงมากคือ บาร์นี่ค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะค้างคาวที่เล่นหนังโฆษณาบัตเตอร์เบียร์ (บาร์นี่บอกว่า 'ผมคลั่งไคล้บัตเตอร์เบียร์')
 
คาร์ฟิลลี่แคททะพัลส์(CaerphillyCatapults)
ทีมแคททะพัลส์จากแคว้นเวลส์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1402 นักกีฬาสวมเสื้อคลุมลายทางสีเขียวอ่อนสลับแดงเลือดหมู ประวัติที่เลื่องลือ ของทีมสโมสรนี้คือได้ถ้วยลีกถึงสิบแปดครั้งและชัยชนะที่มีชื่อเสียง ได้แก่ครั้งที่คว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 1956 โดยเอาชนะทีมคารัสจ็อก ไคตส์ จากนอร์เวย์ได้ในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ 'ได ลูเอลเลน ตัวอันตราย' เขาถูกตัวไคเมรากินระหว่างพักผ่อนที่ เกาะมิคานอส ประเทศกรีซ จากการตายของไดนี้เอง ส่งผลให้ทางการเวลส์กำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติ เพื่อให้พ่อมดแม่มดชาวเวลส์ทุกคนได้ระลึกถึง เขา ปัจจุบันนี้ เมื่อสิ้นสุดฤดูการแข่งขันของทุกปี จะมีการมอบเหรียญที่ระลึกถึง 'ได ตัวอันตราย' เป็นรางวัลให้แก่ผู้เล่นในควิดดิชลีกที่เล่นได้ตื่นเต้น เร้าใจและบ้าบิ่นเสี่ยงตายที่สุดในการแข่งขัน
 
ชัดลีย์แคนนอนส์(ChudleyCannons)
อาจกล่าวได้ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมชัดลีย์ แคนนอนส์ ได้ผ่านเลยไปเสียแล้ว แต่สำหรับแฟนๆ ที่อุทิศตวเหนียวแน่นให้แก่ทีม นั้น พวกเขายังมีความหวังว่าทีมจะมีโอกาสกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกหน ทีมแคนนอนส์ชนะเลิศถ้วยลีกถึงยี่สิบหน แต่ครั้งสุดท้ายก็นานตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1892 และการเล่นของพวกเขาตลอดศตวรรษที่แล้วนั้นไม่เร้าใจเลย ผู้เล่นชัดลีย์ แคนนอนส์สวมเสื้อคลุมสีส้มสด มีตรารูปลูกปืนใหญ่กำลังพรุ่ง เร็วจี๋ ด้านหลังเป็นรูปตัวอักษร ช สีดำสองตัว คำขวัญประจำสโมสรถูกเปลี่ยนเมื่อ ค.ศ.1972 จากเดิมที่ว่า 'เราจะพิชิตแน่ๆ' มาเป็น 'หวังว่าเราจะชนะ แต่ก็สุดแล้วกรรมก็แล้วกัน'
 
ฟัลมัทฟอลคอนส์(FalmouthFalcons)
ผู้เล่นฟอลคอนส์สวมเสื้อคลุมสีเทาเข้มสลับขาว มีรูปหัวนกเหยี่ยวประดับที่หน้าอก ฟอลคอนส์ขึ้นชื่อว่าเล่นแรง ชื่อเสียงนี้ยิ่งเป็นที่เชื่อหนักแน่นมากขึ้น ด้วยฝีมือของบีตเตอร์ชื่อก้องโลกของทีมคือเควิน และคาร์ล บรอดมัวร์ ซึ่งเล่นให้สโมสรระหว่าง ค.ศ.1958 ถึง 1969 กระบวนท่าเล่นพลิกแพลง ของทั้งสองส่งผลให้กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ต้องสั่งให้พวกเขาพักการเล่นไม่น้อยกว่าสิบสี่หน คำขวัญของสโมสรนี้คือ 'เอาชนะให้ได้ แต่ถ้าไม่ชนะ ก็ทำให้หัวแตกหลายๆ หัว'
 
