ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KiraphatK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KiraphatK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
|anthem=มาร์ชนวมินทราธิราช|chancellor=รศ.นพ. อนันต์ มโนมัยพิบูลย์|chairman=[[สุรพล นิติไกรพจน์|ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์]]}}
 
'''มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช''' ({{lang-en|Navamindradhiraj University}}; [[อักษรย่อ]]: นมร. — NMU) เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (ม.กทม.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] ตั้งอยู่ใน[[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] ก่อตั้งขึ้นวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยมีคณะวิชาเริ่มแรก คือ [[คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล]] และ [[คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/069/1.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553]เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก ประกาศวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บทเฉพาะกาลหน้าที่ 23</ref>
 
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชประกอบด้วย 3 คณะวิชา 2 วิทยาลัย จำนวนรวมหลักสูตรทั้งสิ้น 15 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 3 หลักสูตร และหลักสูตรฝึกอบรมอื่น ๆ เช่น วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หลักสูตรมหานคร หลักสูตรผู้นำเมือง เป็นต้น
 
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยังเน้นการบริการวิชาการแก่สังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของเมือง การวิจัยเพื่อพัฒนาศาสตร์เขตเมือง และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของกรุงเทพมหานคร ภายใต้การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยผู้นำด้านศาสตร์เขตเมือง อันนำไปสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งเมือง (City University) อันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ปรัชญา "ผู้นำด้านศาสตร์เขตเมือง"
 
== ประวัติ ==
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นแนวคิดตั้งแต่สมัยนาย[[สมัคร สุนทรเวช]] ดำรงตำแหน่งเป็น[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] เพื่อเป็นทางเลือกกับนักศึกษาสามารถศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง ชุมชนเมืองหลวง และเพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองหลวง แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก
 
ในสมัย นาย[[อภิรักษ์ โกษะโยธิน]] ดำรงตำแหน่งเป็น[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ได้สานต่อ แนวคิดดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจาก[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ได้เปิดการศึกษาหลายระดับแล้วในระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง คือ [[คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล]] และ[[คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์]] โดยเน้นแผนการศึกษาวิชาการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในประเทศ และเน้นผลิตบุคลากรสาขาวิชาที่ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] โดยได้เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... และคณะรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้ ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 แต่หลังจากมีการปรับเปลี่ยนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้จึงหยุดนิ่งไป
 
ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ และได้แก้ไขชื่อพระราชบัญญัติจาก (ร่าง) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... เป็น (ร่าง) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... ต่อมาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สภารัฐสภาได้มีการผ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ....<ref>{{Cite web |url=http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20100210/99830/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.html |title=สภาผ่านร่างพรบ.ตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร |access-date=2010-12-05 |archive-date=2010-06-01 |archive-url=https://web.archive.org/web/20100601091756/http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20100210/99830/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.html |url-status=dead }}</ref> และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 [[ราชกิจจานุเบกษา]]เล่มที่ 127 ตอนที่ 63 ก ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 โดยมีผลใช้บังคับในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/069/1.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553] เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก ประกาศวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หน้าที่ 1</ref>
 
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็น[[สถาบันอุดมศึกษา]]ในกำกับของ[[กรุงเทพมหานคร]] มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้โอนภารกิจและงบประมาณของ[[คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล]] และ[[คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์]] ในสังกัดสำนักการแพทย์ [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] ไปเป็นของมหาวิทยาลัยภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการโอนบุคลากรสังกัด[[คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล]]ไปเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย และกำหนดวิธีการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัย
 
ทั้งนี้ ให้โอนภารกิจและงบประมาณของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ไปเป็นของมหาวิทยาลัยฯภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการโอนบุคลากรซึ่งสังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ไปเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย และกำหนดวิธีการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัย
 
[[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา ได้ขอพระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยภูมิพล" เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช" เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554<ref>[http://www.siamintelligence.com/university-of-bangkok/ รู้จัก “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” มหาวิทยาลัยแห่งแรกในสังกัด กทม.]</ref> และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/053/1.PDF พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. ๒๕๕๖]</ref>
 
ภายหลังจากจัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้รับภารกิจของ[[วิทยาลัยชุมชน]] [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] สังกัด[[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)|สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]] [[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]] มาเป็นของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยมีสภามหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้ง[[วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร]] ขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยมีเป็นส่วนงานเทียบเท่ากับคณะวิชา และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556<ref name=":0">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/190/94.PDF ประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๖]</ref> พร้อมกันนี้[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ได้โอนภารกิจของ สถาบันพัฒนาเมือง สังกัดสำนักผังเมือง [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] มาจัดตั้งเป็น [[วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยพัฒนามหานคร]] โดยประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556<ref name=":0" /> ต่อมามหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงภาระหน้าที่ของส่วนงานในมหาวิทยาลัย [[วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร]] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น [[วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/133/73.PDF ประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ฉบับที่ ๓)พ.ศ. ๒๕๖๐]</ref>
 
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชได้เปิดสอนหลักสูตรเพิ่มเติมขึ้นจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยในปีการศึกษา 2557 ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตขึ้นใน[[คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล]] และเพื่อรองรับการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพและการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติการจัดตั้ง[[คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช|คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ]]ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/047/37.PDF ประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. 2560]</ref>