ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
นำภาพ "พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์_(วัน_จามรมาน).jpg" ออก ซึ่งถูกลบที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดย Yann เนื่องจาก per c:Commons:Deletion requests/Files uploaded by Suphakorn343
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
 
== ประวัติ ==
พระยานิติศาสตร์ไพศาล เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2431<ref>[https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=570 พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)]</ref> ที่บ้านเชิงสะพานยศเส อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร โดยมีชื่อเดิมว่า "วัน จามรมาน" เป็นบุตรของจมื่นเสนาสงคราม (ช้าง จามรมาน) กับนางพลอย จามรมาน เขาได้เข้าเรียนชั้นประถมที่[[โรงเรียนวัดเทพธิดาราม]] แล้วไปต่อชั้นมัธยมที่[[โรงเรียนวัดราชบุรณะ]] และไปจบชั้นมัธยมศึกษาพิเศษจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ (ที่ย้ายมาจัดการเรียนการสอนที่[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]]ในช่วงเวลานั้น)<ref>{{Cite web |url=http://www.debsirinalumni.org/article_details.php?id=15 |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2020-05-04 |archive-date=2020-08-14 |archive-url=https://web.archive.org/web/20200814012022/http://www.debsirinalumni.org/article_details.php?id=15 |url-status=dead }}</ref> ต่อมาได้เข้าไปเป็นนักเรียนล่ามของกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2451 จึงมีโอกาสเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2453 สอบได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2454 ได้รับการคัดเลือกไปเรียนวิชากฎหมายต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่สำนักกฎหมายเกรย์อินน์ จนเรียบจบกฎหมายจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2459 แล้วจึงกลับไทยมารับราชการเป็นผู้พิพากษาต่อมา
 
พระยานิติศาสตร์ไพศาล ขณะมีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา ในปี พ.ศ. 2460 ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรรถกัลยาณวาทย์ ได้ปีเดียวก็ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “พระนิติศาสตร์ไพศาล” ได้เป็นกรรมการในศาลฎีกา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2463 จึงย้ายงานจากทางด้านตุลาการมาอยู่ที่กรมราชเลขาธิการ มาเป็นเจ้ากรมกองการต่างประเทศ
บรรทัด 31:
ในเวลาอีก 3 ปีต่อมาได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาในราชทินนามเดิม ทำงานในกรมราชเลขาธิการ ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2470 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาลักษณ์ จากนั้นอีก 3 ปี จึงย้ายกลับไปยังหน่วยงานเดิมที่กระทรวงยุติธรรม โดยในปี พ.ศ. 2474 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านได้ขึ้นเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในปีถัดมา
 
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรกขึ้นมาจำนวน 70 คน พระยานิติศาสตร์ฯ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตั้งแต่[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/816.PDF ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2]</ref> จนถึง[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5]]
 
พระยานิติศาสตร์ฯ เคยเป็นคณบดีคนแรก ของ[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยเป็นประธานกรรมการ[[ธนาคารออมสิน]] (พ.ศ. 2490-2492)<ref>[https://www.gsb.or.th/about-us/bank-museum/%E0%B8%9C%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%87/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%99/%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%99%E0%B9%90-%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%99%E0%B9%92.aspx?lang=en-US ธนาคารออมสิน]{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>