โฮลี่เฮดฮาร์ปีส์(HolyheadHarpies)
ทีมโฮลี่เฮด ฮาร์ปีส์ นี้เป็นทีมสโมสรเก่าแก่มากของแคว้นเวลส์ (ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1203) แตกต่างจากทีมควิดดิชอื่นๆ ทั่วโลกเพราะเป็นทีมเดียวที่จ้างแต่แม่มด เสื้อคลุมของฮาร์ปี้ส์เป็นสีเขียวแก่ มีรูปเล็บสัตว์สีทองอยู่ที่หน้าอก ชัยชนะของทีมฮาร์ปีส์ต่อทีมไฮเดลเบิร์ก แฮเรียส์ เมื่อ ค.ศ.1953 เป็นที่ ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นการแช่งขันควิดดิชชั้นเยี่ยมเกมหนึ่งเท่าที่เคยมีการแข่งขันมา การแข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงเจ็ดวัน และยุติลงเมื่อซีกเกอร์ของ ทีมฮาร์ปีส์ คือกลินนิส กริฟฟิทส์ จับลูกสนิชได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน แฮเรียส์ รูดอลฟ์ แบรนด์ กัปตันของทีมกระทำสิ่งที่เลื่องลือ กันไปทั่ว เขากระโดดลงจากไม้กวาดและขอแต่งงานกับเกวนโดลิน มอร์แกน กัปตันทีมฝ่ายตรงข้าม แต่เธอใช้ไม้กวาดคลีนสคีปหมายเลขห้าของเธอ ฟาดหัวเขาจนหมดสติไป
 
เคนแมร์เคสเตรลส์(KenmareKestrels)
ทีมสโมสรไอริชนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1291 และเป็นที่นิยมชมชื่นไปทั่วโลก จากการแสดงที่องอาจของบรรดาเลเปรอคอนตัวนำโชคประจำทีม และจากการเล่นพิณที่ไพเราะมากของพวกผู้สนับสนุนทีมทั้งหลาย ทีมเคสเตรลส์สวมเสื้อคลุมสีเขียวมรกตที่หน้าอกมีตัวอักษร ค สีเหลืองสองตัวหัน หลังชนกัน ดาเรน โอแฮร์ คีปเปอร์ของเคสเตรลส์ ระหว่าง ค.ศ.1947-1960 ได้เป็นกัปตันทีมชาติไอริชสามหนและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ท่าหัวเหยี่ยวรุกฆาตสำหรับพวกเชสเซอร์ (ดูบทที่ 10)
 
มอนโทรสแมกไพส์(MontroseMagpies)
ทีมแมกไพส์เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ควิดดิชลีกของเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ เพราะชนะเลิศถึงสามสิบสองครั้ง ทั้งยัง เป็นแชมป์ยุโรปสองสมัย ทีมแมกไพส์จึงมีแฟนอยู่รอบโลก ผู้เล่นที่เก่งกาจของทีมมีมากมาย รวมทั้งซีกเกอร์ ยูนิส มารี่ (ถึงแก่กรรม ค.ศ.1942 ) ซึ่ง ครั้งหนึ่งเคยยื่นคำร้องขอให้ใช้ 'ลูกสนิชที่เร็วกว่านี้ เพราะว่านี่มันง่ายเกินไป' และแฮมมิช แมกฟาลัน (กัปตันช่วง ค.ศ.1957-68) ซึ่งเมื่อเลิกจากอาชีพ ควิดดิชที่ประสบความสำเร็จมากแล้วก็ไปทำงานที่มีชื่อเสียงเด่นพอๆ กันในฐานะเป็นหัวหน้ากองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ทีมแมกไพส์สวม เสื้อคลุมสีดำขาว มีรูปนกแมกไพหรือนกกางเขนตัวหนึ่งที่หน้าอก และอีกตัวที่ด้านหลังเสื้อ
ไพรด์ออฟพอร์ตทรี
ทีมนี้มาจากเกาะสกาย ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1292 พวกแฟนๆ เรียกผู้เล่นทีมนี้ว่า 'เดอะ ไพรดส์' พวกเขาสวมเสื้อสีม่วงเข้ม มีรูปดาวสีทองประดับที่หน้าอก เชสเซอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ คาทรีโอน่า แมกคอร์มิก เป็นกัปตันทีมที่ชนะเลิศถ้วยลีกสองครั้งในช่วงทศวรรษปี ค.ศ.1960 และเล่นให้กับทีม ชาติสกอตแลนด์ถึงสามสิบหกครั้ง แมกันลูกสาวของเธอปัจจุบันนี้เล่นเป็นคีปเปอร์ให้กับทีมนี้ (ส่วน เคอร์ลี่ ลูกชายนั้นเป็นมือกีตาร์นำให้กับวงพ่อมด ที่เป็นที่นิยมมากคือ เดอะ เวียร์ด ซิสเตอร์ส)
 
พัดเดิลเมียร์ยูไนเต็ด(PuddlemereUnited)
ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1163 พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด เป็นทีมที่เก่าแก่ที่สุดในลีก พัดเดิลเมียร์ชนะเลิศถึงยี่สิบสองครั้งและมีชัยชนะได้ครองยูโรเปี้ยนคัพสอง ครั้งเป็นเกียรติประวัติของทีม เพลงประจำสโมสรมีชื่อว่า 'ตีบลัดเจอร์ไปไห้ไกลสิหนุ่มๆ แล้วโยนสุ่มลูกควัฟเฟิลมาทางนี้' เซลเลสทีน่า วอร์เบ็กแม่มด สาวนักร้องเพิ่งอัดเพลงประจำทีมนี้ไปเมื่อไม่นานมานี้เอง เพื่อขายหารายได้ให้กองทุนโรงพยาบาลวิเศษเซนต์มังโกเพื่อผู้ป่วยและบาดเจ็บ ผู้เล่นของ พัดเดิลเมียร์ สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงินแก่ มีตราประจำสโมสรรูปหญ้าแฝกสีทองสองมัดไขว้กัน
 
