ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิสุทธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Budthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
<br>'''วิสุทธิ''' หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด<br>
'''วิสุทธิ ๗''' ในทาง[[พระพุทธศาสนา]] หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆตามลำดับ เป็นการชำระสัตว์ชาวโลกให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญฝึกฝนตนเองที่เรียกว่า[[ไตรสิกขา ให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ]]ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือ[[นิพพาน]] มี

วิสุทธิมี ๗ ขั้น คือ
*'''ศีลวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[ศีล]] คือ การรักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปต้องตั้งใจรักษาเพื่อจะได้ทำ[[สมาธิ]]กับ[[วิปัสสนา]]ด้วย (

[[ปาริสุทธิศีล]] ๔ ใน[[คัมภีร์วิสุทธิมรรค]]) ได้แก่
#''ปาฏิโมกขสังวรศีล'' ศีลคือความสำรวมในพระ[[ปาฏิโมกข์]] เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดใน[[สิกขาบท]]ทั้งหลาย คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง ในส่วนของพระภิกษุ ได้แก่ พระปาติโมกข์และข้อวัตรที่แสนจะเรียบร้อยในพระวินัยปิฎก, ของฆราวาสก็ [[ศีล ๕]] [[ศีล ๘]] เป็นต้นและมารยาทต่างๆ เช่น พูดไพเราะอ่อนหวาน เป็นต้นนั่นเอง.
#''อินทรียสังวรศีล'' ศีลคือความสำรวม[[อินทรีย์]] ระวังไม่ให้[[บาป]][[อกุศลธรรม]]ครอบงำเกิดขึ้นได้ เมื่อรับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น ระวังไม่ให้โกรธ เมื่อโกรธก็กำหนดว่า "โกรธหนอๆ" เป็นต้น นี้ก็จัดเป็นขั้นศีล.
#''อาชีวปาริสุทธิศีล'' ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ของพระได้แก่สิกขาบท ๖ ข้อที่ท่านระบุไว้ในคัมภีร์ปริวาร, ของฆราวาสก็ได้แก่อาชีพที่ไม่ผิดศีลผิดกรรมบถ ๑๐ เช่น ไม่ทำอาชีพเพชฌฆาตฆ่าคน เป็นต้น.
#''ปัจจัยสันนิสิตศีล'' ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอย[[ปัจจัยสี่]] ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วย[[ตัณหา]] คือ ไม่ใช่ว่าอยากกินก็เลยกิน อยากใช้ก็เลยใช้นั่นเอง
*'''จิตตวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[จิต]] คือ การฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิให้ได้อุปจาระและอัปปนา พอได้ฌาน ๕ ฌาน ๘ ได้อภิญญาสมาบัติ อันเป็นบาทฐานแห่งปทัฏฐานที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิด[[วิปัสสนา]]ขึ้นได้ง่าย ยิ่งสมาธิดีเท่าใดยิ่งบรรลุได้ง่ายเท่านั้น.
*'''ทิฏฐิวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[ทิฏฐิ]] คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็น[[นามรูป]]ตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
 
ีวิธีการปฏิบัติให้มีทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น คือ การหมั่นเอาหลักการแยกแยะที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรมซึ่งจะต้องเรียนมาเป็นอย่างดีแล้ว มาคิดแยกแยะสรรพสิ่งให้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน เช่น คิดถึงเพลงที่ชอบก็ต้องคิดเลยไปถึงคำว่า "รูปธรรม ซึ่งเป็นอัพยากตธรรมซึ่งควรกำหนดรู้", คิดถึงจิตที่ไปรับเสียงเพลงก็ต้องคิดเลยไปถึงคำว่า "นามธรรม ประเภทอกุศลธรรมซึ่งควรละ" แล้วก็สรุปว่า "ไม่มีสัตว์บุคลอะไร มีแค่ธรรมะคือรูปนามเท่านั้น" เป็นต้น ทำอย่างนี้ในทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่างจนกว่าจะคล่องชำนาญ ซึ่งในวิสุทธิมรรคมหาฏีกาท่านว่า "ควรทำให้เป็นดุจวสีของคนได้ฌาน"เลยทีเดียว การปฏิบัติจึงต้องทำทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ เหมือนกับคนทำฌานที่ต้องคอยนึกถึงนิมิตที่ใช้ทำฌานนั่นแหละ แต่จะเห็นผลได้ชัดเจนดีหากมีเวลาทำสมาธิแล้วค่อยออกจากสมาธินั่งพิจารณาต่อไป เพราะจะแยกแยะได้ชัดเจน นึกหน่วงได้คล่องดี.
*'''กังขาวิตรณวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[ญาณ]]เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย
 
ีวิธีการปฏิบัติให้มีทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น คือ การหมั่นเอาหลักการเชื่อมเหตุเชื่อมผลให้ตรงกันตามที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรมซึ่งจะต้องเรียนมาเป็นอย่างดีแล้ว มาคิดเชื่อมเหตุเชื่อมผลของสรรพสิ่งที่ถูกแยกแยะมาด้วยทิฏฐิวิสุทธิแล้วให้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน เช่น คิดถึงเพลงที่ชอบ ก็คิดถึงจิตใจหื่นกระหายจะฟังได้ และคิดเลยไปจนถึงว่า "จิตโลภๆอย่างนี้พาไปเกิดในอบายได้ เพราะจะลักซีดีอันเป็นการผิดศีลก็ได้" เป็นต้น ทำอย่างนี้ในทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่าง จนกว่าจะคล่องชำนาญ ซึ่งในวิสุทธิมรรคมหาฏีกาท่านก็บอกไว้เช่นเดียวกับในทิฏฐิวิสุทธิอีกว่า "ควรทำให้เป็นดุจวสีของคนได้ฌาน"เลยทีเดียว การปฏิบัติจึงต้องทำทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ เหมือนกับคนทำฌานที่ต้องคอยนึกถึงนิมิตที่ใช้ทำฌานนั่นแหละ แต่จะเห็นผลได้ชัดเจนดีหากมีเวลาทำสมาธิแล้วค่อยออกจากสมาธินั่งพิจารณาต่อไป เพราะจะแยกแยะได้ชัดเจน นึกหน่วงได้คล่องดี.
 
*'''มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
*'''ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน ([[ญาณ|วิปัสสนาญาณ ๙]])