ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
 
== บาดแผลที่ปรากฎ ==
การผ่าศพทางนิติพยาธิ เป็นการผ่าศพเพื่อเน้นไปทางด้าน[[บาดแผล]]ภายนอกร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่านิติพยาธิแพทย์สามารถละเลยรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพร่างกายและอวัยวะภายในได้ การผ่าศพตลอดจนการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ ''(Microscopic Examination)'' ยังคงมีความจำเป็นมากสำหรับการผ่าศพ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ตายมักจะตายในขณะเกิดเหตุ บาดแผลต่าง ๆ มักไม่ทันมีการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์แต่ยังมีผู้ตายในกรณีอื่น ๆ เช่น ผู้ที่ตายอย่างกะทันหันและไม่คาดคิดหรือผู้ป่วยตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตายตามธรรมชาติและการตัดชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์จะเป็นข้อมูลอันสำคัญในการวินิจฉัย<ref name="บาดแผล">บาดแผล, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พล.ต.ต.เลี้ยง หุยประเสริฐ, พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2547, หน้า 23</ref>
อีกกรณีหนึ่งซึ่งพบมากขึ้นทุกทีคือกรณีที่ญาติผู้ตายร้องเรียนว่าแพทย์ให้การรักษาพยาบาลไม่เหมาะ สมเป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ทำให้การตายนั้นกลายเป็นคดีเข้าข่ายที่ต้องให้นิติเวชแพทย์เป็นผู้ตรวจทั้ง ๆ ที่เหตุตายเป็นการตายจากโรคทางธรรมชาติ ส่วนใหญ่ผู้ตายผิดธรรมชาติ มักตายในขณะเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุในเวลาสั้น ๆ และนิติพยาธิแพทย์จะเน้นทางด้านบาดแผลดังกล่าวแล้ว ประวัติหรือเรื่องราวที่เกิดเหตุจึงค่อนข้างสั้น และในหลาย ๆ กรณีสามารถตรวจสอบได้ง่ายเมื่อเห็นสถานที่เกิดเหตุ เช่น ในที่เกิดเหตุ พบผู้ตายแขวนคอตายที่ขื่อเพดานในห้องนอน โดยที่ประตูหน้าต่างห้องนอนปิดสนิท เครื่องปรับอากาศยังทำงานอยู่ ในห้องมีสภาพเรียบร้อยไม่มีร่องรอยการต่อสู้ และมีจดหมายเขียนด้วยลายมือผู้ตายอ้างเหตุฆ่าตัวตายอยู่บนโต๊ะน่าจะเชื่อได้ว่าผูกคอตนเองไปกว่า 80% แล้ว เมื่อร่วมกับการผ่าศพไม่พบมีบาดแผลใดใดในร่างกาย นอกจากแผลการรัดที่ลำคอ การบาดเจ็บภายในลำคอก็พบน้อยมาก สามารถสันนิษฐานได้ว่าผู้ตายผูกคอตนเอง