ทัดชิลทอร์เนโดส์(TutshillTornados)
ทีมทอร์เนโดส์สวมเสื้อคลุมสีฟ้า มีตัวอักษร ท สีน้ำเงินเข้มสองตัวอยู่บนหน้าอกและข้างหลัง ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1520 แต่ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จที่ ยิ่งใหญ่ของทีมอยู่ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อซีกเกอร์ชื่อรอดดริก พลัมป์ตัน เป็นกัปตันทีมพวกเขาชนะได้ถ้วยลีกถึงห้าครั้งติดต่อกันเป็น เป็นประวัติการณ์ของทั้งเกาะบริเตนและไอร์แลนด์เลยทีเดียว รอดดริก พลัมป์ตัน เล่นเป็นซีกเกอร์ให้ทีมชาติอังกฤษยี่สิบสองครั้ง และทำสถิติใน ประวัติศาสตร์ของเกาะบริเตนโดยจับลูกสนิชได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีการแข่งขันกันมา (สามวินาทีครึ่ง แข่งขันกับทีมคาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ ในปี ค.ศ.1921)
 
วิกทาวน์วันเดอเรอส์(WigtownWanderers)
ทีมสโมสรที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนนี้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1422 โดยลูกๆ เจ็ดคนของพ่อมดพ่อค้าเนื้อ ชื่อวอลเตอร์ พาร์กิ้น ใครๆ พากันกล่าวว่าทีมของพี่ น้องผู้ชายสี่คนและผู้หญิงสามคนนี้เป็นทีมที่น่าเกรงขามมากและไม่ค่อยจะแพ้ใครเสียด้วย ทั้งนี้เล่ากันว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทีมคู่ต่อสู้รู้สึกหวาดหวั่น ที่เห็นคุณพ่อวอลเตอร์ยืนอยู่ข้างสนาม มือหนึ่งถือไม้กายสิทธิ์อีกมือถือมีดปังตอแล่เนื้อ หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีเชื้อสายของตระกูลพาร์กิ้นนี้เล่นอยู่ ในทีมวิกทาวน์เสมอๆ และเพื่อระลึกถึงจุดเริ่มต้นของทีม ผู้เล่นจึงสวมเสื้อคลุมสีแดงเหมือนเลือด มีรูปมีดปังตอสีเงินที่หน้าอก
 
วิมบอร์นวอพส์(WimbourneWasps)
วิมบอร์น วอพส์ สวมเสื้อคลุมลายขวางสีเหลืองสลับดำ มีรูปตัวต่ออยู่บนหน้าอก ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1312 ทีมวอพส์ชนะถ้วยลีกสิบแปดครั้ง และได้ เข้ารอบรองชนะเลิศยูโรเปี้ยนคัพสองครั้ง เชื่อกันว่าพวกเขาได้ชื่อนี้มาจากเหตุการณ์ร้ายกาจซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกับทีมแอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบีตเตอร์ของทีมบินผ่านต้นไม้ที่อยู่ริมสนาม เขาสังเกตเห็นรังตัวต่อยู่ท่ามกลางกิ่งไม้ จึงตีรังต่อนั้นไปทางซีกเกอร์ ของทีมแอร์โรว์ส ซีกเกอร์คนนั้นถูกต่อต่อยปวดแสบปวดร้อนไปทั่วตัวจนต้องออกจากการแข่งขัน วิมบอร์น จึงชนะและตั้งแต่นั้นมาก็รับเอาตัวต่อมา เป็นตรำโชคของทีม เป็นประเพณีว่าแฟนๆ ของทีมวอพส์ (รู้จักกันอีกชื่อว่า สติงเกอร์) จะทำเสียงหึ่งๆ ดังลั่นเพื่อก่อกวนสมาธิของเชสเซอร์ฝ่ายตรง ข้ามเมื่อกำลังจะโยนลูกโทษ
 
{{แฮร์รี่ พอตเตอร์}}
[[หมวดหมู่:แฮร์รี่ พอตเตอร์]]
 
เว็บไซต์ www.potterstoryweb.com แฟนคลับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ภาษาไทย) ผู้เขียนบทความอนุญาตให้เผยแพร่ได้.
 
 
[[ar:كويدتش]]