ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บังสุกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
New page: {{พุทธศาสนา}} '''บังสุกุล''' แปลว่า ''ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อ...
 
Phaitoonp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
[[หมวดหมู่:พิธีกรรมในพุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
คำว่า "บังสุกุล" มาจากคำภาษาบาลีว่า ปงฺสุ (อ่านว่า ปัง-สุ)แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ)แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปงฺสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ)แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส แต่ให้พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาดหรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนา เพราะสกปรก มาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่ชำรุด ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป