ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอมีล ดูร์กายม์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lb:Émile Durkheim
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ภาพ:Emile_Durkheim.jpg|frame|right|]]
 
เส้น 16 ⟶ 18:
2.Les règles de la méthode sociologique (1895)ช่วยชี้ระเบียบแบบแผนของสังคมวิทยา ว่าควรศึกษาอะไร ค้นคว้าด้านไหน และต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมวิทยาอย่างไร
 
3.Le suicide (1897) งานชิ้นซึ่งอธิบายปรากฎการณ์ปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายด้วยสังคมวิทยา ว่าเป็นนปรากฏการณ์ทางด้านสังคม และได้อธิบายระเบียบวิธีการทางด้านสังคมวิทยาไปด้วย
 
4.Les formes élémentaires de la vie religieuse เป็นงานซึ่งช่วยสนับสนุนทฤษฎสังคมวิทยาของDurkheim อีกเล่มหนึ่ง
เส้น 25 ⟶ 27:
เดอร์ไคหม์ไม่คิดเหมือน [[มักซ์ เวเบอร์]] ที่เชื่อว่านักสังคมวิทยาต้องศึกษาปัจจัยที่ผลักดันกิจกรรมที่ปัจเจกกระทำ เขามักได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของ[[แนวคิดกลุ่มนิยมเชิงระเบียบวิธี]] หรือแนวคิดองค์รวม (ซึ่งตรงกันข้ามกับ[[แนวคิดปัจเจกนิยมเชิงระเบียบวิธี]]) เนื่องจากเขามีเป้าหมายที่จะศึกษา ''[[ความจริงทางสังคม]]'' ซึ่งเขาใช้เรียกปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในสังคมซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของบุคคลใดๆ บุคคลหนึ่งคนเดียว
 
ในผลงานเมื่อปี ค.ศ. 1893 ([[พ.ศ. 2436]]) ชื่อ ''[[การแบ่งงานในสังคม (หนังสือ)|การแบ่งงานในสังคม]]'' เดอร์ไคหม์ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในสังคมรูปแบบต่างๆ เขามุ่งประเด็นอยู่ที่ลักษณะของ[[การแบ่งงาน]] และศึกษาความแตกต่างที่มีใน[[สังคมดั้งเดิม]]และสังคม[[สมัยใหม่]] นักคิดก่อนหน้าเดอร์ไคหม์ เช่น [[เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์]] ([[:en:Herbert Spencer|Herbert Spencer]]) และ [[เฟอร์ดินานด์ โทเอนนีส์]] ([[:en:Ferdinand Toennies|Ferdinand Toennies]]) ได้อธิบายว่า สังคมนั้นมีการพัฒนาในลักษณะเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต จากที่มีรูปแบบพื้นฐานไม่ยุ่งยาก จนกลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น คล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องจักรที่ซับซ้อน เดอร์ไคหม์มองในมุมที่กลับกัน เขากล่าวว่าสังคมดั้งเดิมนั้นมีลักษณะเป็นแบบ 'เชิงกลไก' โดยที่สังคมนั้นเกาะเกี่ยวเป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยสาเหตุที่ว่าทุกคนมีลักษณะที่คล้ายๆ กัน ซึ่งทำให้มีสิ่งของรวมถึงความคิดที่เหมือนและไปกันได้ เดอร์ไคหม์กล่าวว่า ในสังคมดั้งเดิมนั้น [[สำนึกของกลุ่ม]]นั้นมีบทบาทเหนือสำนึกของปัจเจก — บรรทัดฐานนั้นเข้มแข็ง และพฤติกรรมของสมาชิกก็อยู่ในกฎเกณฑ์
 
ลักษณะเช่นนี้เปลี่ยนไปในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเขากล่าวว่า ผลของระบบการแบ่งงานอย่างซับซ้อนทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 'เชิงอินทรีย์' (organic solidarity) กล่าวคือ ความชำนาญเฉพาะด้านในหน้าที่การงานรวมถึงบทบาททางสังคม ทำให้เกิดการขึ้นต่อกันที่ยึดเหนี่ยวผู้คนเอาไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการกระทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว ตัวอย่างเช่นในสังคม 'เชิงกลไก' ชาวนาอาจทำนานและอยู่ได้โดยลำพัง แต่ก็รวมกลุ่มกับคนอื่นๆ ที่มีแบบแผนการดำรงชีวิตรวมถึงอาชีพแบบเดียวกัน ในสังคม 'เชิงอินทรีย์' คนงานทำงานเพื่อได้รายได้ แต่ก็ต้องพึ่งคนอื่นๆ ที่มีความชำนาญในด้านที่แตกต่างออกไป เช่นทำเครื่องนุ่งห่ม ผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