ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพารากอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bp101697 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
[[ไฟล์:Siam Paragon Main Void 201105.jpg|right|thumb|โถงหลัก]]
 
'''สยามพารากอน''' (Siam Paragon) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมในพื้นที่[[ย่านสยาม]] [[ถนนพระรามที่ 1]] ในพื้นที่แขวงปทุมวัน [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] บริหารงานโดย [[สยามพิวรรธน์|บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด]] ร่วมกับ[[กลุ่มเดอะมอลล์]] ในนาม บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด โครงการประกอบด้วย[[ศูนย์การค้า]] โรงแรม และอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย โดยเป็นหนึ่งในศูนย์การค้ากลุ่ม[[วันสยาม]] ถือเป็นศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในย่านสยาม และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจาก[[เซ็นทรัลเวิลด์]] [[ไอคอนสยาม]] และ[[เซ็นทรัล เวสต์เกต]] แต่ถือเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในย่านสยาม เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง, กลุ่มนักท่องเที่ยว, กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว อีกทั้งยังเป็นศูนย์การค้าที่เป็นคู่แข่งกับเซ็นทรัลเวิลด์ใน[[แยกราชประสงค์|ย่านราชประสงค์]]โดยตรง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยมี[[วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร]]คั่นกลาง
 
[[ไฟล์:Siam Paragon.jpg|200px|thumb|ด้านหน้าสยามพารากอน]]
บรรทัด 79:
'''โรงแรมสยาม เคมปินสกี กรุงเทพ''' ({{lang-en|Siam Kempinski Bangkok}}) เป็นโรงแรมและอาคารชุดเพื่อการพักอาศัยในโครงการสยามพารากอน โดยเป็นการร่วมทุนกับเครือโรงแรมและรีสอร์ท เคมปินสกีอาเก ประเทศเยอรมนี ภายในประกอบด้วยห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง และร้านอาหาร โดยหนึ่งในนั้นคือร้าน "สระบัว บาย กิน กิน" ซึ่งได้รับ[[รายชื่อภัตตาคารในประเทศไทยที่ได้รับดาวมิชลิน|ดาวมิชลินหนึ่งดวง]]
 
=== พื้นที่อื่นๆอื่น ๆ ===
* '''พาร์คพารากอน''' ({{lang-en|Parc Paragon}}) ลานกิจกรรมที่สามารถเชื่อมตัวศูนย์การค้าเข้ากับ[[สถานีสยาม]]ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] และ[[สยามเซ็นเตอร์]]ได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของจอแอลอีดีขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อมต่อกับจอแอลอีดีที่ติดตั้งบริเวณสยามเซ็นเตอร์ และอาคารจอดรถสยามอีกด้วย
 
=== พื้นที่ในอดีต ===
สยามพารากอนเคยเป็นที่ตั้งของ '''คิดส์ซาเนีย กรุงเทพ''' ({{lang-en|KidZania Bangkok}}) ศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบเมืองจำลองสำหรับเด็ก ลิขสิทธิ์จากประเทศเม็กซิโก ซึ่งสร้างในพื้นที่ที่เคยวางแผนเป็นโรงละครสยามโอเปร่า<ref>[http://m.mgronline.com/daily/detail/9520000104231 สยามพารากอนล้มแผนผุดโอเปร่า ดึงเม็กซิโกทุ่ม700ล.เปิดคิดซาเนีย]</ref> คิดส์ซาเนียปิดการให้บริการอย่างกะทันหันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยที่ผู้บริหารของศูนย์การค้าไม่สามารถติดต่อกับเจ้าของโครงการได้ และพนักงานของคิดส์ซาเนียก็ถูกเลิกจ้างอย่างกะทันหันเช่นกัน อนึ่ง ผลประกอบการในปี พ.ศ. 2561-2562 ของคิดส์ซาเนีย กรุงเทพ ขาดทุนสะสม 68 ล้านบาท<ref>{{Cite web|last=kawinrat|date=2022-06-20|title=Kidzania ปิดกิจการฟ้าผ่าปีที่แล้ว ลอยแพพนักงาน ไม่เยียวยา Paragon ติดต่อไม่ได้ {{!}} Brand Inside|url=https://brandinside.asia/kidzania-closed/|language=en-US}}</ref>
 
== กรณีอื้อฉาว ==