ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาสามัญชนสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KrebsLovesFiesh (คุย | ส่วนร่วม)
แปลเนื้อหาจากบทความภาษาอังกฤษ
KrebsLovesFiesh (คุย | ส่วนร่วม)
แก้พิมพ์ผิดพลาดและแปลเนื้อหาเพิ่มอีกนิดหน่อย
บรรทัด 171:
 
== วิธีดำเนินการทางรัฐสภา ==
สภาสามัญชนมีที่ประชุม ณ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เหมือนกับสภาขุนนาง ห้องประชุมของสภาสามัญชนมีการตกแต่งเล็กน้อยและมีการใช้สีเขียวเป็นหลัก ไม่เหมือนกับห้องประชุมสภาขุนนางที่มีการตกแต่งค่อนข้างเยอะและใช้สีแดงเป็นหลัก สภาสามัญชนมีที่นั่งของสมาชิกทั้งสองฝั่งของห้องประชุมโดยมีช่องทางเดินแบ่งระหว่างกลาง การแบ่งที่นั่งแบบนี้เป็นการออกแบบตามโบสถ์เซนต์สตีเฟน ซึ่งเคยเป็นที่ประชุมสภาสามัญชนจนกระทั้งโบสถ์ถูกทำลายเพราะไฟไหม้ในปี ค.ศ. 1834 เก้าอีเก้าอี้ของประธานสภาอยู่ที่ขอบหนึ่งของห้องประชุม และมีโต๊ะประจำสภาซึ่งมีการวางคทาไว้ เลขาธิการทั้งหลายนั่งตรงโต๊ะใกล้ ๆ กับประธานสภา เพื่อเมื่อเวลาต้องแนะนำประธานสภาต่อวิธีการดำเนินการจะสามารถทำได้อย่างสะดวก
 
ผู้ที่เป็นสมาชิกรัฐบาลนั่งทางฝั่งขวาของประธานสภา และสมาชิกฝ่ายค้านนั่งทางซ้ายของประธานสภา ข้างหน้าที่นั่งแถวหน้ามีเส้นแดงบนพื้น ซึ่งโดยประเพณีแล้วสมาชิกมิอาจเดินข้ามได้ระหว่างการอภิปราย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมถึงหัวหน้าฝ่ายค้านและหัวหน้าคณะรัฐมนตรีเงานั่งแถวหน้า และเรียกว่า สมาชิกผู้ใหญ่ (frontbencher) ส่วนสมาชิกรัฐสภาอื่น ๆ เรียกว่าสมาชิกผู้น้อย (backbencher) สมาชิกรัฐสภาทุกคนไม่สามารถอยู่ในห้องประชุมได้พร้อมกันทั้งหมด เนื่องจากห้องประชุมรัฐสภามีที่นั่งพอสำหรับสมาชิก 2 ใน 3 เท่านั้น ถ้าอิงตาม โรเบิร์ต โรเจอร์สซึ่งเคยเป็นเลขาธิการสภาสามัญชนนั้น เขาประมาณว่าสภามีที่นั่งพอสำหรับสมาชิก 427 คนเท่านั้น สมาชิกที่มาสายต้องยืนใกล้กับทางเข้าถ้าประสงค์ฟังการอภิปราย การประชุมมีทุกวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี โดยบางครั้งอาจมีการประชุมวันศุกร์ด้วยก็ได้ และถ้ามีสถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติ สภาอาจประชุมช่วงวันหยุดก็ได้
 
การประชุมสภาเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการประชุมได้ แต่สภาอาจลงมติให้ประชุมลับก็ได้ ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งถ้าเริ่มนับจากปี ค.ศ. 1950 โดยประเพณีดั้งเดิมนั้น สมาชิกที่ประสงค์ให้ประชุมลับสามารถตะโกนว่า "ข้าพเจ้าเห็นคนแปลกหน้า!" (I spy strangers!) เพื่อให้มีการลงมติให้ประชุมลับทันที ในอดีตช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสภาสามัญชนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ค่อยดีนัก สภาใช้วิธีนี้เวลาที่ต้องการให้การอภิปรายเป็นความลับ แต่ในความเป็นจริงแล้ววิธีปฏิบัตินี้มักใช้เพื่อทำให้การประชุมติดขัดหรือล่าช้าลงเท่านั้น จึงถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1998 ในปัจจุบันหากสมาชิกประสงค์ให้ประชุมลับ ต้องเสนอญัตติอย่างเป็นทางการเท่านั้น
บรรทัด 179:
การอภิปรายที่เป็นสาธารณะมีการบันทึกและเก็บไว้ในแฮนซาร์ด (Hansard) ซึ่งเป็นชื่อของรายงานการประชุมรัฐสภาอังกฤษ มีการติดตั้งไมโครโฟนในห้องประชุมสภาเมื่อมีการออกแบบใหม่ในปี ค.ศ. 1950 และมีการอนุญาตให้ถ่ายทอดการอภิปรายผ่านวิทยุในปี ค.ศ. 1975 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ยังมีการถ่ายทอดสดบนโทรทัศน์อีกด้วย โดยมี บีบีซีรัฐสภาเป็นผู้รับผิดชอบ
 
