ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดประดู่ฉิมพลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ohmaphat (คุย | ส่วนร่วม)
Ohmaphat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
 
== ประวัติ ==
ที่ชื่อว่า วัดฉิมพลี เพราะบริเวณที่ตั้งวัดเต็มไปด้วย[[งิ้ว (พืช)|ต้นงิ้ว]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] เมื่อครั้งดำรงยศเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้จัดหาที่ดินและก่อสร้างวัด โดยใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงแล้วเสร็จในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 4]] ในเวลานั้นถือเป็นวัดราษฎร์ที่ใหญ่และงดงามกว่าวัดราษฎร์โดยทั่วไป สมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านทราบข่าว[[พระศรีศาสดา]]ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของ[[จังหวัดพิษณุโลก]] เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านทิศใต้ [[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] ที่ได้มาประดิษฐานอยู่[[วัดบางอ้อยช้าง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] จึงได้อัญเชิญ[[พระศรีศาสดา]]จาก[[วัดบางอ้อยช้าง]]มาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัด
 
เมื่อวัดสร้างแล้วเสร็จนั้น [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] ได้เพียรพยายามเสาะหาพระพุทธรูปที่สวยงาม เพื่อนำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง หรือ[[วัดบางอ้อยช้าง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ได้อัญเชิญพระพุทธรูป[[พระศรีศาสดา]]เมาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดอ้อยช้าง แต่ความทราบไปถึง[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] ท่านจึงไปอัญเชิญมาประดิษสถานที่วัดประดู่ฉิมพลี ต่อมาภายหลังความทราบไปถึง[[รัชกาลที่ 4]] จึงทรงมีพระบรมราชโองการลงมาว่า เนื่องจาก[[พระศรีศาสดา]]เป็นพระพุทธรูปสำคัญอยู่คู่กับ[[พระชินสีห์]]มาก่อน จึงให้อัญเชิญ[[พระศรีศาสดา]]จากวัดประดู่ฉิมพลี มาไว้ที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]
 
เมื่อพระประธานของวัดประดู่ฉิมพลีไม่มีแล้ว [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] จึงได้ไปเลือกหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม และมีขนาดเท่ากับ[[พระศรีศาสดา]]จากวัดอ้อยช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย พระพักตร์เอิบอิ่ม ผิวองค์พระดั่งทองคำ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า '''พระสุโขทัย''' หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า '''หลวงพ่อสุโขทัย'''
 
[[กรมการศาสนา]] ได้คัดเลือกวัดประดู่ฉิมพลีให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2535<ref>{{cite web|url=http://www.bangkok.go.th/bangkokyai/page/sub/1496/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5|title=วัดประดู่ฉิมพลี (WAT PRADUECHIMPLEE)}}</ref>
เส้น 46 ⟶ 50:
 
== อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ ==
พระ[[อุโบสถ]] เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 13 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างตามศิลปะ[[สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว|แบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 3]] ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูและหน้าต่างปิดทองประดับกระจกลายยา ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน '''หลวงพ่อสุโขทัย พระพุทธสัมพันธมุนี''' พระพุทธรูป[[ปางมารวิชัย]] ขนาดหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว มีพระวิหาร 2 หลัง กว้าง 6.10 เมตร ยาว 17.30 เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธไสยาสน์]] และด้านทิศตะวันออก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน
 
[[เจดีย์]]กลมทรงรามัญ เป็นเจดีย์กลม ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆังที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับแบบเจดีย์รามัญทั่วไป มีเสารายและชานโดยรอบ ภายในประดิษฐานรอย[[พระพุทธบาท]]จำลอง วัดมีศาลาราชสังวราภิมณฑ์ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 16.50 เมตร ประดิษฐานรูปหล่อเหมือน[[พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)|พระราชสังวราภิมณฑ์]] หรือหลวงปู่โต๊ะ<ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/dhamma/detail/9590000055024|title=รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ”|work=ผู้จัดการออนไลน์|date=June 1, 2016}}</ref>