ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิโคติน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
 
== เภสัชวิทยา ==
ในด้าน[[เภสัชจลนศาสตร์]] นิโคตินสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถแพร่ผ่าน[[โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง]] (blood-brain barrier)ได้อีกด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ย นิโคตินจะใช้เวลาประมาณ 7 วินาทีในการเข้าสู่สมอง ในขณะที่[[ครึ่งชีวิต]]ของนิโคตินในร่างกายมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง <ref>http://scholar.google.com/url?sa=U&q=http://jpet.aspetjournals.org/cgi/reprint/221/2/368.pdf {{ลิงก์เสีย}}</ref> ปริมาณของนิโคตินที่จะเข้าสู่ร่างกายโดยการสูบบุหรี่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ ชนิดของยาสูบ ชนิดของไส้กรอง ปริมาณของควันบุหรี่ที่สูดเข้าไป
 
ในด้านการออกฤทธิ์ นิโคตินจะออกฤทธิ์ผ่านทาง[[ตัวรับแอเซทิลโคลีนแบบนิโคตินิก]] (Nicotinic acetylcholine receptors)ซึ่งผลของการจับกันระหว่างนิโคตินในปริมาณน้อยกับตัวรับนี้จะทำให้มีการหลั่งของฮอร์โมน[[อะดรีนาลีน]] (Adrenaline) เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราการเต้นของ[[หัวใจ]] [[ความดันโลหิต]] และอัตรา[[การหายใจ]] รวมทั้งเพิ่มปริมาณของน้ำตาล[[กลูโคส]]ในกระแสเลือดด้วย <!--Reference: Human Anatomy and Physiology. Elaine N Marieb & Katja Hoehn. 2007, Pearson Education.--> แต่หากได้รับนิโคตินในปริมาณมาก จะทำให้เกิดการระงับการทำงานของตัวรับแอเซทิลโคลีนดังกล่าว และทำให้เกิดอาการพิษจากนิโคตินได้
 
ผลกระทบที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของนิโคตินคืออาการเสพติด ซึ่งงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่นิโคตินไปกระตุ้นวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ <ref>http://www.nida.nih.gov/researchreports/nicotine/nicotine2.html</ref> ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลของนิโคตินต่อการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาท[[โดปามีน]] (Dopamine) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวงจรประสาทดังกล่าว
 
== พิษวิทยา ==