การประชุมสภาสามัญชนถูกก่อกวนโดยผู้ชุมนุมทีที่ปาสิ่งของลงไปในห้องประชุมจากที่นั่งดูการประชุมข้างบนเป็นบางครั้ง โดยตัวอย่างวัตถุที่ปามีใบปลิว มูลสัตว์ และระเบิดแก๊สน้ำตาเป็นต้น แม้สมาชิกรัฐสภาเองก็เคยก่อกวนการประชุม เช่นในปี ค.ศ. 1976 ที่สมาชิกรัฐสภาพรรคอนุรักษนิยม ไมเคิล เฮสเซลไทน์ เดินไปยกคทาประจำรัฐสภาและเดินไปยังที่นั่งสมาชิกฝั่งรัฐบาลระหว่างที่มีการอภิปรายอย่างดุเดือด แต่การก่อกวนการประชุมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ก้าวเข้าห้องประชุมรัฐสภาพร้อมทหารเพื่อจับกุมสมาชิกรัฐสภา 5 คนที่ก่อกบฎ โดยการกระทำนี้ถือว่าเป็นการละเมิดเอกสิทธิ์ของสภา จึงทำให้เกิดธรรมเนียมขึ้นว่าพระมหากษัตริย์มิอาจเข้าห้องประชุมสภาสามัญชนได้
 
ทุกปีนั้น สมัยประชุมสภาเริ่มด้วยรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ซึ่งเป็นพิธีในห้องประชุมสภาขุนนางที่องค์อธิปัตย์แถลงนโยบายทางนิติบัญญัติของรัฐบาลโดยมีสมาชิกจากทั้งสองสภาเป็นพยาน ผู้เบิกคทาดำ (พนักงานเจ้าหน้าที่สภาขุนนาง) มีหน้าที่เบิกสมาชิกรัฐสภาให้ไปฟังคำแถลงที่ห้องประชุมสภาขุนนาง ซึ่งเมื่อคทาดำเดินถึงหน้าห้องประชุมสภาสามัญชน จะมีเจ้าหน้าที่คอยปิดประตูอย่างจัง เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าสภามีสิทธิ์ในการอภิปรายโดยปราศจากสิ่งก่อกวนทั้งปวง พอประตูปิดแล้ว เขาก็จะเคาะประตูด้วยคทาที่ถืออยู่สามครั้ง ประตูจึงเปิดให้เดินเข้าไปแจ้งสมาชิกรัฐสภาได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงคอยอยู่ หลังจากนั้นสมาชิกก็จะเดินไปยังสภาขุนนางเพื่อฟังพระบรมราชโองการ (King's Speech)
บรรทัด 193:
เมื่อการแบ่งแยกเพื่อลงมติสิ้นสุดลงแล้ว กรรมการนับคะแนนเสียงจะรายงานผลต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นำการประชุม ซึ่งรายงานผลนั้นต่อสภาอีกครั้ง ถ้าผลลงมติเสมอกัน ประธานหรือรองประธานสภาสามารถออกเสียงได้ โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้วนั้น การลงคะแนนเสียงนี้ต้องทำให้เกิดการอภิปรายเพิ่มเติมถ้าเป็นไปได้ หรือออกเสียงไม่เห็นด้วยในกรณีร่างพระราชบัญญัติที่พิจารณาอยู่ในวาระที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจโดยไร้เสียงข้างมาก มติเสมอกันเกิดขึ้นได้ยาก โดยมติเสมอกัน 2 ครั้งล่าสุดเกิดห่างกัน 25 ปีระหว่างกรกฎาคมปี ค.ศ. 1993 และเมษายน ค.ศ. 2019 การลงมติทุกครั้งให้องค์ประชุมสภาสามัญชนเท่ากับ 40 คน และให้นับประธานสภากับคณะกรรมการนับคะแนนเสียงรวมด้วย ถ้ามีสมาชิกลงมติน้อยกว่า 40 คน มิอาจใช้ผลมตินั้นได้
 
ในอดีตนั้น ถ้าสมาชิกต้องการที่จะประท้วงกับประทานประธานเกี่ยวกับข้อบังคับของรัฐสภาระหว่างมีการแบ่งแยกเพื่อลงมตินั้น สมาชิกต้องสวมหมวกเพื่อส่งสัญญาณว่าไม่ได้จะร่วมอภิปราย โดยมีหมวกทรงสูงหุบได้เก็บไว้ในห้องประชุมเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ก่อนที่ธรรมเนียมนี้จะยกเลิกในปี 1998
 
ผลการลงมติส่วนใหญ่นั้นส่วนใหญ่ทราบผลล่วงหน้า เนื่องจากพรรคการเมืองที่มีคำสั่งให้สมาชิกพรรคลงมติอย่างไร โดยพรรคการเมืองนั้นให้สมาชิกบางคนทำหน้าที่ดูแลให้สมาชิกลงมติตามที่พรรคต้องการ สมาชิกเหล่านี้เรียกว่าวิป สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ไม่ลงมติสวนมติของพรรค เนื่องจากถ้าลงมติสวนอาจมีผลต่อตำแหน่งหน้าที่การงานในพรรค หรืออาจไม่ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับสมัครเลือกตั้งของพรรคในการเลือกตั้งครั้งถัดไป รัฐมนตรี รัฐมนตรีผู้น้อยและเลขานุการส่วนตัวประจำรัฐสภาที่ลงมติสวนคำสั่งวิปส่วนใหญ่แล้วต้องลาออก ความเป็นอิสระของสมาชิกรัฐสภาจึงมีต่ำ แต่ก็มี "การกบฎโดยสมาชิกรัฐสภาผู้น้อย" (backbench rebellion) เมื่อสมาชิกรู้สึกไม่พอใจหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายพรรค ตามธรรมเนียมนั้นสมาชิกสามารถลงมติเป็นอื่นได้บ้างถ้าเป็นประเด็นที่ขัดกับผลประโยชน์เขตเลือกตั้งของสมาชิกนั้น ๆ โดยตรง ทั้งนี้พรรคการเมืองอาจประกาศให้มีการลงมติเป็นอิสระได้ ซึ่งเป็นการอนุญาตให้สมาชิกลงมติตามอัธยาศัย การลงมติเกี่ยวกับเรื่องมโนธรรม เช่นการทำแท่งทำแท้งหรือการระวางโทษประหารชีวิต มักให้ลงมติอิสระได้
 
การจับคู่สมาชิกเกิดขึ้นเมื่อพรรคสองพรรคตกลงที่จะให้สมาชิกไม่ลงมติด้วยกัน ทำให้สมาชิกทั้งสองไม่ต้องเดินทางมายังสภาเพื่อลงมติ อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ลาประชุมโดยวิป เพื่อให้เดินทางไปดูแลพื้นที่ของตนหรือเพื่อเหตุอื่น เรียกว่า ''bisque'' (bisqueบิสก์)
 
== คณะกรรมาธิการ ==
รัฐสภาสหราชอาณาจักรมีการตั้งกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งการพิจารณานั้นทำอย่างละเอียด และอาจมีการแก้ไขด้วย ร่างพระราชบัญญัติที่มีความสำคัญทางรัฐธรรมนูญอย่างมากและมาตรการทางการเงินที่สำคัญบางอย่างจะถูกส่งไปยังกรรมาธิการของรัฐสภาทั้งหมด ซึ่งมีสมาชิกจากทั้งสองสภา และประธานสภาไม่ได้เป็นผู้นำการประชุม แต่เป็นประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีหารายได้ คณะกรรมาธิการนี้จะประชุมในห้องประชุมสภาสามัญชน
 
ร่างพระราชบัญญัติส่วนใหญ่ก่อนปี ค.ศ. 2006 พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 16 ถึง 50 คน สัดส่วนสมาชิกในคณะกรรมาธิการมักสะท้อนสัดส่วนพรรคในสภา สมาชิกคณะในกรรมาธิการมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีสมาชิกเข้ามาใหม่เวลาคณะกรรมาธิการต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติใหม่ จำนวนคณะกรรมาธิการสามัญไม่ได้จำกัด แต่มักมีแค่ 10 คณะ นานครั้งจะมีร่างพระราชบัญญัติที่ถูกส่งไปยังคณะกรรมาธิการสามัญพิเศษซึ่งสอบสวนและเปิดการนั่งพิจารณาประเด็นที่อยู่ในร่าง ในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2006 คณะกรรมาธิการสามัญถูกเปลี่ยนเป็นคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติสาธารณะ
 
== เครื่องหมายสภาสามัญชน ==
 
== ในภาพยนต์และโทรทัศน์ ==
 
การจับคู่สมาชิกเกิดขึ้นเมื่อพรรคสองพรรคตกลงที่จะให้สมาชิกไม่ลงมติด้วยกัน ทำให้สมาชิกทั้งสองไม่ต้องเดินทางมายังสภาเพื่อลงมติ อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ลาประชุมโดยวิป เพื่อให้เดินทางไปดูแลพื้นที่ของตนหรือเพื่อเหตุอื่น เรียกว่า ''bisque'' (bisque)
 
== ดูเพิ่มเติม ==